บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่าง คือ ๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑. ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒. ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓. คิดอย่างสัตบุรุษ ๔. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕. พูดอย่างสัตบุรุษ ๖. ทำอย่างสัตบุรุษ (๓, ๔, ๕, ๖ คือ คิด ปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อแก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น) |
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัปปุริสธรรม
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%BB%BB%D8%C3%D4%CA%B8%C3%C3%C1
บันทึก ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]