ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิต ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กตเวทิตา ความเป็นคนกตเวที, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กตัญญูกตเวทิตา ความเป็นคนกตัญญูกตเวที

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิดนามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กัจจายนปุโรหิต ปุโรหิตชื่อกัจจายนะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจัณฑปัชโชติ กรุงอุชเชนี
       ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท
       มีชื่อในพระศาสนาว่า พระมหากัจจายนะ
       พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญิตา อาการที่ต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
กัลยาณมิตร เพื่อนที่ดี, มิตรผู้มีคุณอันพึงนับ
       (คุณสมบัติ ดู เพื่อน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว
       (ข้อ ๓ ในทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิธรรม ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ
       ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
       ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
       ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
           ดู ทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย, ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง คือ
       เว้นจากฆ่าสัตว์
       เว้นจากลักทรัพย์
       เว้นจากประพฤติผิดในกาม
           ดู กายทุจริต, สุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
กิตติศัพท์ เสียงสรรเสริญ, เสียงเล่าลือความดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
กิริยากิตกะ (กิริยากิตก์) เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง
       เช่น “ปรินิพฺพุโต” (ดับรอบแล้ว) “ปพฺพชิตฺวา” (บวชแล้ว) เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
กุศลวิตก ความตริตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงามมี ๓ คือ
       ๑. เนกขัมมวิตก ความตรึกปลอดจากกาม
       ๒. อพยาบาทวิตก ความตรึกปลอดจากพยาบาท
       ๓. อวิหิงสาวิตก ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
โกลิตะ ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูล หัวหน้าในหมู่บ้านนั้น
       สมัยเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสัญชัยก็ยังใช้ชื่อว่า โกลิตะ
       ต่อมาภายหลัง คือเมื่อบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกกันว่า โมคคัลลานะหรือพระมหาโมคคัลลานะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
โกลิตปริพาชก พระมหาโมคคัลลานะเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสัญชัย มีชื่อเรียกว่า โกลิตปริพาชก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ขุชชโสภิตะ ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
เคหสิตเปมะ ความรักอันอาศัยเรือน ได้แก่รักกันโดยฉันเป็นคนเนื่องถึงกันเป็นญาติกัน เป็นคนร่วมเรือนเดียวกัน, ความรักฉันพ่อแม่ลูกและญาติพี่น้อง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
โฆสิตาราม ชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพี ครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง
       เช่น คราวที่ภิกษุชาวโกสัมพีแตกกัน เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
จริต ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ
       ๑. ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)
       ๒. โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด)
       ๓. โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย)
       ๔. สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)
       ๕. พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)
       ๖. วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
จริมกจิต จิตดวงสุดท้าย ซึ่งจะดับไปเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
จิต, จิตต์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ;
       ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑)
       แบ่ง โดยชาติ เป็น
           อกุศลจิต ๑๒
           กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗)
           วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ
           กิริยาจิต ๒๐;
       แบ่ง โดยภูมิ เป็น
           กามาวจรจิต ๕๔
           รูปาวจรจิต ๑๕
           อรูปาวจรจิต ๑๒ และ
           โลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
จิตกาธาน เชิงตะกอน, ที่เผาศพ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ, ความคิดฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
       (ข้อ ๓ ในอิทธิบาท ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
จิตตกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้เหมาะแก่การใช้งาน
       (ข้อ ๑๕ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
จิตตกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ ที่ปักหรือทอเป็นลวดลายต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
จิตตคฤหบดี ชื่ออุบาสกคนหนึ่ง มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกธรรมกถึก;
       ท่านผู้นี้เคยถูกภิกษุชื่อสุธรรมด่า เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติปฏิสาราณียกรรม คือการลงโทษภิกษุผู้ด่าว่าคฤหัสถ์ที่ไม่มีความผิด ด้วยการให้ไปขอขมาเขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล้วแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้สละสลวย คล่องแคล่วว่องไว
       (ข้อ ๑๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
จิตตภาวนา ดู ภาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
จิตตมาส เดือน ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
จิตตมุทุตา ความอ่อนแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้นมนวลอ่อนละมุน
       (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
จิตตลหุกา ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาพร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่
       (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือได้ฝึกอบรมจิตจนเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา
       (ข้อ ๒ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
จิตตสังขาร
       1. ปัจจัยปรุงแต่งจิต ได้แก่ สัญญาและเวทนา
       2. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม
           ดู สังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
จิตตสันดาน การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต;
       ในภาษาไทยหมายถึง พื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด
       (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
จิตตสิกขา ดู อธิจิตตสิกขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
จิตตานุปัสสนา สติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า
       ใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
       กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ เช่น
           จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ โทสะ โมหะ
           จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
       (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
จิตตุชุกตา ความซื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน
       (ข้อ ๑๙ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
จิตประภัสสร ดู ภวังคจิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
เฉทนกปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก
       ได้แก่ สิกขาบทที่ ๕-๗-๘-๙-๑๐ แห่งรตนวรรค
       (ปาจิตตีย์ข้อ ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ชีวิต ความเป็นอยู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ชีวิตสมสีสี ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต, ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ชีวิตักษัย การสิ้นชีวิต, ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ชีวิตินทรีย์ อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ
       ๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์
       ๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ
       (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ญาติสาโลหิต พี่น้องร่วมสายโลหิต
       (ญาติ = พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, สาโลหิต = ผู้ร่วมสายเลือดคือญาติที่สืบสกุลมาโดยตรง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ดุสิต สวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชัน มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ก่อนจุติลงมาสู่มนุษยโลกและตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ติตถกร เจ้าลัทธิ หมายถึงคณาจารย์ ๖ คน คือ
       ๑. ปูรณกัสสป
       ๒. มักขลิโคสาล
       ๓. อชิตเกสกัมพล
       ๔. ปกุทธกัจจายนะ
       ๕. สัญชัยเวลัฏฐบุตร
       ๖. นิครนถนาฏบุตร
           มักเรียกว่า ครูทั้ง ๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ติตถิยะ เดียรถีย์, นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ติตถิยปริวาส วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา
       กล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่น หากปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะอุปสมบทได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ติตถิยปักกันตะ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้ (เป็นวัตถุวิบัติ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ถุลลโกฏฐิตนิคม นิคมแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นกุรุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ไถยจิต จิตคิดจะลัก, จิตคิดขโมย, จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ทุจริต ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดีมี ๓ คือ
       ๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย
       ๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา
       ๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ;
       เทียบ สุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ทุพภาสิต “พูดไม่ดี” “คำชั่ว” “คำเสียหาย”
       ชื่ออาบัติเบาที่สุดที่เกี่ยวกับคำพูดเป็นความผิดในลำดับถัดรองจากทุกกฎ
       เช่น ภิกษุพูดกับภิกษุที่มีกำเนิดเป็นจัณฑาล ว่าเป็นคนชาติจัณฑาล
           ถ้ามุ่งว่ากระทบให้อัปยศ ต้องอาบัติทุกกฎ
           แต่ถ้ามุ่งเพียงล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาษิต;
       ดู อาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
โทสจริต คนมีพื้นนิสัยหนักในโทสะ หงุดหงิด โกรธง่าย แก้ด้วยเจริญเมตตา
       (ข้อ ๒ ในจริต ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ธนิต พยัญชนะออกเสียงแข็ง
       ได้แก่ พยัญชนะที่ ๒ ที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕
       คือ ข, ฆ; ฉ, ฌ; ฐ, ฒ; ถ, ธ; ผ, ภ;
       คู่กับ สิถิล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ธรรมฐิติ ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ดู อภิณหปัจจเวกขณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ธรรมภาษิต ถ้อยคำที่เป็นธรรม, ถ้อยคำที่แสดงธรรม หรือเกี่ยวกับธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ธิติ
       1. ความเพียร, ความเข้มแข็งมั่นคง, ความหนักแน่น, ความอดทน
       2. ปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
นาคิตะ พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์
       มีพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท่านเกี่ยวกับเนกขัมมสุข ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ๒-๓ แห่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
นิคคหิต อักขระที่ว่ากดเสียง,
       อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย มีรูปเป็นจุดกลวง เช่น สงฺฆํ อุปสมฺปทํ;
       บัดนี้นิยมเขียน นิคหิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
นิตย์ เที่ยง, ยั่งยืน, เสมอ, เป็นประจำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
นิตยกาล ตลอดเวลา, ตลอดกาลเป็นนิตย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
นิตยภัต อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายแก่ภิกษุสามเณรเป็นประจำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
นิมิต
       1. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา,
           วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ
       2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ
       3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน,
           ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน,
           ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
               ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน
               ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
               ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
       4. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง;
           ดู เทวทูต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
นิมิตขาด (ในคำว่าสีมามีนิมิตขาด) สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน;
       ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิต ไม่ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริ่มต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
นิมิตต์ ดู นิมิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
นิมิตต์โอภาส ตรัสข้อความเป็นเชิงเปิดโอกาสให้อาราธนาเพื่อดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อนจึงจะปลงอาบัติตก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
นิสิต ศิษย์ผู้เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้อาศัย, ผู้ถือนิสัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
นิสิตสีมา พัทธสีมาอาศัยคามสีมา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
เนกขัมมวิตก ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ
       (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
บรรพชิต ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุ สมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น
       แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี)
       มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์
       (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
บัณฑิต ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
บัณฑิตชาติ เผ่าพันธุ์บัณฑิต, เหล่านักปราชญ์, เชื้อนักปราชญ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
บุรพนิมิตต์ เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน
       บัดนี้เขียน บุพนิมิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน,
       นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต
       เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
ปฏิสนธิจิต, ปฏิสนธิจิตต์ จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
ปมิตา เจ้าหญิงองค์หนึ่งในวงศ์ศากยะ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระเชฏฐภคินีของพระนางอมิตา เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
ปรนิมมิตวสวัตดี สวรรค์ชั้นที่ ๖ มีท้าวปรนิมมิตวสวัตดีปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกต่อหนึ่ง


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]