ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

อันตราย ๑๐ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุขัดข้องที่ทรงอนุญาตให้เลิกสวดปาฏิโมกข์ได้ โดยให้สวดปาฏิโมกข์ย่อแทน
       มี ๑๐ คือ
           ๑. ราชันตราย พระราชาเสด็จมา (เลิกสวดเพื่อรับเสด็จ)
           ๒. โจรันตราย โจรมาปล้น (เพื่อหนีภัย)
           ๓. อัคยันตราย ไฟไหม้ (เพื่อดับหรือป้องกันไฟ)
           ๔. อุทกันตราย น้ำหลากมา (หรือฝนตกเมื่อสวดกลางแจ้ง; เพื่อหนีน้ำ)
           ๕. มนุสสันตราย คนมามาก (เพื่อรู้เหตุหรือปฏิสันถาร)
           ๖. อมนุสสันตราย ผีเข้าภิกษุ (เพื่อขับผี)
           ๗. วาฬันตราย สัตว์ร้าย เช่น เสือมาในวัด (เพื่อไล่สัตว์)
           ๘. สิริงสปันตราย งูเลื้อยเข้ามา (เพื่อไล่งู)
           ๙. ชีวิตันตราย มีเรื่องเป็นตาย เช่น ภิกษุอาพาธโรคร้าย (เพื่อช่วยแก้ไข)
           ๑๐. พรหมจริยันตราย มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ เช่น มีคนมาจับภิกษุ (เลิกเพราะอลหม่าน);
       ดู ปาฏิโมกข์ย่อ, อุเทศ
       อนึ่ง ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเทส ถ้ามีอันตรายเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ไม่ได้บอกอาบัติของตนพ้นคืนไป ยังไม่ถือว่าปิดอาบัติ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ บรรทัดที่ ๔๑๖๐ - ๔๑๖๑.
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=4160&Z=4161

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]