ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุญ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  20  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 20
[7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
       1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
       2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

       วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
       มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
       ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
       ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.

       ดู [8] [9] [10] ฌาน ต่างๆ และ [47] สมาธิ 3

AA. II. 41;
PsA.281;
DhsA. 167.
องฺ.อ. 1/536;
ปฏิสํ.อ. 221;
สงฺคณี.อ. 273

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 20
[47] สมาธิ 3 (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — concentration)
       1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ — concentration on the void)
       2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ — concentration on the signless)
       3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)

       ดู [107] วิโมกข์ 3

D.III.219;
A.I.299;
Ps.I.49.
ที.ปา. 11/228/231;
องฺ.ติก. 20/599/385;
ขุ.ปฏิ. 31/92/70.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 20
[88] บุญกิริยาวัตถุ 3 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี — bass of meritorious action; grounds for accomplishing merit)
       1. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in giving or generosity)
       2. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย — meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)
       3. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ — meritorious action consisting in mental development)

D.III.218;
A.IV.239;
It.51.
ที.ปา. 11/228/230;
องฺ.อฏฺฐก. 23/126/245;
ขุ.อิติ. 25/238/270.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 20
[89] บุญกิริยาวัตถุ 10 (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี — bases of meritorious action)
       1. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in generosity; merit acquired by giving)
       2. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี — by observing the precepts or moral behavior)
       3. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ — by mental development)
       4. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม — by humility or reverence)
       5. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้ — by rendering services)
       6. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น — by sharing or giving out merit)
       7. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น — by rejoicing in others’ merit)
       8. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้ — by listening to the Doctrine or right teaching)
       9. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้ — by teaching the Doctrine or showing truth)
       10. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง — by straightening one’s views or forming correct views)

       ข้อ 4 และข้อ 5 จัดเข้าในสีลมัย; 6 และ 7 ในทานมัย; 8 และ 9 ในภาวนามัย; ข้อ 10 ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

D.A.III.999;
Comp.146.
ที.อ. 3/246;
สังคหะ 29.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 20
[106] วิชชา 3 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ — the Threefold Knowledge)
       1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้ — reminiscence of past lives)
       2. จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ — knowledge of the decease and rebirth of beings; clairvoyance)
       3. อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้ — knowledge of the destruction of mental intoxication)

       วิชชา 3 นี้ เรียกสั้นๆ ว่า ญาณ 3; ดู [297] วิชชา 8 ด้วย.

D.III.220.275;
A,V.211
ที.ปา. 11/228/232; 398/292;
องฺ.ทสก. 24/102/225.

[***] วิปัลลาส 3 ระดับ ดู [178] วิปัลลาส 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 20
[107] วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — liberation; aspects of liberation)
       1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
       2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ — liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
       3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ — liberation through dispostionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.

       ดู [47] สมาธิ 3.

Ps.II.35.
Vism.657;
Comp.211
ขุ.ปฏิ. 31/469/353;
วิสุทธิ. 3/299;
สงฺคห. 55.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 20
[115] สมบัติ หรือ ทานสมบัติ 3 (ความถึงพร้อม, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ทานที่ได้บริจาคแล้วเป็นทานอันยอดเยี่ยม มีผลมาก — successful attainment; accomplishment; excellence)
       1. เขตสมบัติ (บุญเขตถึงพร้อม คือ ปฏิคาหก หรือผู้รับทาน เป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยคุณธรรม — excellence of the field of merit)
       2. ไทยธรรมสมบัติ (ไทยธรรมถึงพร้อม คือ สิ่งที่ให้เป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบธรรม และเหมาะสมเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ — excellence of the gift)
       3. จิตตสมบัติ (เจตนาถึงพร้อม คือ ให้ด้วยความตั้งใจ คิดจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้รับแท้จริง มีเจตนาบริสุทธิ์ทั้ง 3 กาล คือ ก่อนให้ใจยินดี ขณะให้จิตผ่องใส ให้แล้วเบิกบานใจ — excellence of motive or intention)

UdA.199. อุ.อ. 251.

[***] สมาธิ 3 ดู [46] สมาธิ 3. [47] สมาธิ 3.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 20
[127] อนุตตริยะ 6 (ภาวะอันเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม — excellent, supreme or unsurpassable experiences)
       1. ทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวกรวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ — supreme sight)
       2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวก — supreme hearing)
       3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันเยี่ยม ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคตและตถาคตสาวก หรือการได้อริยทรัพย์ — supreme gain)
       4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา — supreme training)
       5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวก — supreme service or ministry)
       6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก — supreme memory)

       โดยสรุปคือ การเห็น การฟัง การได้ การศึกษา การช่วยรับใช้ และการรำลึกที่จะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ล่วงพ้นโสกะปริเทวะ ดับสูญทุกข์โทมนัส เพื่อการบรรลุญายธรรม ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

D.III.250,281;
A.III.284,325,452.
ที.ปา. 11/321/262; 430/307;
องฺ.ฉกฺก. 22/279/316; 301/363.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 20
[129] อภิสังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม — volitional formation; formation; activity)
       1. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร — formation of merit; meritorious formation)
       2. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย — formation of demerit; demeritorious formation)
       3. อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร 4 หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน — formation of the imperturbable; imperturbability-producing volition)

       อภิสังขาร 3 นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร 3 ดู [120] สังขาร 3

Ps.II.206;
Vbh.135.
ขุ.ปฏิ. 31/280/181;
อภิ.วิ. 35/257/181.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 20
[140] จักร 4 (ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย - virtues wheeling one to prosperity)
       1. ปฏิรูปเทสวาสะ (อยู่ในถิ่นที่ดี มีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม - living in a suitable region; good or favourable environment)
       2. สัปปุริสูปัสสยะ (สมาคมกับสัตบุรุษ - association with good people)
       3. อัตตสัมมาปณิธิ (ตั้งตนไว้ชอบ, ตั้งจิตคิดมุ่งหมาย นำตนไปถูกทาง - setting oneself in the right course; aspiring and directing oneself in the right way)
       4. ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นเดิมดี, ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น - having formerly done meritorious deeds; to have prepared oneself with good background)

       ธรรม 4 ข้อนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พหุการธรรม คือธรรมมีอุปการะมาก (virtues of great assistance) เป็นเครื่องช่วยให้สามารถสร้างความดีอื่นๆ ทุกอย่าง และช่วยให้ประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต บรรลุความงอกงามไพบูลย์.

A.11.32;
D.III.276.
องฺ.จตุกฺก. 21/31/41;
ที.ปา. 11/400/293.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 20
[143] ทักขิณาวิสุทธิ 4 (ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา คือของทำบุญ - purifications of offerings; purities in gifts)
       1. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (คือ ทายกมีศีลมีกัลยาณธรรม แต่ปฏิคาหกทุศีล มีบาปธรรม - the offering purified on the part of the giver, not of the recipient)
       2. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (คือ ทายกทุศีล มีบาปธรรม แต่ปฏิคาหกมีศีล มีกัลยาณธรรม - the offering purified on the part of the recipient, not of the giver)
       3. ทักขิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก (คือ ทั้งสองฝ่ายทุศีล มีบาปธรรม - the offering purfied on neither side)
       4. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก (คือ ทั้งสองฝ่ายมีศีล มีกัลยาณธรรม - the offering purified on both sides)

D.III.231;
M.III.256;
A.II.80;
Kvu.557.
ที.ปา. 11/266/243;
ม.อุ. 14/714/461;
องฺ.จตุกฺก. 21/78/104;
อภิ.ก. 37/1732/590.

[***] ทรัพย์จัดสรรเป็น 4 ส่วน ดู [163] โภควิภาค 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 20
[159] ปัจจัย 4 (สิ่งค้ำจุนชีวิต, สิ่งจำเป็นเบื้องต้นของชีวิต, สิ่งที่ต้องอาศัยเลี้ยงอัตตภาพ - the four necessities of life; requisites)
       1. จีวร (ผ้านุ่งห่ม - robes; clothing)
       2. บิณฑบาต (อาหาร - almsfood; food)
       3. เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย, ที่นั่งที่นอน - lodging)
       4. คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือ เภสัช (ยาและอุปกรณ์รักษาโรค - medicine; medical equipment)

       สี่อย่างนี้ สำหรับภิกษุ จำกัดเข้าอีกเรียกว่า นิสสัย 4 แปลว่า เครื่องอาศัยของบรรพชิต (resources; means of support on which the monastic life depends)
       1. ปิณฑิยาโลปโภชนะ (โภชนะคือคำข้าวที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้ง - almsfood of scraps; food obtained by going on the alms-gathering)
       2. บังสุกุลจีวร (ผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะหรือตามป่าช้า - discarded cloth taken from the rubbish heap or the charnel ground; rag-robes)
       3. รุกขมูลเสนาสนะ (อยู่อาศัยโคนไม้ - dwelling at the foot of a tree)
       4. ปูติมุตตเภสัช (ยาน้ำมูตรเน่า - medicines pickled in stale urine; ammonia as a medicine)

       ส่วนที่อนุญาตนอกเหนือจากนี้ เป็น อติเรกลาภ (extra acquisitions; extra allowance)

Vin.1.58 วินย. 4/87/106

[***] ปัญญาวุฒิธรรม 4 ดู [179] วุฒิธรรม 4.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 20
[160] ปาริสุทธิศีล 4 (ศีลคือความบริสุทธิ์, ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์, ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล - morality consisting in purity; morality for purification; morality of pure conduct)
       1. ปาฏิโมกขสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย - restraint in accordance with the monastic disciplinary code)
       2. อินทรียสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6 - restraint of the senses; sense-control)
       3. อาชีวปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น - purity of conduct as regards livelihood)
       4. ปัจจัยสันนิสิตศีล (ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย 4 ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือ พิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา - pure conduct as regards the necessaries of life)

Vism.16;
Comp.212
วิสุทฺธิ. 1/19;
สงฺคห. 55.

[***] ผล 4 ดู [165] ผล 4.
[***] พร 4 ดู [227] พร 5.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 20
[163] โภควิภาค 4 (การแบ่งโภคะเป็น 4 ส่วน, หลักการแบ่งทรัพย์โดยจัดสรรเป็น 4 ส่วน - fourfold division of money)
       1. เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย (1 ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุง และทำประโยชน์ - On one part he should live and do his duties towards others.)
       2-3. ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย (2 ส่วน ใช้ลงทุนประกอบการงาน - With two parts he should expand his business.)
       4. จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย (อีก 1 ส่วน เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น - And he should save the fourth for a rainy day.)

D.III.188. ที.ปา. 11/197/202

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 20
[167] มหาปเทส 4 หมวดที่ 2 เฉพาะในทางพระวินัย (great authorities; principal references)
       1. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been objected to as not allowable, if it fits in with what is not allowable and goes against what is allowable, that is not allowable.)
       2. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been objected to as not allowable, if it fits in with what is allowable and goes against what is not allowable, that is allowable.)
       3. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร (Whatever has not been permitted as allowable, if it fits in with what is not allowable and goes against what is allowable, that is not allowable.)
       4. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร (Whatever has not been permitted as allowable, of it fits in with what is allowable and goes against what is not allowable, that is allowable.)

Vin.I.250 วินย. 5/92/131.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 20
[222] นวกภิกขุธรรม 5 (ธรรมที่ควรฝึกสอนภิกษุบวชใหม่ให้ประพฤติ ปฏิบัติอย่างมั่นคง, องค์แห่งภิกษุใหม่ — qualities of a newly ordained monk; qualities which should be established in newly ordained monks)
       1. ปาติโมกขสังวร (สำรวมในพระปาติโมกข์ รักษาศีลเคร่งครัด ทั้งในส่วนเว้นข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต — restraint in accordance with the monastic code of discipline; self-control strictly in accordance with the fundamental training-rules)
       2. อินทรีย์สังวร (สำรวมอินทรีย์ มีสติระวังรักษาใจ มิให้กิเลสคือความยินดี ยินร้ายเข้าครอบงำ ในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6 มีเห็นรูปด้วยตาเป็นต้น — restraint of the senses; sense-control)
       3. ภัสสปริยันตะ (พูดคุยมีขอบเขต คือ จำกัดการพูดคุยให้น้อย รู้ขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา — restraint as regards talking)
       4. กายวูปกาสะ (ปลีกกายอยู่สงบ คือ เข้าอยู่ในเสนาสนะอันสงัด — seclusion as to the body; love of solitude)
       5. สัมมาทัสสนะ (ปลูกฝังความเห็นชอบ คือ สร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ — cultivation of right views.)

A.III 138. องฺ.ปญฺจก. 22/114/156

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 20
[227] พร 5 (สิ่งน่าปรารถนาที่บุคคลหนึ่งอำนวยให้หรือแสดงความประสงค์ด้วยความปรารถนาดีให้เกิดมีขึ้นแก่บุคคลอื่น; สิ่งประเสริฐ, สิ่งดีเยี่ยม — blessing; boon; excellent thing)
       พรที่รู้จักกันมากได้แก่ ชุดที่มีจำนวน 4 ข้อ ซึ่งเรียกกันว่า จตุรพิธพร หรือ พร 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

Dh.109;
A.II.63
ขุ.ธ. 25/18/29;
องฺ.จตุกฺก. 21/58/83.

       พรที่เป็นชุดมีจำนวน 5 ข้อบ้าง 6 ข้อบ้าง ก็มี เช่น อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ (องฺ.ปญฺจก. 22/37/44 = A.III.42); อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุขะ พละ (องฺ.จตุกฺก. 21/34/45; องฺ.ปญฺจก. 22/32/38; ขุ.อิติ. 25/270/299 = A.III.36; It. 89); อายุ วรรณะ สุขะ ยศ เกียรติ สัคคะหรือสวรรค์ พร้อมทั้ง อุจจากุลีนตาคือความมีตระกูลสูง (องฺ.ปญฺจก. 22/43/51 = A.III.48); อายุ วรรณะ ยศ สุข อาธิปัจจะ คือ ความเป็นใหญ่ (ขุ.เปต. 26/106/195 = Pv. 308) และชุดที่จะกล่าวถึงต่อไปคือ อายุ วรรณะ สุขะ โภคะ พละ
       อย่างไรก็ดี พึงทราบว่า คำว่า พร ในที่นี้ เป็นการใช้โดยอนุโลมตามความหมายในภาษาไทย ซึ่งเพี้ยนไปแล้วจากความหมายเดิมในภาษาบาลี ในภาษาบาลีแต่เดิม พร หมายถึง ผลประโยชน์หรือสิทธิพิเศษที่อนุญาตหรืออำนวยให้ตามที่ขอ พรที่กล่าวถึง ณ ที่นี้ทั้งหมด ในบาลีไม่ได้ เรียกว่า พร แต่เรียกว่า ฐานะ หรือธรรมที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (ซึ่งจะบรรลุได้ด้วยกรรม คือการกระทำที่ดีอันเป็นบุญ)
       สำหรับพระภิกษุ พรหรือธรรมอันน่าปรารถนาเหล่านี้ หมายถึงคุณธรรมต่างๆ ที่ควรปลูกฝังฝึกอบรมให้เกิดมี ดังพุทธพจน์ว่า: ภิกษุท่องเที่ยวอยู่ ภายในถิ่นท่องเที่ยว ที่เป็นแดนของตนอันสืบทอดมาแต่บิดา (คือ สติปัฏฐาน 4) จักเจริญด้วย
       1. อายุ คือ พลังที่หล่อเลี้ยงทรงชีวิตให้สืบต่ออยู่ได้ยาวนาน ได้แก่ อิทธิบาท 4 (for monks, = the Four Bases of Accomplishment)
       2. วรรณะ คือ ความงามเอิบอิ่มผ่องใสน่าเจริญตาเจริญใจ ได้แก่ ศีล (beauty = moral conduct)
       3. สุขะ คือความสุข ได้แก่ ฌาน 4 (the Four Meditative Absorptions)
       4. โภคะ คือ ความพรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินและอุปกรณ์ต่างๆ อันอำนวยความสุข ความสะดวกสบาย ได้แก่ อัปปมัญญา หรือพรหมวิหาร 4 (Wealth = the Four Boundless Sublime States of Mind)
       5. พละ คือ กำลังแรงความเข้มแข็งที่ทำให้ข่มขจัดได้แม้แต่กำลังแห่งมาร ทำให้สามารถดำเนินชีวิตที่ดีงามปลอดโปร่งเป็นสุข บำเพ็ญกิจด้วยบริสุทธิ์และเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์ใดใดจะสามารถบีบคั้นครอบงำ ได้แก่ วิมุตติ ความหลุดพ้น หมดสิ้นอาสวะ หรืออรหัตตผล (strength or power = the Final Freedom)

D.III.77;
S.V.147
ที.ปา. 11/50/85;
สํ.ม. 19/709/198

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 20
[232] โภคอาทิยะ หรือ โภคาทิยะ 5 (ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ หรือ เหตุผลที่อริยสาวกควรยึดถือ ในการที่จะมีหรือครอบครองโภคทรัพย์ — uses of possessions; benefits one should get from wealth; reasons for earning and having wealth)
       อริยสาวกแสวงหาโภคทรัพย์มาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางสุจริตชอบธรรมแล้ว
       1. เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตรภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข (to make oneself, one’s parents, children, wife, servants and workmen happy and live in comfort)
       2. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข (to share this happiness and comfort with one’s friends)
       3. ใช้ป้องกันภยันตราย (to make oneself secure against all misfortunes)
       4. ทำพลี 5 อย่าง (to make the fivefold offering)
           ก. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ (to relatives, by giving help to them)
           ข. อติถิพลี ต้อนรับแขก (to guests, by receiving them)
           ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ (to the departed, by dedicating merit to them)
           ง. ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากรเป็นต้น (to the king, i.e., to the government, by paying taxes and duties and so on)
           จ. เทวตาพลี ถวายเทวดา* คือ สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชา ตามความเชื่อถือ (to the deities, i.e., those beings who are worshipped according to one’s faith)
* ในจูฬนิทเทส ท่านอธิบายความหมายของ “เทวดา” ไว้ว่า ได้แก่สิ่งที่นับถือเป็นทักขิไณย์ของตนๆ
(เย เยสํ ทกฺขิเณยฺยา, เต เตสํ เทวตา -- พวกไหนนับถือสิ่งใดเป็นทักขิไณย์ สิ่งนั้นก็เป็นเทวดาของพวกนั้น) และแสดงตัวอย่างไว้ตามความเชื่อถือของคนสมัยพุทธกาล ประมวลได้เป็น 5 ประเภท คือ

       1. นักบวช นักพรต (ascetics) เช่น อาชีวกเป็นเทวดาของสาวกอาชีวก นิครณถ์ ชฎิล ปริพาชก ดาบส ก็เป็นเทวดาของสาวกนิครนต์เป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ
       2. สัตว์เลี้ยง (domestic animals) เช่น ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาช้าง ม้า โค ไก่ กา เป็นต้น ก็เป็นเทวดาของพวกถือพรตบูชาสัตว์นั้นๆ ตามลำดับ
       3. ธรรมชาติ (physical forces and elements) เช่น ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาไฟ แก้ว มณี ทิศ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาสิ่งนั้นๆ ตามลำดับ
       4. เทพชั้นต่ำ (lower gods) เช่น นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชานาค ครุฑ ยักษ์ คนธรรพ์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชานาคเป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ (พระภูมิจัดเข้าในข้อนี้)
       5. เทพชั้นสูง (high gods) เช่น พระพรหม เป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาพระพรหม พระอินทร์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาพระอินทร์ เป็นต้น

       สำหรับชนที่ยังมีความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสอนเปลี่ยนแปลงเพียงให้เลิกเซ่นสรวงสังเวยเอาชีวิตบูชายัญ หันมาบูชายัญชนิดใหม่ คือบริจาคทานและบำเพ็ญกุศลกรรมต่างๆ อุทิศไปให้แทน คือมุ่งที่วิธีการอันจะให้สำเร็จประโยชน์ก่อน ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือเป็นเรื่องของการแก้ไขทางสติปัญญา ซึ่งประณีตขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะนักบวชในประเภทที่ 1 แม้สาวกใดจะเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้อุปถัมภ์บำรุงนักบวชนั้นต่อไปตามเดิม

       ดู “Devata” ใน P.T.S. Dict., P.165 ด้วย

Ndii 308ขุ.จู. 30/120/45.

       5. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ (to support those monks and spiritual teachers who lead a pure and spiritual teachers who lead a pure and diligent life)

       เมื่อใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไป ก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถ้าโภคะเพิ่มขึ้นก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี.

A.III.45 องฺ.ปญฺจก. 22/41/48.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 20
[254] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 4 ประเภท มีอุปการะมากแก่วัด — qualities of an incumbent or abbot who is of greal service to his monastery)
       1. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to have good conduct)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. ขัณฑผุลลปฏิสังขรกะ (รู้จักปฏิสังขรณ์เสนาสนะสิ่งของที่ชำรุดหักพัง — to repair broken and dilapidated things)
       4. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างถิ่นต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit)
       5. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)

A.III.263 องฺ.ปญฺจก. 22/234/292.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 20
[255] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 5 ประเภทอนุเคราะห์คฤหัสถ์ — qualities of an incumbent or abbot who is kind to lay people)
       1. อธิสีเล สมาทปกะ (ชักนำคฤหัสถ์ให้ถือปฏิบัติในอธิศีล — to incite them to higher virtue) อธิศีลในที่นี้ ท่านอธิบายว่า ได้แก่เบญจศีลที่เป็นไปเพื่อคุณเบื้องสูง
       2. ธัมมทัสสเน นิเวสกะ (ยังคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ คือรู้เห็นเข้าใจธรรม — to encourage them in the discernment of truth or the vision of the doctrine)
       3. คิลานสตุปปาทกะ (เมื่อคฤหัสถ์เจ็บไข้ ไปเยี่ยมให้สติ — to visit the sick and rouse them to mindfulness and awareness)
       4. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit)
       5. สัทธาเทยยาวินิปาตกะ (เขาถวายโภชนะใดๆ จะเลวหรือดี ก็ฉันด้วยตนเอง ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป — to enjoy by himself any given food, whether mean or choice, not frustrating the gift of faith)

A.III.263. องฺ.ปญฺจก. 22/235/292.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ุญ&detail=on&nextseek=259
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%D8%AD&detail=on&nextseek=259


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]