ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ัต ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กฏัตตากรรม ดู กตัตตากรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ, กรรมที่เป็นกุศลก็ตาม อกุศลก็ตาม สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน
       ดู กรรม ๑๒

กตัตตาวาปนกรรม ดู กตัตตากรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กถาวัตถุ ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ
       ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย
       ๒. สันตุฏฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ
       ๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ
       ๔. อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
       ๕. วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร
       ๖. สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
       ๗. สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น
       ๘. ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา
       ๙. วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์
       ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กรรมวาจาวิบัติ เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กรรมวาจาสมบัติ ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้อง ใช้ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย, ชนชั้นปกครอง หรือนักรบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กัตติกมาส เดือน ๑๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กัตติกา
       1. ดาวลูกไก่
       2. เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
กัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ, ความต้องการที่จะทำ
       ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลางๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้
       ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
กามสมบัติ สมบัติกามารมณ์, ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
กายวิญญัติ ความเคลื่อนไหวร่างกายให้รู้ความหมาย
       เช่น สั่นศีรษะ โบกมือ ขยิบตา ดีดนิ้ว เป็นต้น;
       เทียบ วจีวิญญัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
กำลังของพระมหากษัตริย์ ดู พละ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
กุฏิภัต อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฎีอันเขาสร้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
กุศลวัตร ข้อปฏิบัติที่ดี, กิจที่พึงทำที่ดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
เก็บวัตร โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสสกำลังอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้ก็ดี กำลังประพฤติมานัตยังไม่ครบ ๖ ราตรีก็ดี เมื่อมีเหตุอันสมควร ก็ไม่ต้องประพฤติติดต่อกันเป็นรวดเดียว พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประณมมือ
       ถ้าเก็บปริวาสพึงกล่าวว่า
           “ปริวาสํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บปริวาส”
           หรือว่า “วตฺตํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บวัตร”
           ว่าคำใดคำหนึ่ง ก็เป็นอันพักปริวาส ;
       ถ้าเก็บมานัต พึงกล่าวว่า
           “มานตฺตํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บมานัต”
           หรือว่า “วตฺตํ นิกฺขิปามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าเก็บวัตร” ดังนี้
           ว่าคำใดคำหนึ่งก็เป็นอันพักมานัต
       ต่อไปเมื่อมีโอกาสก็ให้สมาทานวัตรใหม่ได้อีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
       (ข้อ ๗ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ขัตติยธรรม หลักธรรมสำหรับกษัตริย์, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ขัตติยมหาศาล กษัตริย์ผู้มั่งคั่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ขึ้นวัตร โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ
       เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติชั้นสังฆาทิเสสแล้วอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้หรือประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันสมควร
       เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตรคือการสมาทานวัตรนั่นเอง
       ถ้าขึ้นปริวาส พึงกล่าวคำในสำนักภิกษุรูปหนึ่งว่า
           “ปริวาสํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นปริวาส”
           “วตฺตํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นวัตร”
       ถ้าขึ้นมานัต พึงกล่าวว่า
           “มานตฺตํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นมานัต” หรือ
           “วตฺตํ สมาทิยามิ” แปลว่า “ข้าพเจ้าขึ้นวัตร”

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
คณญัตติกรรม การประกาศให้สงฆ์ทราบแทนคณะคือพวกฝ่ายตน ได้แก่
       การที่ภิกษุรูปหนึ่งในนามแห่งภิกษุฝ่ายหนึ่ง สวดประกาศขออนุมัติเป็นผู้แสดงแทนซึ่งอาบัติของฝ่ายตนและของตนเองด้วยติณวัตถารกวิธี (อีกฝ่ายหนึ่งก็พึงทำเหมือนกันอย่างนั้น) ;
       เป็นขั้นตอนหนึ่งแห่งการระงับอธิกรณ์ ด้วยติณวัตถารกวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
คมิยภัต ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ;
       คมิกภัต ก็ว่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ครุกาบัติ อาบัติหนัก ได้แก่
       อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ภิกษุต้องแล้วจำต้องสึกเสีย และ
       อาบัติสังฆาทิเสส อยู่กรรมจึงจะพ้นได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
คัพภเสยยกสัตว์ สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ คือสัตว์ที่เกิดเป็นตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
คิลานภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
คิลานุปัฏฐากภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
คิหิปฏิบัติ ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
คุณของพระรัตนตรัย คุณของรัตนะ ๓ คือ
       ๑. พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย
       ๒. พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว
       ๓. พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
โคจรวิบัติ วิบัติแห่งโคจร, เสียในเรื่องที่เที่ยว, ความเสียหายในการไปมาหาสู่
       เช่น ภิกษุไปในที่อโคจรมีร้านสุรา หญิงแพศยา แม่หม้าย บ่อนการพนัน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ฆราวาสสมบัติ สมบัติของการครองเรือน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
จตุธาตุววัตถาน การกำหนดธาตุ ๔
       คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
จักกวัตติสูตร ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก
       พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือพึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง,
       จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ใจความว่า
           ๑. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย
           ๒. มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน
           ๓. ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์
           ๔. ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ อยู่เสมอ;
       จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑. เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม อย่างหนึ่ง, นอกจากนั้น สมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ ;
       พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม;
       เรื่อง พระศรีอารยเมตไตรย ก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้;
       ดู จักรวรรดิวัตร ๑๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
จักรพรรดิราชสมบัติ สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
จักรรัตนะ จักรแก้ว หมายถึงตัวอำนาจแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
จักรวรรดิวัตร ๑๒
       ๑. อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา
       ๒. ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ
       ๓. อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร
       ๔. พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
       ๕. เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย
       ๖. สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์
       ๗. มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์
       ๘. อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม
       ๙. อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์
       ๑๐. สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา
       ๑๑. อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม
       ๑๒. วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
           จักรวรรดิวัตร ๑๒ นี้ มาในอรรถกถา โดยแบ่งซอยและเพิ่มเติมจากของเดิมใน จักกวัตติสูตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ญัตติ คำเผดียงสงฆ์, การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน, วาจานัด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ญัตติกรรม กรรมอันกระทำด้วยตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา คือ ประกาศให้สงฆ์ทราบ เพื่อทำกิจร่วมกัน เรียกว่าเผดียงสงฆ์อย่างเดียว ไม่ต้องขอมติ เช่น อุโบสถ และปวารณา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ญัตติจตุตถกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่ ๔ ได้แก่ สังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้ว ต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยว ว่าจะอนุมัติหรือไม่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุม เป็นสงฆ์นั้น;
       พระราธะ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ญัตติทุติยกรรม กรรมมีญัตติเป็นที่ ๒ หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ,
       กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผ้ากฐิน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ญาตัตถจริยา พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ, ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ
       เช่น ทรงอนุญาตให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อน เหมือนเดียรถีย์อื่น และเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ เป็นต้น
       ดู พุทธจริยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ดาวนักษัตร ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ
       ๑. อัศวินี (ดาวม้า) มี ๗ ดวง
       ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง
       ๓. กฤติกา (ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง
       ๔. โรหิณี (ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง
       ๕. มฤคศิร (ดาวหัวเนื้อ) มี ๓ ดวง
       ๖. อารทรา (ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง
       ๗. ปุนัพสุ (ดาวสำเภาทอง) มี ๓ ดวง
       ๘. บุษย (ดาวสมอสำเภา) มี ๕ ดวง
       ๙. อาศเลษา (ดาวเรือน) มี ๕ ดวง
       ๑๐. มฆา (ดาวงูผ้า) มี ๕ ดวง
       ๑๑. บุรพผลคุณี (ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง
       ๑๒. อุตรผลคุณี (ดาวเพดาน) มี ๒ ดวง
       ๑๓. หัสต (ดาวศอกคู้) มี ๕ ดวง
       ๑๔. จิตรา (ดาวตาจระเข้) มี ๑ ดวง
       ๑๕. สวาติ (ดาวช้างพัง) มี ๕ ดวง
       ๑๖. วิศาขา (ดาวคันฉัตร) มี ๕ ดวง
       ๑๗. อนุราธา (ดาวประจำฉัตร) มี ๔ ดวง
       ๑๘. เชษฐา (ดาวช้างใหญ่) มี ๑๔ ดวง
       ๑๙. มูลา (ดาวช้างน้อย) มี ๙ ดวง
       ๒๐. บุรพาษาฒ (ดาวสัปคับช้าง) มี ๓ ดวง
       ๒๑. อุตราษาฒ (ดาวแตรงอน) มี ๕ ดวง
       ๒๒. ศรวณะ (ดาวหลักชัย) มี ๓ ดวง
       ๒๓. ธนิษฐา (ดาวไซ) มี ๔ ดวง
       ๒๔. ศตภิษัช (ดาวพิมพ์ทอง) มี ๔ ดวง
       ๒๕. บุรพภัทรบท(ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง
       ๒๖. อุตรภัทรบท (ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง
       ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน) มี ๑๖ ดวง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ได้รับสมบัติ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ หรือทำกิจที่สงฆ์มอบหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ตัตรมัชฌัตตตา ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ, ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง
       บางทีเรียก อุเบกขา
       (ข้อ ๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ติณวัตถารกวิธี วิธีแห่ง ติณวัตถารกวินัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ติณวัตถารกวินัย ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า
       ได้แก่ กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ไตรรัตน์ แก้วสามประการ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ถาวรวัตถุ สิ่งของที่มั่งคง ได้แก่ของที่สร้างด้วยอิฐ ปูน หรือโลหะ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ทวัตติงสกรรมกรณ์ ดู ทวดึงสกรรมกรณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ทวัตติงสาการ อาการ ๓๒, ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย
       คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ);
       ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย;
       ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
       ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
       ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
       ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
       ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้;
           มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ,
       พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต);
       ดู อริยบุคคล ๗

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ทิฏฐิวิบัติ วิบัตแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อน ผิดธรรมผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ
       (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ทุฏฐุลลาบัติ อาบัติชั่วหยาบ ได้แก่อาบัติปาราชิก และสังฆาทิเสส
       แต่ในบางกรณีท่านหมายเอาเฉพาะอาบัติสังฆาทิเสส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
เทวทัตต์ ราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร
       เจ้าชายเทวทัตต์ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธ์ พระอานนท์ และ กัลบกอุบาลี เป็นต้น บำเพ็ญฌานจนได้โลกิยอภิญญา
       ต่อมามีความมักใหญ่ ได้ยุยงพระเจ้าอชาตศัตรูและคบคิดกันพยายามประทุษร้ายพระพุทธเจ้า ก่อเรื่องวุ่นวายในสังฆมณฑลจนถึงทำสังฆเภท และถูกแผ่นดินสูบในที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ธนสมบัติ สมบัติ คือ ทรัพย์สินเงินทอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม; การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ธรรมวัตร ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาเรียบๆ ที่แสดงอยู่ทั่วไป อันต่างไปจากทำนองเทศน์แบบมหาชาติ,
       ทำนองแสดงธรรม ซึ่งมุ่งอธิบายตามแนวเหตุผล มิใช่แบบเรียกร้องอารมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
       หมายถึง การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย,
       ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม;
       ดู วุฑฒิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”,
       พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากตรัสรู้ ๒ เดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม)
       ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ดู ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,
       ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ
           ๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)
           ๒. เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)
           ๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)
           ๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)
           ๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)
           ๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)
           ๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)
           ๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ)
           ๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);
       เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์;
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
นักษัตรฤกษ์ ดาวฤกษ์ซึ่งอยู่บนท้องฟ้า มีชื่อต่างๆ กัน
       เช่น ดาวม้า ดาวลูกไก่ ดาวคางหมู ดาวจระเข้ ดาวคันฉัตร เป็นต้น;
       ดู ดาวนักษัตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี
       เช่น เห็นว่า ผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี
       เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง;
       ดู ทิฏฐิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
นิกรสัตว์ หมู่สัตว์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
นิตยภัต อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายแก่ภิกษุสามเณรเป็นประจำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
นิโรธสมาบัติ การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญา ความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์
       เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ,
       พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้
       (ข้อ ๙ ใน อนุปุพพวิหาร ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
นิสสัคคิยวัตถุ ของที่เป็นนิสสัคคีย์, ของที่ต้องสละ,
       ของที่ทำให้ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จำต้องสละก่อนจึงจะปลงอาบัติตก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
บอกวัตร บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป
       ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึง
           ปฏิบัติบูชา
           คาถาโอวาทปาฏิโมกข์
           คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม
           คำเตือนให้ใส่ใจในธรรม ในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
           ความไม่ประมาท
           เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ
           แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ
           ลำดับกาลในพระพุทธประวัติ
           สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน
           ชื่อ วัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗
           จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ;
       ธรรมเนียมนี้ บัดนี้เลือนลางไปแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
บัญญัติ การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
บิณฑจาริกวัตร วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต,
       ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น
           นุ่งห่มให้เรียบร้อย
           สำรวมกิริยาอาการ
           ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต
           กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและอาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่
           รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม
           รูปที่กลับมาก่อน จัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉันแล้วเก็บกวาด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,
       หมวด ๓ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ;
       หมวด ๑๐ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
           ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
           ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
           ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น
           ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดี ความดีของผู้อื่น
           ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม
           ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม
           ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
บุปผวิกัติ ดอกไม้ที่ทำให้แปลก, ดอกไม้ที่ทำให้วิจิตรประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
ปกตัตตะ
       ผู้เป็นภิกษุโดยปกติ,
       ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลายตามปกติ คือ
           ไม่ต้องอาบัติปาราชิก หรือ
           ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
       รวมทั้งมิใช่
           ภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเสส และ
           ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงนิคหกรรมอื่นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
ปฏิจฉันนาบัติ อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วปิดไว้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ;
       บำรุง, เลี้ยงดู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
ปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ
       ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน,
       บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม
       (ข้อ ๒ ในบูชา ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
ปฏิบัติสัทธรรม ดู สัทธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
ปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกกลับ, การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
ปฐมาปัตติกะ ให้ต้องอาบัติแต่แรกทำ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสส ๙ สิกขาบท ข้างต้นซึ่งภิกษุล่วงเข้าแล้ว ต้องอาบัติทันที สงฆ์ไม่ต้องสวดสมนุภาสน์;
       คู่กับ ยาวตติยกะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ัต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D1%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]