ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สต ”             ผลการค้นหาพบ  53  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 53
กายคตาสติ, กายคติ สติที่เป็นไปในกาย, สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 53
กาสาวพัสตร์ ผ้าที่ย้อมด้วยรสฝาด, ผ้าย้อมน้ำฝาด, ผ้าเหลืองสำหรับพระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 53
กุลสตรี หญิงมีตระกูลมีความประพฤติดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 53
จาคานุสสติ ระลึกถึงการบริจาค คือ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นจาคธรรมที่มีในตน
       ดู อนุสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 53
ตุมพสตูป พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 53
ทิพพโสต หูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา;
       ดู อภิญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 53
เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา คือระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน
       (ข้อ ๖ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 53
ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
       (ข้อ ๒ ในอนุสติ ๑๐)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ธัมมานุสสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 53
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดู ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 53
ปัญจสติกขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๑๑ แห่งจุลวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องการสังคายนาครั้งที่ ๑

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 53
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
       (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ;
       ใช้ว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 53
พยากรณศาสตร์ วิชาหรือตำราว่าด้วยการทำนาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 53
พุทธานุสติ ตามระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น พุทธานุสสติ
       (ข้อ ๑ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 53
มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม เกิดความไม่ประมาท และไม่หวาดกลัว คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจ และทำความดี
       (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 53
มรณัสสติ ดู มรณสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 53
มหาบุรุษลักษณพยากรณศาสตร์ วิชาว่าด้วยการทำนายลักษณะของมหาบุรุษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 53
มหาสติปัฏฐานสูตร ชื่อสูตรที่ ๙ แห่งทีฆนิกาย มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 53
มิจฉาสติ ระลึกผิด ได้แก่ ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
       (ข้อ ๗ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 53
ลักษณะพยากรณศาสตร์ ตำราว่าด้วยการทายลักษณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 53
วัสสาวาสิกพัสตร์ ดู ผ้าจำนำพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 53
วีสติวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๒๐ รูป (ทำอัพภานได้);
       ดู วรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 53
ศัสตรา ของมีคมเป็นเครื่องแทงฟัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 53
ศัสตราวุธ อาวุธมีคมเป็นเครื่องฟันแทง
       (ศัสตรา = ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธ = เครื่องประหาร)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 53
ศาสตร์ ตำรา, วิชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 53
ศิลปศาสตร์ ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล;
       ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่
           ๑. สุติ ความรู้ทั่วไป
           ๒. สัมมุติ ความรู้กฎธรรมเนียม
           ๓. สังขยา คำนวณ
           ๔. โยคา การช่างการยนตร์
           ๕. นีติ การปกครอง (คือความหมายเดิมของ นิติศาสตร์ ในชมพูทวีป)
           ๖. วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล
           ๗. คันธัพพา การร้องรำ
           ๘. คณิกา การบริหารร่างกาย
           ๙. ธนุพเพธา การยิงธนู (ธนุพเพทา ก็ว่า)
           ๑๐. ปุราณา การบูรณะ
           ๑๑. ติกิจฉา การบำบัดโรค (แพทยศาสตร์)
           ๑๒. อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์
           ๑๓. โชติ ความรู้เรื่องสิ่งส่องสว่างในท้องฟ้า (ดาราศาสตร์)
           ๑๔. มายา ตำราพิชัยสงคราม
           ๑๕. ฉันทสา การประพันธ์
           ๑๖. เกตุ การพูด
           ๑๗. มันตา การเวทมนตร์
           ๑๘. สัททา หลักภาษาหรือไวยากรณ์,
       ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ);
       แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ
           ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม
               เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น
           ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความจริง
               เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 53
สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์พวก ๒๐ คือ มีภิกษุ ๒๐ รูปขึ้นไป จึงจะครบองค์กำหนด
       ดู วรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 53
สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้
       (ข้อ ๑ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒, ข้อ ๓ ในพละ ๕, ข้อ ๙ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๑ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๖ ในสัทธรรม ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 53
สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ
       ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย
       ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา
       ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต
       ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;
       เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม;
       ดู โพธิปักขิยธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 53
สติวินัย ระเบียบยกเอาสติขึ้นเป็นหลัก
       ได้แก่ กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ ว่าเป็นผู้มีสติเต็มที่ เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์ ที่มีผู้โจทท่านด้วยศีลวิบัติ
       หมายความว่า จำเลยเป็นพระอรหันต์ สงฆ์เห็นว่าไม่เป็นฐานะที่จำเลยจะทำการล่วงละเมิดดังโจทก์กล่าวหา จึงสวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้ เรียกว่าให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย
       ภายหลังจำเลยจะถูกผู้อื่นโจทด้วยอาบัติอย่างนั้นอีก ก็ไม่ต้องพิจารณา ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสติวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 53
สติสังวร สังวรด้วยสติ (ข้อ ๒ ในสังวร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 53
สติสมฺโมสา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยลืมสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 53
สตูป สิ่งก่อสร้างสำหรับบรรจุของควรบูชา
       นิยมเรียก สถูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 53
สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (ข้อ ๓ ในอนุสติ ๑๐)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น สังฆานุสสสติ;
       ดู สังฆคุณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 53
สัตตสติกขันธกะ ชื่อขันกะที่ ๑๒ แห่งจุลวรรค ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 53
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
       ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ,
       ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครู และทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง,
       ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ,
       ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง,
       ทรงฉลาดในวิธีสอน,
       และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน
       (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 53
สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกใน สติปัฏฐาน ๔
       (ข้อ ๗ ในมรรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 53
สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
       เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
       ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 53
สีลานุสติ ระลึกถึงศีลของตนที่ได้ประพฤติมาด้วยดีบริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย
       (ข้อ ๔ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 53
เสตกัณณิกนิคม นิคมที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศใต้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 53
โสต หู, ช่องหู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 53
โสตถิยะ ชื่อคนหาบหญ้าที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์รับหญ้าจากโสตถิยะแล้วนำไปลาดต่างบัลลังก์ ณ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ ด้านทิศตะวันออก แล้วประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก จนกระทั่งตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 53
โสตถิวดี ชื่อนครหลวงของแคว้นเจดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 53
โสตวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบหู, เสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น, การได้ยิน
       (ข้อ ๒ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 53
โสตสัมผัส อาการที่หู เสียง และโสตวิญญาณประจวบกัน เกิดการได้ยิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 53
โสตสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส,
       ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่หู เสียง และโสตวิญญาณกระทบกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 53
โสวจัสสตา ความเป็นบุคคลที่พูดด้วยง่าย, ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รู้จักรับฟังเหตุผล
       (ข้อ ๔ ในนาถกรณธรรม ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 53
อติเรกวีสติวรรค สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวนเกิน ๒๐ รูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 53
อนุสติ ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
       ๒. ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
       ๓. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
       ๔. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
       ๕. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
       ๖. เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
       ๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม
       ๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม
       ๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
       ๑๐. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน;
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น อนุสสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 53
อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันเยี่ยม
       ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ล่วงพ้นทุกข์ได้
       (ข้อ ๖ ในอนุตตริยะ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 53
อังคารสตูป พระสถูปที่บรรจุพระอังคาร ซึ่งโมริยกษัตริย์สร้างไว้ที่เมืองปิปผลิวัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 53
อานาปานสติกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานที่ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 53
อานาปานัสสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
       (ข้อ ๙ ในอนุสติ ๑๐, ข้อ ๑๐ ในสัญญา ๑๐ เป็นต้น)
       บัดนี้นิยมเขียน อานาปานสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 53
อุปสมานุสติ ระลึกถึงคุณพระนิพพานซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์
       (ข้อ ๑๐ ในอนุสติ ๑๐)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]