ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ัจ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กัจจานโคตร, กัจจายนโคตร ตระกูลพราหมณ์กัจจานะหรือกัจจายนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กัจจายนปุโรหิต ปุโรหิตชื่อกัจจายนะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชติ กรุงอุชเชนี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท
       มีชื่อในพระศาสนาว่า พระมหากัจจายนะ
       พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กัจฉะ, กัจฉประเทศ รักแร้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กิจในอริยสัจ ข้อที่ต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง คือ
       ปริญญา กำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์
       ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย
       สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้งหรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ
       ภาวนา การเจริญคือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กุลมัจฉริยะ “ตระหนี่ตระกูล” ได้แก่หวงแหนตระกูล ไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวงแหนอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น;
       ดู มัจฉริยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
โกมารภัจ ดู ชีวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
       (ข้อ ๗ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
คิลานปัจจัย ปัจจัยสำหรับคนไข้, ยารักษาโรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
จตุปัจจัย เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต ๔ อย่าง
       คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
จตุราริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
       ดู อริยสัจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ชีวกโกมารภัจจ์ “ผู้ที่พระราชกุมารเลี้ยง ชื่อชีวก”;
       ดู ชีวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ดิรัจฉาน สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์;
       เดียรัจฉาน ก็ใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ดิรัจฉานกถา ดู ติรัจฉานกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ดิรัจฉานวิชา ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน
       เช่น รู้ในการทำเสน่ห์ รู้ในการทำให้ถึงวิบัติ รู้เรื่องภูตผี รู้ในทางทำนาย เช่นหมอดู เป็นต้น
       เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น ทั้งทำผู้อื่นให้ลุ่มหลง งมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่และประกอบการตามเหตุผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
เดียรฉาน, เดียรัจฉาน สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน,
       เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น
           ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้
           โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่า โจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ๆ เป็นต้น
       (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยกย่อยได้ ๓๓ อย่าง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน (ข้อ ๒ ในอบาย ๔);
       ดู คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ติรัจฉานวิชา ดู ดิรัจฉานวิชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ถุลลัจจัย “ความล่วงละเมิดที่หยาบ”,
       ชื่ออาบัติหยาบอย่างหนึ่งเป็นความผิดขั้นถัดรองลงมาจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น
           ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
           ภิกษุชักสื่อบัณเฑาะก์ (กะเทย) ต้องอาบัติถุลลัจจัย
           ภิกษุนุ่งห่มหนังเสืออย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย;
       ดู อาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ทิศปัจฉิม ทิศตะวันตก, ทิศเบื้องหลัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ธรรมสากัจฉา การสนทนาธรรม, การสนทนากันในทางธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม ได้แก่ หวงแหนความรู้ ไม่ยอมบอก ไม่ยอมสอนคนอื่น เพราะเกรงว่าเขาจะรู้เท่าตน
       (ข้อ ๕ ในมัจฉริยะ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป,
       ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖)
       เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
นิปัจจการ การเคารพ, การอ่อนน้อม, การยอมเชื่อฟัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ
       ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
       ตรงข้ามกับ สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น สัตว์ บุคคล ฉัน เธอ ม้า รถ นาย ก. นาย ข. เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ปัจจยาการ อาการที่เป็นปัจจัยแก่กัน ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน,
       ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่);
       ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ;
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ปัจจัตตลักษณะ ลักษณะเฉพาะตน, ลักษณะเฉพาะของสิ่งต่างๆ
       เช่น เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำได้ เป็นต้น,
       คู่กับ สามัญลักษณะ 1.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ปัจจัตถรณะ ผ้าปูนอน,
       บรรจถรณ์ก็ใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ปัจจันตชนบท เมืองชายแดนนอก มัชฌิมชนบท ออกไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ปัจจันตประเทศ ประเทศปลายแดน, ประเทศชายแดน, หัวเมืองชั้นนอก,
       ถิ่นที่ยังไม่เจริญ คือ นอกมัธยมประเทศ หรือ มัชฌิมชนบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ปัจจัย
       1. เหตุที่ให้ผลเป็นไป, เหตุ, เครื่องหนุนให้เกิด
       2. ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต,
           สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ
               จีวร (ผ้านุ่งห่ม)
               บิณฑบาต (อาหาร)
               เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย)
               คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ปัจจัยปริคคหญาณ ดู นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ปัจจัยปัจจเวกขณะ การพิจารณาปัจจัย,
       พิจารณาก่อนจึงบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช
       ไม่บริโภคด้วยตัณหา
       (ข้อ ๔ ในปาริสุทธิศีล ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ปัจจามิตร ข้าศึก, ศัตรู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ปัจจุทธรณ์ ถอนคืน คือถอนคืนผ้าที่อธิษฐานไว้ เช่น
       อธิษฐานสบง คือ ตั้งใจกำหนดไว้ให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครอง ก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง,
       ตัวอย่าง ปัจจุทธรณ์สบงว่า “อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทฺธรามิ”
       (เปลี่ยน อนฺตรวาสกํ เป็น สงฺฆาฏึ เป็น อุตฺตราสงฺคํ เป็นต้น สุดแต่ว่าจะถอนอะไร)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน,
       ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไร ในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น;
       ดู พุทธะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ปัจฉาภัต ทีหลังฉัน, เวลาหลังอาหาร หมายถึงเวลาเที่ยงไปแล้ว;
       เทียบ ปุเรภัต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ปัจฉาสมณะ พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ
       เป็นศัพท์คู่กับ ปุเรสมณะ พระนำหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ปัจฉิมกิจ ธุระที่พึงทำภายหลัง, กิจที่พึงทำตอนท้าย
       เช่น ปัจฉิมกิจแห่งอุปสมบทมี ๖ ได้แก่
           วัดเงาแดด,
           บอกประมาณแห่งฤดู,
           บอกส่วนแห่งวัน,
           บอกสังคีติ (บอกรวบหรือบอกประมวล เช่น วัดที่บวช อุปัชฌาย์ กรรมวาจาจารย์ และจำนวนสงฆ์ เป็นต้น)
           บอกนิสัย ๔ และบอกอกรณียกิจ ๔ (ที่รวมเรียกอนุศาสน์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ปัจฉิมชาติ ชาติหลัง คือ ชาติสุดท้ายไม่มีชาติใหม่หลังจากนี้อีกเพราะดับกิเลสได้สิ้นเชิงแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ปัจฉิมทัสสนะ ดูครั้งสุดท้าย, เห็นครั้งสุดท้าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง หมายถึง บุตร ภรรยา;
       ดู ทิศหก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ปัจฉิมพรรษา ดู ปัจฉิมิกา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ปัจฉิมโพธิกาล โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพาน กำหนดคร่าวๆ ตามมหาปรินิพพานสูตรตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพพาน;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ปัจฉิมภพ ภพหลัง, ภพสุดท้าย ดู ปัจฉิมชาติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ปัจฉิมภวิกสัตว์ สัตว์ผู้เกิดในภพสุดท้าย,
       ท่านผู้เกิดในชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย คือผู้ที่ได้บรรลุอรหัตตผลในชาตินี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ปัจฉิมยาม ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน;
       เทียบ ปฐมยาม, มัชฌิมยาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ปัจฉิมวัย วัยหลัง (มีอายุระยะ ๖๗ ปี ล่วงไปแล้ว) ดู วัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ปัจฉิมวาจา ดู ปัจฉิมโอวาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ปัจฉิมสักขิสาวก สาวกผู้เป็นพยานการตรัสรู้องค์สุดท้าย,
       สาวกที่ทันเห็นองค์สุดท้าย ได้แก่ พระสุภัททะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ปัจฉิมโอวาท คำสอนครั้งสุดท้าย
       หมายถึง ปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า
           “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ”
       แปลว่า
           “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ปัจฉิมิกา วันเข้าพรรษาหลัง ได้แก่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙;
       อีกนัยหนึ่งท่านสันนิษฐานว่า เป็นวันเข้าพรรษาในปีที่มีอธิกมาส (เดือน ๘ สองหน);
       เทียบ ปุริมิกา, ปุริมพรรษา

ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาหลัง; ดู ปัจฉิมิกา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ปิลินทวัจฉะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์วัจฉโคตร ในเมืองสาวัตถี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนาแล้ว ได้บรรลุอรหัตตผล
       ต่อมาได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นที่รักของพวกเทวดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ปิลินทวัจฉคาม ชื่อหมู่บ้านของคนงานวัดจำนวน ๕๐๐ ที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้เป็นผู้ช่วยทำที่อยู่ของพระปิลินทวัจฉะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ
       ๑. พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก
       ๒. ธตา ทรงจำไว้ได้
       ๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก
       ๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ
       ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี;
       ดู พหูสูต
       (ข้อ ๒ ในนาถกรณธรรม ๑๐, ข้อ ๓ ในเวสารัชชกรณธรรม ๕, ข้อ ๔ ในสัทธรรม ๗, ข้อ ๕ ในอริยทรัพย์ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ภัททากัจจานา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกสิยวงศ์
       พระนามเดิมว่า ยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระมารดาของพระราหุลพุทธชิโนรส ได้นามว่า ภัททากัจจานา เพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง บวชเป็นภิกษุณี ในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบรรลุมหาภิญญา
       เรียก ภัททกัจจานา ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
มหากัจจายนะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในกัจจายนโคตรที่พระนครอุชเชนี เป็นบุตรปุโรหิตของพระราชาแห่งแคว้นอวันตี เรียนจบไตรเพทแล้ว
       ต่อมาได้เป็นปุโรหิตแทนบิดา พระเจ้าจัณฑปัชโชตตรัสสั่งให้หาทางนำพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่กรุงอุชเชนี กัจจายนปุโรหิตจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วบรรลุอรหัตตผล อุปสมบทแล้ว แสดงความประสงค์ที่จะอัญเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าสู่แคว้นอวันตี พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้ท่านเดินทางไปเอง ท่านเดินทางไปยังกรุงอุชเชนี ประกาศธรรม ยังพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองทั้งหมดให้เลื่อมใสในพระศาสนาแล้ว จึงกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา
       ต่อมาได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางขยายความคำย่อให้พิสดาร
       มีเรื่องเล่าเป็นเกร็ดว่า ท่านมีรูปร่างสวยงาม ผิวพรรณดังทองคำ บุตรเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อโสเรยยะ เห็นแล้วเกิดมีอกุศลจิตต่อท่านว่าให้ได้อย่างท่านเป็นภรรยาตนหรือให้ภรรยาตนมีผิวพรรณงามอย่างท่าน เพราะอกุศลจิตนั้น เพศของโสเรยยะกลายเป็นหญิงไป นางสาวโสเรยยะแต่งงานมีครอบครัว มีบุตรแล้ว
       ต่อมาได้พบและขอขมาต่อท่านเพศก็กลับเป็นชายตามเดิม โสเรยยะขอบวชในสำนักของท่าน และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
มหาสัจจกสูตร สูตรที่ ๓๖ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยการอบรมกาย อบรมจิต และมีเรื่องราวในพุทธประวัติตอนแสวงหาโมกขธรรมคือ ตอนตรัสรู้รวมอยู่ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
มัจจุ, มัจจุราช ความตาย

มัจจุมาร ความตายเป็นมาร เพราะตัดโอกาสที่จะทำความดีเสียทั้งหมด
       (ข้อ ๕ ในมาร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
มัจฉะ ชื่อแคว้นหนึ่งใน ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล
       อยู่ทิศใต้ของแคว้นสุรเสนะ นครหลวงชื่อ วิราฏ
       (บางแห่งว่า สาคละ แต่ความจริงสาคละเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัททะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
มัจฉริยะ ความตระหนี่, ความหวง (ข้อ ๔ ในมละ ๙),
       มัจฉริยะ ๕ คือ
           ๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่
           ๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล
           ๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ
           ๔. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
           ๕. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม
       (ข้อ ๙ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ได้แก่หวงผลประโยชน์ พยายามกีดกันผู้อื่นไม่ให้ได้
       (ข้อ ๓ ในมัจฉริยะ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
วัจกุฎี ส้วม, ที่ถ่ายอุจจาระสำหรับภิกษุสามเณร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
วัจกุฎีวัตร ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี,
       ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม โดยย่อมี ๗ ข้อ คือ
           ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง,
           รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ทำเสียงดัง,
           รักษาบริขาร คือจีวรของตน,
           รักษาตัว เช่น ไม่เบ่งแรง
           ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย,
           ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง,
           ระวังไม่ทำสกปรก,
           ช่วยรักษาความสะอาด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
วัฏฏูปัจเฉท ความเข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ
       (เป็นไวพจน์ของวิราคะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ คือหวงผิวพรรณ ไม่พอใจให้คนอื่นสวยงาม หรือหวงคุณวัณณะ ไม่พอใจให้ใครมีคุณความดีมาแข่งตน
       (ข้อ ๔ ในมัจฉริยะ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ, ทำดีด้วยการช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น
       (ข้อ ๕ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐);
       ไวยาวัจมัย ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
ไวยาวัจกร ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์, ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจธุระ, ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
ไวยาวัจจะ การขวนขวายช่วยทำกิจธุระ, การช่วยเหลือรับใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
ไวยาวัจมัย ดู เวยยาวัจจมัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์
       เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น
       ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น;
       ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
สังกัจฉิกะ ผ้ารัดหรือโอบรักแร้
       เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ ของภิกษุณี คือ
           สังฆาฏิ ผ้าทาบ ๑
           อุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๑
           อันตรวาสก สบง ๑
           สังกิจฉิกะ ผ้ารัดหรือผ้าโอบรักแร้ ๑
           อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ ๑
       (มากกว่าของภิกษุซึ่งมีจำนวนเพียง ๓ อย่างข้างต้น)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
สัจจะ
       1. ความจริง มี ๒ คือ
           ๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้
           ๒. ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
       2. ความจริง คือ
           จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์
           จริงวาจา ได้แก่ พูดจริง และ
           จริงการ ได้แก่ ทำจริง
           (ข้อ ๑ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๔ ในเบญจธรรม, ข้อ ๗ ในบารมี ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
สัจจญาณ ปรีชากำหนดรู้ความจริง, ความหยั่งรู้สัจจะ
       คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างตามภาวะที่เป็นจริง ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
สัจธรรม, สัจจธรรม ธรรมที่จริงแท้, หลักสัจจะ เช่น ในคำว่า “อริยสัจจธรรมทั้งสี่”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
สัจจานุโลมญาณ ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
       ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
       อนุโลมญาณ ก็เรียก
       (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
สัจฉิกรณะ การทำให้แจ้ง, การประสบ, การเข้าถึง,
       การบรรลุ เช่น ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน คือ บรรลุนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
สากัจฉา การพูดจา, การสนทนา


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ัจ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D1%A8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]