ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ัช ”             ผลการค้นหาพบ  58  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 58
กสาวเภสัช น้ำฝาดเป็นยา, ยาที่ทำจากน้ำฝาดของพืช เช่น น้ำฝาดของสะเดา น้ำฝาดกระดอม น้ำฝาดบรเพ็ด เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 58
โกสัชชะ ความเกียจคร้าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 58
ขัชชภาชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่แจกของเคี้ยว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 58
จตุกกัชฌาน ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ขั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป;
       ดู ฌาน ๔;
       เทียบ ปัญจกัชฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 58
จัณฑปัชโชต พระเจ้าแผ่นดินแคว้นอวันตี ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 58
ชตุเภสัช พืชที่มียางเป็นยา, ยาทำจากยางพืช เช่น มหาหิงคุ์ กำยาน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 58
ชัชวาล รุ่งเรือง, สว่าง, โพลงขึ้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 58
ตัชชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงขู่,
       สังฆกรรมประเภทนิคคหกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสงฆ์ทำการตำหนิโทษภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์ เป็นผู้มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 58
ตัตรมัชฌัตตตา ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ, ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
       บางทีเรียก อุเบกขา
       (ข้อ ๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 58
เนสัชชิกังคะ องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ถือ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น ไม่นอน
       (ข้อ ๑๓ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 58
ปัญจกัชฌาน ฌานหมวด ๕ หมายถึงรูปฌานที่ตามปกติอย่างในพระสูตรแบ่งเป็น ๔ ขั้น
       แต่ในพระอภิธรรมนิยมแบ่งซอยละเอียดออกไปเป็น ๕ ชั้น
       (ท่านว่าที่แบ่ง ๕ นี้ เป็นการแบ่งในกรณีที่ผู้เจริญฌานมีญาณไม่แก่กล้า จึงละวิตกและวิจารได้ทีละองค์);
       ดู ฌาน ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 58
ปัญจเภสัช เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 58
ปัณณเภสัช พืชมีใบเป็นยา,
       ยาทำจากใบพืช เช่น ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 58
ปัณณัตติวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางพระบัญญัติ
       คือ คนสามัญทำเข้าไม่เป็นความผิดความเสีย เป็นผิดเฉพาะแก่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระบัญญัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ขุดดิน ใช้จีวรที่ไม่ได้พินทุ นั่งนอนบนเตียงตั่งที่ไม่ได้ตรึงเท้าให้แน่น เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 58
ปัพพชาจารย์ อาจารย์ผู้ให้บรรพชา;
       เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาจารย์ จะเขียน บรรพชาจารย์ ก็ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 58
ปัพพชาเปกขะ กุลบุตรผู้เพ่งบรรพชา, ผู้ตั้งใจจะบวชเป็นสามเณร, ผู้ขอบวชเป็นสามเณร;
       เขียนเต็มรูปเป็น ปัพพัชชาเปกขะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 58
ปัพพัชชา การถือบวช,
       บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 58
ผลเภสัช มีผลเป็นยา, ยาทำจากลูกไม้ เช่น ดีปลี พริก สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 58
เภสัช ยา, ยารักษาโรค, ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔,
       เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ
           ๑. สัปปิ เนยใส
           ๒. นวนีตะ เนยข้น
           ๓. เตละ น้ำมัน
           ๔. มธุ น้ำผึ้ง
           ๕. ผาณิต น้ำอ้อย;
       ส่วนยาแก้โรคที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้ว เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 58
เภสัชชขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู อุทิสสมังสะ กัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิก ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 58
มัชชะ ของเมา, น้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมา หมายถึงสุราและเมรัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 58
มัชฌันติกสมัย เวลาเที่ยงวัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 58
มัชฌิมะ ภิกษุผู้มีพรรษาครบ ๕ แล้ว แต่ยังไม่ถึง ๑๐ พรรษา
       (ต่ำกว่า ๕ เป็นนวกะ, ๑๐ พรรษาขึ้นไปเป็นเถระ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 58
มัชฌิมชนบท, มัชฌิมประเทศ ประเทศที่ตั้งอยู่ในท่ามกลาง,
       ถิ่นกลางเป็นอาณาเขตที่กำหนดว่า มีความเจริญรุ่งเรือง มีประชาชนหนาแน่น มีเศรษฐกิจดี เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่แห่งนักปราชญ์ผู้มีวิชาความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษา เป็นต้น
       กำหนดเขต
           ทิศบูรพา ภายในนับแต่มหาศาลนครเข้ามา
           อาคเนย์ นับแต่แม่น้ำสัลลวดีเข้ามา
           ทักษิณ นับแต่เสตกัณณิกนิคมเข้ามา
           ปัศจิม นับแต่ถูนคามเข้ามา
           อุดร นับแต่ภูเขาอุสีรธชะเข้ามา
       นอกจากนั้นไปเป็น ปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 58
มัชฌิมนิกาย นิกายที่ ๒ แห่งพระสุตตันตปิฎก มีพระสูตรยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 58
มัชฌิมโพธิกาล ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าตอนกลาง ระหว่างปฐมโพธิกาลกับปัจฉิมโพธิกาล นับคร่าวๆ ตั้งแต่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธไปแล้ว ถึงปลงพระชนมายุสังขาร;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 58
มัชฌิมภาณกาจารย์ อาจารย์ผู้สาธยายคัมภีร์มัชฌิมนิกาย
       คือ ผู้ได้ศึกษาทรงจำและชำนาญในมัชฌิมนิกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 58
มัชฌิมภูมิ ขั้น ชั้น หรือระดับพระมัชฌิมะ คือพระปูนกลาง,
       ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระปูนกลาง (ระหว่างพระนวกะ กับพระเถระ)
       คือมีพรรษาเกิน ๕ แต่ยังไม่ครบ ๑๐ และมีความรู้พอรักษาตัว เป็นต้น;
       เทียบ เถรภูมิ, นวกภูมิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 58
มัชฌิมยาม ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน;
       เทียบ ปฐมยาม, ปัจฉิมยาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 58
มัชฌิมวัย ตอนท่ามกลางอายุ, วัยเมื่อเป็นผู้ใหญ่หรือกลางคน,
       วัยกลางคน ระหว่างปฐมวัยกับปัจฉิมวัย;
       ดู วัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 58
มัชฌิมา ท่ามกลาง, กลาง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 58
มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง,
       ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค,
       ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา, ดำเนินด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 58
มูลเภสัช “มีรากเป็นยา”, ยาทำจากรากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ข่า แห้วหมู เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 58
รัชกาล เวลาครองราชสมบัติแห่งพระราชาองค์หนึ่งๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 58
รัชทายาท ผู้จะสืบราชสมบัติ, ผู้จะได้ครองราชสมบัติสืบต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 58
ลัชชินี หญิงผู้มีความละอายต่อบาป เป็นอิตถีลิงค์
       ถ้าเป็นปุงลิงค์ เป็น ลัชชี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 58
ลัชชีธรรม ธรรมแห่งบุคคลผู้ละอายต่อบาป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 58
โลกวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก
       คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย
       เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น;
       บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 58
โลณเภสัช เกลือเป็นยา เช่น เกลือทะเล เกลือดำ เกลือสินเธาว์ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 58
วัชชี ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่ชมพูทวีป ตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำคันธกะอยู่ทางทิศตะวันออกของแคว้นมัลละ ทางทิศเหนือของแคว้นมคธ นครหลวงชื่อ เวสาลี
       แคว้นวัชชีปกครองด้วยระบอบสามัคคีธรรม พวกกษัตริย์ที่ปกครองเรียกว่า กษัตริย์ลิจฉวี
       (นอกจากพวกลิจฉวีแล้วยังมีพวกวิเทหะซึ่งปกครองอยู่ที่เมืองมิถิลา แต่ในสมัยพุทธกาลมีอำนาจน้อย)
       แคว้นวัชชีรุ่งเรืองเข้มแข็งและมีอำนาจมาก ตอนปลายพุทธกาลได้กลายเป็นคู่แข่งกับแคว้นมคธ
       แต่หลังพุทธกาลไม่นานก็เสียอำนาจแก่มคธ เพราะอุบายทำลายสามัคคี ของวัสสการพราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 58
วัชชีบุตร ชื่อภิกษุพวกหนึ่งชาวเมืองเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการ ละเมิดธรรมวินัย
       เป็นต้นเหตุแห่งการสังคายนาครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 58
วิภัชชวาที “ผู้กล่าวจำแนก”, “ผู้แยกแยะพูด”,
       เป็นคุณบท คือคำแสดงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า
       หมายความว่า ทรงแสดงธรรมแยกแยะแจกแจงออกไป ให้เห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบย่อยๆ มาประชุมกันเข้าอย่างไร เช่น
           แยกแยะกระจายนามรูปออกเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ เป็นต้น
           สิ่งทั้งหลายมีด้านที่เป็นคุณและด้านที่เป็นโทษอย่างไร
           เรื่องนั้นๆ มีข้อจริงข้อเท็จอะไรบ้าง
           การกระทำอย่างนั้นๆ มีแง่ถูกแง่ผิด แง่ที่ดีและแง่ไม่ดีประการใด เป็นต้น
       เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งนั้นเรื่องนั้นอย่างชัดเจน มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นจริง เช่น มองเห็นความเป็นอนัตตา เป็นต้น ไม่มองอย่างตีคลุมหรือเห็นแต่ด้านเดียว แล้วยึดติดในทิฏฐิต่างๆ อันทำให้ไม่เข้าถึงความจริงแท้ตามสภาวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 58
วิสัชชกะ ผู้จ่าย, ผู้แจกจ่าย;
       ผู้ตอบ, ผู้วิสัชชนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 58
วิสัชชนา คำตอบ, คำแก้ไข;
       คำชี้แจง
       (พจนานุกรมเขียน วิสัชนา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 58
เวสารัชชกรณธรรม ธรรมทำความกล้าหาญ, ธรรมเป็นเหตุให้กล้าหาญ,
       คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
           ๒. ศีล มีความประพฤติดีงาม
           ๓. พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก
           ๔. วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง
           ๕. ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 58
เวสารัชชญาณ พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ
       ๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว
       ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว
       ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
       ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 58
สมานุปัชฌายกะ ภิกษุผู้ร่วมพระอุปัชฌายะเดียวกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 58
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
       (ข้อที่ ๕ ในศีล ๕ ศีล ๘ และศีล ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 58
อลัชชี ผู้ไม่มีความละอาย, ผู้หน้าด้าน, ภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 58
อัชฌาจาร ความประพฤติชั่ว, การละเมิดศีล, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 58
อัชฌาสัย นิสัยใจคอ, ความนิยม, ความมีน้ำใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 58
อัปปมัตตกวิสัชชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายของเล็กน้อย
       เช่น เข็มเย็บผ้า มีดตัดเล็บ ประคด เภสัชทั้งห้า เป็นต้น ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 58
อาวัชนาการ ความรำพึง, การรำลึก, นึกถึง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 58
อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือ ในภพถัดไป
       (ข้อ ๒ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 58
อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึง ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์, เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่ และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศึกษาต่อไป;
       อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณี เรียกว่า ปวัตตินี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 58
อุปัชฌายมัตต์ ภิกษุผู้พอจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ คือมีพรรษาครบ ๑๐, พระปูนอุปัชฌาย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 58
อุปัชฌายวัตร ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่ออุปัชฌาย์ของตน,
       หน้าที่ต่ออุปัชฌาย์ โดยย่อคือ
           เอาใจใส่ปรนนิบัติรับใช้
           คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน
           ขวนขวาย ป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น
           รักษาน้ำใจของท่าน มีความเคารพ จะไปไหนบอกลา ไม่เที่ยวตามอำเภอใจ
           และเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ;
       เทียบ สัทธิวิหาริกวัตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 58
อุปัชฌายาจารย์ อุปัชฌาย์และอาจารย์


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ัช
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D1%AA


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]