ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าน ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กกุธานที แม่น้ำที่พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าให้ไปเสวยและสรงชำระพระกาย ในระหว่างเดินทางไปเมืองกุสินารา ในวันปรินิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;
       ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)
       ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔);
       ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);
       สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป;
       ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
       ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น
       คำถวายผ้ากฐิน
       แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
       แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
       แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
       แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กรรมฐาน ดู กัมมัฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน
       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน
       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
       (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
       เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กัจจานโคตร, กัจจายนโคตร ตระกูลพราหมณ์กัจจานะหรือกัจจายนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ,
       วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ
           สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑
           วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑
       (นิยมเขียน กรรมฐาน);
       ดู ภาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ
       กสิณ ๑๐
       อสุภะ ๑๐
       อนุสสติ ๑๐
       พรหมวิหาร ๔
       อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
       จตุธาตุววัตถาน ๑
       อรูป ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กามสุขัลลิกานุโยค การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง ในบรรดาที่สุด ๒ คือ
       กามสุขัลลิกานุโยค ๑
       อัตตกิลมถานุโยค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
กายานุปัสสนา สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อหนึ่ง;
       ดู สติปัฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
การงานชอบ ดู สัมมากัมมันตะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา
       เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น
       ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
กิเลสานุสัย กิเลสจำพวกอนุสัย, กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏเมื่ออารมณ์มายั่วยุ
       เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้า ตะกอนก็ลอยขึ้นมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
กุณฑธานะ พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์
       ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา
       ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลา จนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไป
       ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
เก็บมานัต ดู เก็บวัตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
คณะมหานิกาย คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย,
       เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว;
       สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง [ของประเทศไทย-ผู้เขียน] ก่อนเกิดธรรมยุติกนิกาย” (การคณะสงฆ์ น.๙๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ควรทำความไม่ประมาท ในที่ ๔ สถาน ดู อัปปมาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
คิลานปัจจัย ปัจจัยสำหรับคนไข้, ยารักษาโรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
คิลานภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
คิลานศาลา โรงพักคนไข้, หอรักษาคนไข้, สถานพยาบาล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
คิลานุปฐาก ผู้ปฏิบัติภิกษุไข้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
คิลานุปัฏฐากภัต อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
เคหสถาน ที่ตั้งเหย้าเรือน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ฆานะ จมูก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ฆานวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก, กลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น
       (ข้อ ๓ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ฆานสัมผัส อาการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ฆานสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
จตุกกัชฌาน ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ขั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป;
       ดู ฌาน ๔;
       เทียบ ปัญจกัชฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ ละสุขเสียได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
จตุธาตุววัตถาน การกำหนดธาตุ ๔
       คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่างๆ ที่จัดเข้าไปในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกาย ว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นตัวสัตว์บุคคลที่แท้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
จาคานุสสติ ระลึกถึงการบริจาค คือ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นจาคธรรมที่มีในตน
       ดู อนุสติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
จิตกาธาน เชิงตะกอน, ที่เผาศพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต;
       ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด
       (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
จิตตานุปัสสนา สติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า
       ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น
           จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ โทสะ โมหะ
           จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
       (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
จีวรทานสมัย สมัยที่เป็นฤดูถวายจีวรตรงกับจีวรกาลสมัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
จีวรอธิษฐาน จีวรครอง, ผ้าจำกัดจำนวน ๓ ผืนที่อธิษฐานคือ กำหนดไว้ใช้ประจำตัวตามที่พระวินัยอนุญาตไว้;
       ตรงข้ามกับ อติเรกจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ชาคริยานุโยค การประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์
       (ข้อ ๓ ในอปัณณกปฏิปทา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ชานุมณฑล เข่า, ตอนเข่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก;
       ฌาน ๔ คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
           ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);
       ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับ ข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ฐานะ เหตุ, อย่าง, ประการ, ที่ตั้ง, ตำแหน่ง, โอกาส, ความเป็นไปได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ฐานาฐานญาณ ปรีชากำหนดรู้ฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และอฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในทสพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ฐานานุกรม ลำดับตำแหน่งยศที่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แล้ว มีอำนาจตั้งให้แก่พระภิกษุชั้นผู้น้อยตามทำเนียบ เช่น พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ฐานานุรูป สมควรแก่ตำแหน่ง, สมควรแก่เหตุที่จะเป็นได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ดิรัจฉาน สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์;
       เดียรัจฉาน ก็ใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ดิรัจฉานกถา ดู ติรัจฉานกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ดิรัจฉานวิชา ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน
       เช่น รู้ในการทำเสน่ห์ รู้ในการทำให้ถึงวิบัติ รู้เรื่องภูตผี รู้ในทางทำนาย เช่นหมอดู เป็นต้น
       เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น ทั้งทำผู้อื่นให้ลุ่มหลง งมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่และประกอบการตามเหตุผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
เดียรฉาน, เดียรัจฉาน สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า,
       กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์
       คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตามอำนาจกิเลส
       พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน
       เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กรรมฐานเบื้องต้น)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ตทังคนิพพาน “นิพพานด้วยองค์นั้น”,
       นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ,
       นิพพานเฉพาะกรณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ตทังคปหาน “การละด้วยองค์นั้น”,
       การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน
       แปลง่ายๆ ว่า “การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ” เช่น ละโกรธด้วยเมตตา
       (แปลกันมาว่า “การละกิเลสได้ชั่วคราว”)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ตะเบ็งมาน เป็นชื่อวิธีห่มผ้าของหญิงอย่างหนึ่ง
       คือ เอาผ้าโอบหลังสอดรักแร้ ๒ ข้างออกมาข้างหน้า ชักชายไขว้กันขึ้นพาดบ่าปกลงไปเหน็บไว้ที่ผ้าโอบหลัง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน,
       เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น
           ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้
           โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่า โจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ๆ เป็นต้น
       (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยกย่อยได้ ๓๓ อย่าง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน (ข้อ ๒ ในอบาย ๔);
       ดู คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ติรัจฉานวิชา ดู ดิรัจฉานวิชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
เถรานุเถระ “เถระและอนุเถระ” , พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ทรมาน ข่ม, ปราบ, ฝึก, ทำให้เสื่อมพยศ, ทำให้เสื่อมการถือตัว, ทำให้กลับใจ
       บัดนี้มักหมายถึง ทำให้ลำบาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ทักขิณานุปทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ทักษิณานุประทาน ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ทัสสนานุตตริยะ การเห็นที่ยอดเยี่ยม
       (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๓ หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม ตลอดถึงเห็นนิพพาน; ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคต ตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ทาน การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น;
       ทาน ๒ คือ
           ๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ
           ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม;
       ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม
           ๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
       (ข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม, ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐, ข้อ ๑ ในสังคหวัตถุ ๔, ข้อ ๑ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ทานกถา เรื่องทาน, พรรณนาทาน คือการให้ว่าคืออะไร มีคุณอย่างไร เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในอนุบุพพิกถา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ทานบน ถ้อยคำหรือสัญญาว่าจะไม่ทำผิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้;
       ทัณฑ์บน ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ทานบารมี จรรยาอย่างเลิศคือทาน
       (ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
ท่านผู้มีอายุ เป็นคำสำหรับพระผู้ใหญ่ ใช้เรียกพระผู้น้อย คือ พระที่มีพรรษาอ่อนกว่า
       (บาลีว่า อาวุโส)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการบริจาคทาน
       (ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
ทิฏฐานุคติ การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, เช่นพระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
ทิฏฐิมานะ
       ทิฏฐิ แปลว่า “ความเห็น” ในที่นี้หมายถึง ความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข
       มานะ ความถือตัว
       รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึง ถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ
       (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
ทิศอีสาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
ทิศานุทิศ ทิศน้อยทิศใหญ่, ทิศทั่วๆ ไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตก วิจารได้ คงมีแต่ ปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
ทูต ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนทางราชการแผ่นดิน, ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปเจรจาแทน

ทูตานุทูต ทูตน้อยใหญ่, พวกทูต

ทูตานุทูตนิกร หมู่พวกทูต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
ทูเรนิทาน “เรื่องห่างไกล”
       หมายถึง พุทธประวัติ ตั้งแต่เริ่มเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเสวยพระชาติในอดีตมาโดยลำดับ จนถึงชาติสุดท้าย คือเวสสันดร และอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา คือระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน
       (ข้อ ๖ ในอนุสติ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
เทวสถาน ที่ประดิษฐานเทวรูป, โบสถ์พราหมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
ธรรมทาน การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
       ดู ทาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
ธรรมสมาทาน การสมาทานหรือปฏิบัติธรรม,
       การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ
           การทำกรรมบางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
ธรรมาธิษฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น;
       คู่กับ บุคคลาธิษฐาน


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าน
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B9


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]