ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าน ”             ผลการค้นหาพบ  8  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 8
[289] อปริหานิยธรรม 7 ของกษัตริย์วัชชี หรือ วัชชีอปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว สำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมือง — things leading never to decline but only to prosperity; conditions of welfare)
       1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ (to hold regular and frequent meetings)
       2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ (to meet together in harmony, disperse in harmony, and do their business and duties in harmony)
           ข้อนี้แปลอีกอย่างหนึ่งว่า : พร้อมเพรียงกันลุกขึ้นป้องกันบ้านเมือง พร้อมเพรียงกันทำกิจทั้งหลาย
       3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม) ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม (หลักการ) ตามที่วางไว้เดิม (to introduce no revolutionary ordinance, or break up no established ordinance, but abide by the original or fundamental Vijjan norm and principles)
       4. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง (to honor and respect the elders among the vijjians and deem them worthy of listening to)
       5. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย ให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ (the women and girls of the families are to dwell without being forced or abducted)
       6. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ) ของวัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป (to honor and worship the Vajjian shrines, monuments and objects of worship, both central and provincial, and do not neglect those righteous ceremonies held before for them)
       7. จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้กินความกว้าง หมายถึงบรรพชิตผู้ดำรงธรรมเป็นหลักใจของประชาชนทั่วไป) ตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุก (to provide the rightful protection, shelter and support for the Arahants and wish that the Arahants who have not come may enter the realm and those who have entered may dwell pleasantly therein)

       อปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลายผู้ปกครองรัฐโดยระบอบสามัคคธรรม (republic) ซึ่งรัฐคู่อริยอมรับว่า เมื่อชาววัชชียังปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จะเอาชนะด้วยการรบไม่ได้ นอกจากจะใช้การเกลี้ยกล่อมหรือยุแยกให้แตกสามัคคี.

D.II.73;
A.IV.15.
ที.ม. 10/68/86;
องฺ.สตฺตก. 23/20/18.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 8
[290] อปริหานิยธรรม 7 ของภิกษุ หรือ ภิกขุปริหานิยธรรม 7 (ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียวสำหรับภิกษุทั้งหลาย — things leading never to decline but only to prosperity; conditions of welfare)
       1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ (to hold regular and frequent meeting)
       2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ (to meet together in harmony, disperse in harmony, and do the business and duties of the Order in harmony)
           ข้อนี้แปลอีกอย่างว่า : พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันลุกขึ้นจัดการแก้ไข สิ่งเสียหาย เหตุไม่งาม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
       3. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มล้างสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ (to introduce no revolutionary ordinance, break up no established ordinance, but train oneself in accordance with the prescribed training-rules)
       4. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง (to honour and respect those elders of long experience, the fathers and leaders of the Order and deem them worthy of listening to)
       5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น (not to fall under the influence of craving which arises)
       6. ยินดีในเสนาสนะป่า (to delight in forest retreat)
       7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก (to establish oneself in mindfulness, with this thought, ‘Let disciplined co-celibates who have not come, come hither, and let those that have already come live in comfort.’)

D.II.77;
A.IV.20.
ที.ม. 10/70/90;
องฺ.สตฺตก. 23/21/21.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 8
[291] อปริหานิยธรรม 7 ของภิกษุ หรือ ภิกขุอปริหานิยธรรม 7 อีกหมวดหนึ่ง
       1. น กัมมารามตา (ไม่มัวเพลินการงาน คือไม่หลงเพลิดเพลินหมกมุ่นวุ่นอยู่กับงาน เช่น การเย็บจีวร ทำบริขารต่างๆ เป็นต้น จนเสื่อมเสียการเล่าเรียน ศึกษาบำเพ็ญสมณธรรม — not to be fond of business)
       2. น ภัสสารามตา (ไม่มัวเพลินการคุย — not to be fond of gossip)
       3. น นิททารามตา (ไม่มัวเพลินการหลับนอน — not to be fond of sleeping)
       4. น สังคณิการามตา (ไม่มัวเพลินการคลุกคลีหมู่คณะ — not to be fond of society)
       5. น ปาปิจฉตา (ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก, ไม่ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาลามก — not to gave nor fall under the influence of evil desire)
       6. น ปาปมิตตตา (ไม่เป็นผู้มีปาปมิตร — not to have evil friends)
       7. น อันตรา โวสานมาปัชชนา (ไม่ถึงความหยุดยั้งนอนใจเสียในระหว่าง ด้วยการบรรลุคุณวิเศษเพียงชั้นต้นๆ — not to come to a stop on the way by the attainment of lesser success)

D.II.78;
A.IV.21.
ที.ม. 10/71/92;
องฺ.สตฺตก. 23/22/23.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 8
[300] สัปปุริสทาน 8 (ทานของสัตบุรุษ, การให้อย่างสัตบุรุษ — gifts of a good man)
       1. สุจึ เทติ (ให้ของสะอาด — to give clean things)
       2. ปณีตํ เทติ (ให้ของประณีต — to give choice things)
       3. กาเลน เทติ (ให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลา — to give at fitting times)
       4. กปฺปิยํ เทติ (ให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้ — to give proper things)
       5. วิเจยฺย เทติ (พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก — to give with discretion)
       6. อภิณฺหํ เทติ (ให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอ — to give repeatedly or regularly)
       7. ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ (เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส — to calm one’s mind on giving)
       8. ทตฺวา อตฺตมโน โหติ (ให้แล้ว เบิกบานใจ — to be glad after giving)

A.IV.243 องฺ.อฏฺฐก. 23/127/248.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 8
[309] มานะ 9 (ความถือตัว, ความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ — conceit; pride)
       1. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (Being superior to others, one thinks, "Better am I.")
       2. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (Being superior to others, one thinks, "Equal am I.")
       3. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (Being superior to others, one thinks, "Worse am I.")
       4. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (Being equal to others, one thinks, "Better am I.")
       5. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (ฺBeing equal to others, one thinks, "Equal am I.")
       6. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (Being equal to others, one thinks, "Worse am I.")
       7. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (Being inferior to others, one thinks, "Better am I.")
       8. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (Being inferior to others, one thinks, "Equal am I.")
       9. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา (Being inferior to others, one thinks, "Worse am I.")

Ndi 80;
Ndii 226;
Vbh.389.
ขุ.ม. 29/102/94; 829/519;
ขุ.จู. 30/578/283;
อภิ.วิ. 35/1022/527

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 8
[317] กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร — how to deal with doubtful matters; advice on how to investigate a doctrine, as contained in the Kalamasutta)
       1. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา — Be not led by report)
       2. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา — Be not led by tradition)
       3. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ — Be not led by hearsay)
       4. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ — Be not led by the authority of texts)
       5. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก — Be not led by mere logic)
       6. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน — Be not led by inference)
       7. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล — Be not led by considering appearances)
       8. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว — Be not led by the agreement with a considered and approved theory)
       9. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ — Be not led by seeming possibilities)
       10. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา — Be not led by the idea, ‘This is our teacher’)

       ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
       สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม

A.I.189 องฺ.ติก. 20/505/241.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 8
[346] อานาปานสติ 16 ฐาน (สติกำหนดลมหายใจ, การเจริญอานาปานสติ คือใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก แบบที่เป็นการเจริญสติปัฏฐานไปด้วยครบทั้ง 4 - mindfulness of breathing with sixteen bases)
       จตุกกะที่ 1 : กายานุปัสสนา
       1) ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต 'ทีฆํ อสฺสสามี'ติ ปชานาติ,
ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต 'ทีฆํ ปสฺสสามี'ติ ปชานาติ;
       2) รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต 'รสฺสํ อสฺสสามี'ติ ปชานาติ,
รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต 'รสฺสํ ปสฺสสามี'ติ ปชานาติ;
       3) 'สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       4) 'ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       1) เมื่อหายใจเข้ายาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
หรือเมื่อหายใจออกยาว เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
       2) เมื่อหายใจเข้าสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
หรือเมื่อหายใจออกสั้น เธอก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
       3) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วกาย(กองลม)ทั้งหมด หายใจออก
       4) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับกายสังขาร หายใจออก
       1. Breathing in long, he knows: “I am breathing in long”,
or breathing out long, he knows: “I am breathing out long”,
       2. Breathing in short, he knows: “I am breathing in short”:
or breathing out short, he knows: “I am breathing out short”;
       3. He trains thus: “Experiencing the entire (breath-) body, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing the entire (breath-) body, I shall breathe out”;
       4. He trains thus: “Calming the bodily formation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Calming the bodily formation, I shall breathe out”.

       จตุกกะที่ 2 : เวทนานุปัสสนา
       5) 'ปีติปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปีติปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       6) 'สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       7) 'จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       8) 'ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขาร อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขาร ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       5) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ปีติ หายใจออก
       6) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้ความสุข หายใจออก
       7) เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักเสวยรู้จิตตสังขาร หายใจออก
       8) เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักผ่อนระงับจิตตสังขาร หายใจออก
       5. He trains thus: “Experiencing rapture, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing rapture, I shall breathe out”;
       6. He trains thus: “Experiencing joy, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing joy, I shall breathe out”;
       7. He trains thus: “Experiencing the mental formation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing the mental formation, I shall breathe out”;
       8. He trains thus: “Calming the mental formation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Calming the mental formation, I shall breathe out”;

       จตุกกะที่ 3 : จิตตานุปัสสนา
       9) 'จิตฺตปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'จิตฺตปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       10) 'อภิปฺปโมทย์ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'อภิปฺปโมทย์ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       11) 'สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       12) 'วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       9) เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักรู้ทั่วถึงจิต หายใจออก
       10) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก
       11) เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก
       12) เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักปล่อยเปลื้องจิต หายใจออก
       9. He trains thus: “Experiencing the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Experiencing the mind, I shall breathe out”;
       10. He trains thus: “Gladdening the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Gladdening the mind, I shall breathe out”;
       11. He trains thus: “Concentrating the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Concentrating the mind, I shall breathe out”;
       12. He trains thus: “Liberating the mind, I shall breathe in”,
He trains thus: “Liberating the mind, I shall breathe out”.

       จตุกกะที่ 4 : ธัมมานุปัสสนา
       13) 'อนิจฺจานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'อนิจฺจานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       14) 'วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       15) 'นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ;
       16) 'ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ,
'ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามี'ติ สิกฺขติ.
       13) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง หายใจออก
       14) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก
       15) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความดับกิเลส หายใจออก
       16) เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจเข้า
เธอสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นความสลัดคืนได้ หายใจออก
       13. He trains thus: “Contemplating impermanence, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating impermanence, I shall breathe out”;
       14. He trains thus: “Contemplating fading away, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating fading away, I shall breathe out”;
       15. He trains thus: “Contemplating cessation, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating cessation, I shall breathe out”;
       16. He trains thus: “Contemplating relinquishment, I shall breathe in”,
He trains thus: “Contemplating relinquishment, I shall breathe out”.

       ข้อควรทราบ :
       ก) คำว่า หายใจเข้า และหายใจออก นั้นพึงทราบว่า เป็นคำที่มีการแปลต่างกัน คือ อรรถกถาแห่งพระวินัยแปล อสฺสาส ว่า “หายใจออก” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” ส่วนอรรถกถาแห่งพระสูตรแปลกลับตรงข้าม คือแปล อสฺสาส ว่า “หายใจเข้า” และ ปสฺสาส ว่า “หายใจออก” ในที่นี้ถือตามคำแปลของอรรถกถาแห่งพระสูตร ผู้ศึกษาทราบอย่างนี้แล้ว จะใช้แบบใดก็ได้ พึงเลือกตามปรารถนา
       ข) “สำเหนียกว่า” เป็นคำแปลตามสำนวนเก่า หมายถึงคำบาลีว่า สิกฺขติ จะแปลแบบทับศัพท์เป็น “ศึกษาว่า” ก็ได้
       ค) ธรรมหมวดนี้ เรียกตามบาลีแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิมัคค์ว่า โสฬสวัตถุกอานาปานสติ (เช่น ขุ.ปฏิ. 31/362/244: 387/260= Ps.I.162;173 คำบาลีเดิมเป็น โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติ บ้าง โสฬสวตฺถุโก อานาปานสฺสติสมาธิ บ้าง บางทีอรรถกถาก็เรียกยักเยื้องไปว่า โสฬสวตฺถุกา อานาปานสฺสติสมาธิภาวนา บ้าง โสฬสวตฺถุ อานาปานสฺสติกมฺมฏฺฐานํ บ้าง) แปลแบบรักษาศัพท์ว่า “อานาปานสติมีวัตถุ 16” แต่ในที่นี้เลือกแปลตามคำอธิบายในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) ว่า “อานาปานสติ 16 ฐาน” เพราะในภาษาไทย คำว่า ฐาน เป็นคำที่คุ้นและช่วยสื่อความหมายของคำว่า วัตถุ ในที่นี้ได้ดี แต่จะแปลว่า “อานาปานสติ 16 หลัก” หรือ “อานาปานสติ 16 หัวข้อ (หรือ 16 ข้อ)” ก็ได้ บางทีก็เรียกให้ฟังเป็นลำดับว่า “อานาปานสติ 16 ชั้น”
       ง) 16 ฐาน หรือ 16 หลัก หรือ 16 หัวข้อ หรือ 16 ข้อ ข้อ หรือ 16 ชั้นนั้น ท่านจัดเป็น 4 จตุกกะ คือ เป็นหมวดสี่ 4 หมวด ดังนี้
           1. กายานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งกายานุปัสสนา)
           2. เวทนานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งเวทนานุปัสสนา)
           3. จิตตานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งจิตตานุปัสสนา)
           4. ธัมมานุปัสสนาจตุกกะ (หมวดสี่แห่งธัมมานุปัสสนา)
           เป็นการระบุชัดว่า ส่วนไหนเป็นสติปัฏฐานข้อใด
       จ) ว่าโดยไตรสิกขา ระหว่างปฏิบัตินั้น
           - ความมีกายวาจาตั้งอยู่ในความสงบสำรวม โดยมีเจตนาอันปลอดจากการละเมิดหรือเบียดเบียน (กายิกวาจสิกอวีตีกกมะ) เป็น ศีล
           - การมีสติกำหนด ด้วยจิตที่ตั้งมั่นมีอารมณ์อารมณ์หนึ่งเดียวตามที่กำหนด (จิตตัสเสกัคตา) เป็น สมาธิ
           - ความมีสัมปชัญญะรู้ทั่วพร้อม มองเห็นตามสภาวะ เป็น ปัญญา
       ฉ) ในการปฏิบัติ ศีลเป็นเพียงฐานที่รองรับอยู่ ส่วนธรรมที่ปฏิบัติซึ่งจะเจริญขึ้นไป คือ สมาธิ และปัญญา อันได้แก่ สมถะ ในข้อต่อไป
       ช) ในการปฏิบัติทั้งหมดนี้ สามจตุกกะแรก มีทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา แต่จตุกกะที่ ๔ เป็น วิปัสสนา ล้วน
       ฌ) โสฬสวัตถุกอานาปานสติ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสแสดงบ่อย พบได้หลายแห่งในพระไตรปิฎก แต่ที่ประมวลเรื่องเกี่ยวข้องและข้อความแวดล้อมไว้ครบถ้วน ซึ่งรู้จักกันดีและเป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป คือ อานาปานสติสูตร (ม.อุ. 14/282-291/190-202=M.III.78-82) นอกจากนั้นยังมีคำอธิบายโดยพิสดารในพระไตรปิฎก ปรากฏใน ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ. 31/362-422/244-299; = Ps.I.162-196) ส่วนในชั้นอรรถกถา ก็มีอธิบายหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ค้นคว้าได้สะดวก คือ วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82= Vism.266-296)

Vin.III.70;
M.I.425;
M.III.82;
S.V.311;
A.V.111;
Ps.I.162.
วินย. 1/178/132;
ม.ม. 13/146/140;
ม.อุ. 14/287-288/193;
สํ.ม. 19/1305-1306/394;
องฺ.ทสก. 24/60/119;
ขุ.ปฏิ. 31/362/244.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 8
[354] กรรมฐาน 40 (ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต, สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา, อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต — mental exercises; subjects of meditation)
       1. กสิณ 10 ดู [315]
       2. อสุภะ 10 ดู [336]
       3. อนุสติ 10 ดู [335]
       4. อัปปมัญญา 4 ดู [161]
       5. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (กำหนดพิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหาร — perception of the loathsomeness of food)
       6. จตุธาตุววัฏฐาน (กำหนดพิจารณาธาตุ 4, พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ; ธาตุมนสิการ ก็เรียก — analysis of the four elements)
       7. อรูป 4 ดู [207]

       กรรมฐานใดให้ได้สมาธิถึงขั้นใด ดู [99] ภาวนา 3; กรรมฐานใดเหมาะกับจริตใด ดู [262] จริต 6.

Vism.110;
Comp.204.
วิสุทธิ. 1/139;
สงฺคห. 51.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=าน&nextseek=289
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%D2%B9&nextseek=289


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]