ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ 2 ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  20  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 20
ทุกะ - หมวด 2
Groups of Two
(including related groups)
[4] กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตามทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม - action; deed)
       1. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ - unwholesome action; evil deed; bad deed)
       2. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ - wholesome action; good deed)

A.I.104, 263;
It.25,55
องฺ.ติก. 20/445/131, 551/338;
ขุ.อิติ. 25/208/248, 242/272

[*] กรรมฐาน 2 ดู [36] ภาวนา 2.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 20
[5] กาม 2 (ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา - sensuality)
       1. กิเลสกาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส - subjective sensuality)
       2. วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่น่าปรารถนา, สิ่งที่อยากได้, กามคุณ -objective sensuality)

Ndi2 ขุ. มหา. 29/2/1

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 20
[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
       1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
       2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

       วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
       มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
       ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
       ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.

       ดู [8] [9] [10] ฌาน ต่างๆ และ [47] สมาธิ 3

AA. II. 41;
PsA.281;
DhsA. 167.
องฺ.อ. 1/536;
ปฏิสํ.อ. 221;
สงฺคณี.อ. 273

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 20
[8] ฌาน 2 ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ - absorption)
       1. รูปฌาน 4 (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร - Jhanas of the Fine-Material Sphere)
       2. อรูปฌาน 4 (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร - Jhanas of the Immaterial Sphere)

       คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.

D.III. 222;
Dhs. 56.
ที.ปา. 11/232/233;
อภิ.สํ. 34/192/78.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 20
[11] ทาน 2 (การให้, การเสียสละ, การบริจาค - gift; giving; charity; liberality)
       1. อามิสทาน (การให้สิ่งของ - material gift; carnal gift)
       2. ธรรมทาน (การให้ธรรม, การให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - gift of Truth; spiritual gift)

       ใน 2 อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ อามิสทานช่วยค้ำจุนชีวิตทำให้เขามีที่พึ่งอาศัย แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไป เมื่อให้อามิสทาน พึงให้ธรรมทานด้วย.

A.I.90. องฺ.ทุก. 20/386/114.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 20
[12] ทาน 2 (การให้ - gift; giving; alms-giving; offering; charity; liberality; generosity; benevolence; donation; benefaction)
       1. ปาฏิบุคลิกทาน (การให้จำเพาะบุคคล, ทานที่ให้เจาะจงตัวบุคคลหรือให้เฉพาะแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง - offering to a particular person; a gift designated to a particular person)
       2. สังฆทาน (การให้แก่สงฆ์, ทานที่ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม หรือให้แก่บุคคล เช่น พระภิกษุหรือภิกษุณีอย่างเป็นกลางๆ ในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ โดยอุทิศต่อสงฆ์ ไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง - offering to the Sangha; a gift dedicated to the Order or to the community of monks as a whole)

       ในบาลีเดิม เรียก ปาฏิบุคลิกทาน ว่า “ปาฏิปุคฺคลิกา ทกฺขิณา” (ขอถวายหรือของให้ที่จำเพาะบุคคล) และเรียกสังฆทาน ว่า “สงฺฆคตา ทกฺขิณา” (ขอถวายหรือของให้ที่ถึงในสงฆ์)
       ในทาน 2 อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญสังฆทานว่าเป็นเลิศ มีผลมากที่สุด ดังพุทธพจน์ว่า “เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าของที่ให้แก่สงฆ์ไม่ว่าโดยปริยายใดๆ” และได้ตรัสชักชวนให้ให้สังฆทาน

M.III. 254-6;
A.III. 392
ม.อุ. 14/710-713/459-461;
อ้างใน มงฺคล. 2/16;
องฺ.ฉกฺก. 22/330/439

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 20
[13] ทิฏฐิ 2 (ความเห็น, ความเห็นผิด - view; false view)
       1. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป - eternalism)
       2. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป - annihilationism)

S.III.97. สํ.ข. 17/179-180/120.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 20
[15] ที่สุด หรือ อันตา 2 (ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง คือมัชฌิมาปฏิปทา - the two extremes)
       1. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข - the extreme of sensual indulgence; extreme hedonism)
       2. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง, การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน - the extreme of self-mortification; extreme asceticism)

Vin.I.10;
S.V. 420
วินย. 4/13/18;
สํ.ม. 19/1664/528.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 20
[16] ทุกข์ 2 (สภาพที่ทนได้ยาก, ความทุกข์, ความไม่สบาย - pain; suffering; discomfort)
       1. กายิกทุกข์ (ทุกข์ทางกาย - bodily pain; physical suffering)
       2. เจตสิกทุกข์ (ทุกข์ทางใจ, โทมนัส - mental pain; mental suffering)

       ดู [79] ทุกขตา 3 ด้วย.

D.II.306;
S.V.204
ที.ม. 10/295/342;
สํ.ม. 19/942/280; 944/280.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 20
[17] เทศนา 2 (การแสดงธรรม, การชี้แจงแสดงความ - preaching; exposition)
       1. บุคคลาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างคน, แสดงโดยยกคนขึ้นอ้าง, ยกคนเป็นหลักฐานในการอธิบาย - exposition in terms of persons)
       2. ธรรมาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างธรรม, แสดงโดยยกหลักหรือตัวสภาวะขึ้นอ้าง - exposition in terms of ideas)

       เทศนา 2 นี้ ท่านสรุปมาจากเทศนา 4 ในคัมภีร์ที่อ้างไว้

PsA.449. ปฏิสํ.อ. 77.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 20
[18] เทศนา 2 (การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า, การชี้แจงแสดงความ - preaching: exposition; teaching)
       1. สมมติเทศนา (เทศนาโดยสมมติ, แสดงตามความหมายที่รู้ร่วมกัน หรือตกลงยอมรับกันของชาวโลก เช่นว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น - conventional teaching)
       2. ปรมัตถเทศนา (เทศนาโดยปรมัตถ์, แสดงตามความหมายของสภาวธรรมแท้ๆ เช่นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น - absolute teaching)

       ผู้ฟังจะเข้าใจความ สำเร็จประโยชน์ด้วยเทศนาอย่างใด ก็ทรงแสดงอย่างนั้น
       ใน ที.อ. 1/436; สํ.อ. 2/98 และ ปญฺจ.อ. 182 เป็นต้น กล่าวถึง กถา 2 คือ สมมติกถา และ ปรมัตถกถา พึงทราบความหมายตามแนวความอย่างเดียวกันนี้

       ดู [50] สัจจะ 2

AA.I.94; etc องฺ.อ. 1/99, ฯลฯ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 20
[19] ธรรม 2 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - things; states; phenomena)
       1. รูปธรรม (สภาวะอันเป็นรูป, สิ่งที่มีรูป, ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด - materiality; corporeality)
       2. อรูปธรรม (สภาวะมิใช่รูป, สิ่งที่ไม่มีรูป, ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน - immateriality; incorporeality)

       ในบาลีที่มา ท่านเรียก รูปิโน ธมฺมา และ อรูปิโน ธมฺมา

Dhs. 193, 245 อภิ.สํ. 34/705/279; 910/355.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 20
[20] ธรรม 2 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - things; states; phenomena)
       1. โลกิยธรรม (ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ 5 ที่เป็นสาสวะทั้งหมด - mundane states)
       2. โลกุตตรธรรม (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก ได้แก่มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 - supramundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม 37: ขุ.ปฏิ. 620; Ps.II.166)

Dhs.193, 245. อภิ.สํ. 34/706/279; 911/355.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 20
[21] ธรรม 2 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - thing; states; phenomena)
       1. สังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ 5 ทั้งหมด - conditioned things; compounded things)
       2. อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน - the Unconditioned, i.e. Nibbana)

Dhs.193, 244. อภิ.สํ. 34/702/278; 907/354.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 20
[22] ธรรม 2 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - thing; states; phenomena)
       1. อุปาทินนธรรม (ธรรมที่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิเข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบาก และรูปที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด - states grasped by craving and false view; grasped states)
       2. อนุปาทินนธรรม (ธรรมที่ไม่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ 4 ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และ โลกุตตรธรรมทั้งหมด - states not grasped by craving and false view; ungrasped states)

Dhs. 211, 255 อภิ.สํ. 34/779/305; 955/369.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 20
[23] ธรรมคุ้มครองโลก 2 (ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย - virtues that protect the world)
       1. หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว - moral shame; conscience)
       2. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว - moral dread)

A.I. 51;
It. 36.
องฺ.ทุก. 20/255/655;
ขุ.อิติ. 25/220/257

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 20
[24] ธรรมทำให้งาม 2 (gracing virtues)
       1. ขันติ (ความอดทน, อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมายอันชอบ - patience: forbearance; tolerance)
       2. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม, อัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดเรียบร้อยงดงาม - modesty; meekness)

Vin.I.349;
A.I.94.
วินย. 5/244/335;
องฺ.ทุก. 20/410/118

[**] ธรรมที่พระพุทธเจ้าเห็นคุณประจักษ์ 2 ดู [65] อุปัญญาตธรรม 2
[**] ธรรมเป็นโลกบาล 2 ดู [23] ธรรมคุ้มครองโลก 2

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 20
[25] ธรรมมีอุปการะมาก 2 (ธรรมที่เกื้อกูลในกิจหรือในการทำความดีทุกอย่าง - virtues of great assistance)
       1. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ - mindfulness)
       2. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง - clear comprehension)

D.III.273;
A.I.95.
ที.ปา. 11/378/290;
องฺ.ทุก. 20/424/119

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 20
[26] ธุระ 2 (หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา - Burden; task; business; responsibility in the Dispensation)
       1. คันถธุระ (ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียน - burden of study; task of learning)
       2. วิปัสสนาธุระ (ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าในวิปัสสนาโดยฐานเป็นส่วนคลุมยอด - burden of insight development; task of meditation practice)

       ธุระ 2 นี้ มาในอรรถกถา

DhA.1.7 ธ.อ. 1/7

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 20
[27] นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ - Nirvana; Nibbana)
       1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ - Nibbana with the substratum of life remaining)
       2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ - Nibbana without any substratum of life remaining)

       หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
       1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน - extinction of the defilements)
       2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน - extinction of the Aggregates)
หรือ
       1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
       2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

It.38. ขุ.อิติ. 25/222/258.

       อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
       1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
       2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

A.IV.379. องฺ.นวก. 23/216/394.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_2&nextseek=28
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_2&nextseek=28


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]