![]() |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น |
![]() |
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() | |
นานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม | |
ขอความกรุณาคณะสหายธรรมช่วยอธิบายให้แจ่มแจ้งด้วย ตอบ พระสูตรที่คุณกล่าวถึงนั้น เข้าใจว่าจะเป็นมหาโคปาลสูตร ในมัชฌิม ใจความในพระสูตรมีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงให้ภิกษุทั้ง องค์ ๑๑ คือ ๑. นายโคบาลไม่รู้จักรูป ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ ๓. ไม่ค่อยเขี่ยไข่ขัง ๔. ไม่ปิดบังแผล ๕. ไม่สุมควันให้ ๖. ไม่รู้จักท่า ๗. ไม่รู้จักให้โคดื่ม ๘. ไม่รู้จักทาง ๙. ไม่ฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน ๑๐. รีดน้ำนมมิได้เหลือไว้ ๑๑. ไม่บูชาโคที่เป็นพ่อฝูงด้วยการบูชาเป็นอดิเรก นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ เหล่านี้ ไม่ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ องค์ ๑๑ คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้รูป ๒. ไม่ฉลาดในลักษณะ ๓. ไม่คอยเขี่ยไข่ขัง ๔. ไม่ปิดบังแผล ๕. ไม่สุมควัน ๖. ไม่รู้จักท่า ๗. ไม่รู้จักดื่ม ๘. ไม่รู้จักทาง ๙. ไม่ฉลาดในสถานที่โคจร ๑๐. รีดเสียหมดมิได้เหลือไว้ ๑๑. ไม่บูชาภิกษุทั้ง นี่เป็นใจความสำคัญในพระสูตรนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนจะถึงคำอธิบายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอกล่าวถึง องค์ ๑๑ ของนายโคบาลนี้หมายถึงองค์ประกอบที่ไม่เป็นประโยชน์แก่นายโคบาล ๑๑ อย่าง องค์ที่ ๑ นายโคบาลไม่รู้จักรูปนั้น คือไม่รู้จักว่าโคของตนมีมากน้อยเท่าไร เมื่อฝูงโคหายไปจึงไม่ติดตามหา เมื่อฝูงโคของผู้อื่นพลัดเข้ามาในฝูงของตนก็ไม่ทราบจึงไม่ไล่ออกไป ครั้นเจ้าของเขาตามมาพบเข้าเขาก็หาว่าขโมยโคของเขาไป เป็นอันว่าโคของเขาก็หายไป ทั้งยังถูกกว่าหาว่าเป็นขโมยด้วย อีกอย่างหนึ่ง ที่ว่านายโคบาลไม่รู้จักรูปนั้น หมายถึงไม่รู้จักสีของโค คือไม่รู้ว่าโคของตนมีสีขาวเท่าไร สีแดงเท่าไร สีน้ำตาลเท่าไร โคด่างเท่าไรเป็นต้น เมื่อไม่รู้ โคของตนหายไปก็ไม่ทราบ นายโคบาลที่ไม่รู้จักรูปโคโดยการนับและโดยสี อย่างนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฉลาด ไม่อาจรักษาฝูงโคไว้ได้ ภิกษุที่ไม่รู้จักรูปก็ฉันนั้น ย่อมไม่รู้ว่ารูปนั้นได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปา ที่ว่าไม่รู้จักรูปโดยการนับนั้น คือไม่ทราบจำนวนและชื่อของรูปว่ามีรูปอะไรบ้าง รูปใดมีชื่อว่าอะไร คำว่าไม่รู้จักรูปโดยสมุฏฐานนั้น คือไม่รู้ว่ารูปเกิดจากสมุฏฐานใด คือเกิดจากกรรม หรือเกิดจากจิต หรือเกิดจากอุตุ หรือจากอาหาร เมื่อไม่รู้อย่างนี้ก็ไม่อาจแยกรูปแยกนามออกจากกันได้ เมื่อไม่อาจแยกรูปแยกนามออกพิจารณาเป็นส่วนๆ ไป ก็ไม่อาจเจริญกรรมฐานให้ถึงที่สุด คือให้ถึงมรรคผลนิพานได้ ภิกษุที่ไม่รู้จักรูปจึงไม่อาจเพื่อถึงความเจริญงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ได้ เพราะฉะนั้นนายโคบาลที่ไม่รู้จักรูปก็ดี ภิกษุที่ไม่รู้จักรูปก็ดี ย่อมไม่ถึงความเจริญในธุระของตน นี่เป็นคำอธิบายในองค์ที่ ๑ ที่ว่าไม่รู้จักรูป องค์ที่ ๒ พระพุทธองค์ทรงเทียบนายโคบาลที่ไม่รู้จักลักษณะว่าเช่นเดียวกับภิกษุที่ไม่รู้จักลักษณะ ข้อนี้หมายถึงนายโคบาลไม่รู้จักลักษณะของโคของตนว่าโคตัวใดมีลักษณะเช่นไร ส่วนภิกษุที่ไม่รู้จักลักษณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าไม่ฉลาด คือไม่รู้จักตามความเป็นจริงว่า คนพาลนั้นมีกรรมเป็นเครื่องหมาย กล่าวคือ คนพาลมี องค์ที่ ๓ คือไม่ค่อยเขี่ยไข่ขัง นายโคบาลที่ไม่รู้จักเขี่ยไข่ขัง คือไม่ องค์ที่ ๔ ของนายโคบาลคือไม่ยอมปิดบังแผล หมายความว่าเมื่อโคเกิดเป็นแผลขึ้นก็ไม่รู้จักทำยาปิดแผลโค โคย่อมไม่เป็นสุข เพราะถูกแมลงวันตอมบ้าง ไข่ไว้บ้าง ในที่สุดก็ถึงแก่ความตายฉันใด ภิกษุที่ไม่รู้จักปิดบังแผลคือทวารทั้ง ๖ ย่อมถือเอานิมิตและอนุพยัญชนะในอารมณ์มีรูปเป็นต้นที่มาปรากฎทางทวารทั้ง ๖ มีตาเป็นต้น เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่อาจงอกงามในพระธรรมวินัยได้ องค์ที่ ๕ ที่ว่านายโคบาลไม่สุมควันให้นั้น คือไม่รู้จักสุมไฟให้เกิดควันเพื่อไล่ยุงและแมลงที่จะมารุมกัดกินเลือดโคของตนในเวลากลางคืน โดยเฉพาะในฤดูฝน ยุงและแมลงก็จะกันกินเลือดโคตามสบาย เมื่อโคนอนไม่สบายเพราะถูกแมลงรบกวน ภิกษุที่ไม่สุมควันนั้น ได้แก่ภิกษุไม่แสดงธรรม องค์ที่ ๖ นายโคบาลไม่รู้จักท่า คือไม่รู้จักท่าน้ำที่โคควรจะลงไป องค์ที่ ๗ นายโคบาลผู้ไม่ฉลาดย่อมไม่รู้จักให้โคดื่ม อรรถกถาท่านอธิบาย องค์ที่ ๘ คือนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดย่อมไม่รู้จักทาง คือไม่รู้ว่าทางไหนปลอดภัย ทางไหนมีภัย ได้ต้อนฝูงโคไปในที่มีภัยจึงถูกเสือกัดบ้าง โจรลักพาไปบ้าง นายโคบาลที่ไม่รู้จักทางย่อมทำความพินาศให้แก่ฝูงโคฉันใด ภิกษุที่ไม่รู้จักทางก็ฉันนั้น คือ องค์ที่ ๙ คือนายโคบาลไม่ฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน เช่นต้อนโคไปหากินในสถานที่หนึ่ง ๕-๖ วันแล้ว ก็ไม่ควรจะต้อนไปที่เดิมอีกเพราะหญ้าก็หมด น้ำก็ขุ่น ควรต้อนไปยังที่อุดมสมบูรณ์แห่งใหม่ ถ้าจะกลับมาที่เก่า ก็ควรรอเวลาให้หญ้าขึ้นเขียว น้ำใสหายขุ่นเสียก่อน นายโคบาลที่ไม่ฉลาดในที่โคจรก็เช่นเดียวกับภิกษุที่ไม่ฉลาดในที่โคจร คือไม่รู้จักในสติปัฏฐาน ๔ คือกาย เวทนา จิต ธรรมตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ก็ไม่อาจเข้าถึงธรรมได้ เหตุนั้นภิกษุผู้ไม่ฉลาดในโคจรคือสติปัฏฐาน ๔ จึงไม่อาจงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ได้ องค์ที่ ๑๐ คือนายโคบาลผู้ไม่ฉลาดย่อมรีดน้ำนมมิได้เหลือไว้ หมายความว่า องค์ที่ ๑๑ คือนายโคบาลไม่บูชาโคที่เป็นพ่อฝูงนำฝูงด้วยการบูชาเป็นอเนก ข้อนี้หมายความถึงว่าไม่ให้อาหาร |