ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ านิก ”             ผลการค้นหาพบ  19  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 19
คณะธรรมยุต คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓ (เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี);
       สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย” (การคณะสงฆ์ น.๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 19
คณะมหานิกาย คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย,
       เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว;
       สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง [ของประเทศไทย-ผู้เขียน] ก่อนเกิดธรรมยุติกนิกาย” (การคณะสงฆ์ น.๙๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 19
จุลคัณฐี ชื่อนิกายพระสงฆ์พม่านิกายหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 19
ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส,
       ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ
       หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต - เกี่ยวกับจีวร มี
           ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล
           ๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน;
       หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต - เกี่ยวกับบิณฑบาต มี
           ๓. ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ
           ๔. สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
           ๕. เอกาสนิกังคะ ฉันวันละครั้งเดียว
           ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร
           ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม;
       หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต - เกี่ยวกับเสนาสนะมี
           ๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า
           ๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้
           ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง
           ๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า
           ๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้;
       หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต - เกี่ยวกับความเพียร มี
           ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน
       (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 19
นานานิกาย นิกายต่างๆ คือหมู่แห่งสงฆ์ต่างคณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 19
นานาสังวาส
       มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน,
       สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน
       เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือ
           ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง
           อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 19
นิกาย พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง;
       1. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย;
               ดู ไตรปิฎก
       2. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันที่แยกเป็นพวกๆ;
           ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ
               มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และ
               เถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีนยาน พวกหนึ่ง;
           ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 19
นิยยานิก เป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 19
มหาคัณฐี ชื่อนิกายพระสงฆ์พม่านิกายหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 19
มหานิกาย ดู คณะมหานิกาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 19
วินิปาติกะ ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆ สลับกันไป มีสุขบ้างทุกข์บ้างคละระคน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 19
วิปัสสนายานิก ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน คือผู้เจริญวิปัสสนาโดยยังไม่ได้ฌานสมาบัติมาก่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 19
เวมานิกเปรต เปรตอยู่วิมาน ได้เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรมเสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมาน มีร่างเป็นทิพย์สวยงาม เวลาจะเสวยทุกข์ต้องออกจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นน่าเกลียดน่ากลัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 19
สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 19
สวากขาตนิยยานิกธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว นำผู้ประพฤติตามให้ออกไปจากทุกข์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 19
โสสานิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คืออยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ
       (ข้อ ๑๑ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 19
อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล,
       พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก;
       พระอรหันต์ ๔ คือ
           ๑. พระสุกขวิปัสสก
           ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
           ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
           ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔);
       พระอรหันต์ ๕ คือ
           ๑. พระปัญญาวิมุต
           ๒. พระอุภโตภาควิมุต
           ๓. พระเตวิชชะ
           ๔. พระฉฬภิญญะ
           ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ;
       ดู อริยบุคคล
       พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของ อรหันต์ ไว้ ๕ นัย คือ
           ๑. เป็นผู้ไกล (อารกะ) จากกิเลส
               (คือห่างไกลไม่อยู่ในกระแสกิเลสที่จะทำให้มัวหมองได้เลย)
           ๒. กำจัดข้าศึก (อริ+หต) คือกิเลสหมดสิ้นแล้ว
           ๓. เป็นผู้หักคือรื้อทำลายกำ (อร+หต) แห่งสังสารจักรเสร็จแล้ว
           ๔. เป็นผู้ควร (อรห) แก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๕. ไม่มีที่ลับ (น+รห) ในการทำบาป คือไม่มีความชั่วความเสียหายที่จะต้องปิดบัง;
       ความหมายทั้ง ๕ นี้ ตามปกติใช้อธิบายคำว่า อรหันต์ ที่เป็นพุทธคุณข้อที่ ๑;
       ดู อรหํ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 19
อังคุดร หมายถึง อังคุตตรนิกาย

อังคุตตรนิกาย ชื่อนิกายที่ ๔ ในบรรดานิกาย ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก
       เป็นที่ชุมนุมพระสูตร ซึ่งจัดเข้าลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรม เป็นหมวด ๑ (เอกนิบาต) หมวด ๒ (ทุกนิบาต) เป็นต้น จนถึงหมวด ๑๑ (เอกาทสนิบาต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 19
อาจริยวาท วาทะของพระอาจารย์, มติของพระอาจารย์;
       บางที ใช้เป็นคำเรียกพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ คือ มหายาน


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=านิก&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B9%D4%A1&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]