ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
ทวินนัง ปิณฑปาตานัง มหัปผลภาวปัญหา ที่ ๔
             ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ ถ้อยคำนี้พระสังคีติกาจารย์เจ้าทั้ง หลายกล่าวไว้ว่า ข้าพเจ้าทั้งสิ้นได้ยินมาแล้วว่า สมเด็จพระชินสีห์เจ้าบริโภคจังหันของนายจุนท์ ผู้เป็นบุตรแห่งช่างทองนั้น ครั้นฉันแล้วแต่นั้นมา สมเด็จบรมโลกนายก ก็ทรงทุพพลภาพเพียบ ไปด้วยพระอาพาธปิ่มจะสิ้นพระชนมายุ ปุน จ ภควตา ภาสิตํ ครั้นโยมพิเคราะห์ดูถ้อยคำ ที่ สมเด็จพระสัพพพัญญูตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ว่า เทฺว เม ปิณฺฑปาตา บิณฑบาตทั้งสอง คือบิณฑบาตนางสุชาดาถวายเมื่อจะได้ตรัส และบิณฑบาตนายจุนท์ถวายเมื่อวันเข้าสู่พระ นิพพานนี้ มีผลมากกว่าบิณฑบาตที่ผู้อื่นถวาย และบิณฑบาตทั้งสองนี้ มีผลอานิสงส์นักหนา นี้แหละครั้นจะเชื่อเอาพระพุทธฎีกาที่ว่า พระองค์เสวยอาหารบิณฑบาตนางสุชาดาและนายจุนท์ สรรเสริญว่ามีอานิสงส์เท่ากัน บิณฑบาตทายกให้นั้นจะมีผลนิสงส์เท่ากันบ่มิได้ ครั้นจะเชื่อ เอาพระพุทธฎีกานี้ คำพระสังคีติกาจารย์เจ้าทั้งหลายกล่าวว่า สมเด็จพระบรมโลกนาถทรงฉัน บิณฑบาตนายจุนท์เข้าไป ทรงพระอาพาธปิ่มจะสิ้นพระชนม์ คำนี้ก็ผิดเป็นมิจฉา ครั้นจะเชื่อ พระพุทธฎีกาว่า บิณฑบาตนางสุชาดากับบิณฑบาตนายจุนท์มีผลมากนี้ ก็ไม่สมกับคำที่ว่า สมเด็จพระพุทธองค์ทรงฉันบิณฑบาตนายจุนท์ แล้วทรงพระอาพาธปิ่มจะสิ้นพระชนม์ จะว่า บิณฑบาตที่นายจุนท์ถวายพระทศพลมีพลผลกระไรได้ นี้แหละโยมพิเคราะห์ไปเห็นไม่สมกัน อนึ่งเล่า บิณฑบาตนายจุนท์นี้มีผลด้วยระคนปนเจือไปด้วยยาพิษนั้นหรือ อนึ่งเล่า บิณฑบาต นายจุนท์มีผลด้วยให้บังเกิดพระโรคประชวรหรือ อนึ่ง บิณฑบาตนายจุนท์มีผลด้วยกระทำให้ สมเด็จพระทศพลสิ้นพระชนม์หรือ ข้อหนึ่งซึ่งว่า บิณฑบาตนายจุนท์มีผลด้วยกระทำให้สมเด็จ พระทศพลสิ้นพระชนม์ลับพระเนตรแห่งอมรินทร์และมหาพรหมกับทั้งมนุษย์หรือ ประการหนึ่ง เล่า บิณฑบาตนายจุนท์มีผลด้วยกระทำให้สมเด็จพระทศพลสิ้นชีวิตหรือ ตสฺส การณํ พระผู้ เป็นเจ้าจงสำแดงเหตุแห่งคำพระสังคีติกาจารย์ และพระพุทธฎีกานี้ เอตฺถายํ ชโน คนที่เป็น เดียรถีย์ในโลกนี้ สมุฬฺโท มีแต่หลงก็จะชวนกันสงสัยว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนี้ โลภ ฉันบิณฑบาตนั้น อติพลํ เกินการเสวยอาหารหนักด้วยโลภจิตจึงลงพระโลหิต อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ ตฺวานุปฺปตฺโต มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว โส ปญฺโห อันว่าปริศนานั้น ตยา อันพระผู้เป็นเจ้า นิพฺพายิตพฺโพ พึงระงับดับเสียให้สิ้นสงสัย ในกาลบัดนี้              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพร คำพระสังคีติกาจารย์ว่า สมเด็จพระทศพลเจ้า ฉันบิณฑบาตนายจุนท์แล้วก็ทรงพระอาพาธกล้าปิ่มจะสิ้นพระชนม์ ไม่ สมกับพระทศพลมีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า เทฺว เม ปิณฺฑปาตา บิณฑบาตทั้งสอง สมผลา มีผลเสมอกัน สมวิปากา มีวิบากเสมอกัน มหปฺผลตรา มีผลมากยิ่ง มหานิสํสา มีอานิสงส์มากยิ่ง ปิณฺฑปาเตหิ กว่าบิณฑบาตทั้งหลายอื่น กตเม เทฺว บิณฑบาตทั้งสอง นั้นเป็นไฉน สมเด็จพระสัพพัญญูบริโภคบิณฑบาตอันใดเป็นกำลังให้ได้ตรัส และอาหาร อันใดเป็นกำลังเพื่อจะให้เข้านิพพาน อิเม เทฺว ปิณฺฑปาตา บิณฑบาตทั้งสองนี้ สมผลา มีผลเสมอกันและมีอานิสงส์ยิ่งกว่าบิณฑบาตอื่นๆ แล อาหารบิณฑบาตที่นายจุนท์ถวาย สมเด็จพระบรมโลกนาถนั้น พหุคุโณ มีคุณมากมีผลมากมีอานิสงส์มาก จะนับประมาณบ่มิได้ เป็นที่เลื่อมใสนักหนา เทวดาตุฏฐาการชื่นชม มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลก- นาถรับอาหารบิณฑบาตนายจุนท์นั้น เทวดานิยมหรรษาว่าเป็นปัจฉิมบิณฑบาตที่สุดวันจะเสด็จ เข้าสู่ศิเวศนิพพาน จึงเอาโอชาเป็นทิพย์มาทุกสถานใส่ปนลงในสุกรมัททวะ สุกรมัททวะนั้น อธิบายว่าเนื้อหมู เหตุมีอยู่ฉะนี้ จึงโปรดว่าอาหารบิณฑบาตนี้มีผล ซึ่งเทพยเจ้าเอาโอชาทิพย์ มาระคนนั้นก็มีผลเหมือนบิณฑบาตนายจุนท์ถวายนั้น และข้อซึ่งว่าพระโรคอันบังเกิดในพระ อุทรสมเด็จพระสัพพัญญูนี้ ใช่ว่าจะบังเกิดด้วยอาหารบิณฑบาตนายจุนท์นั้นหาบ่มิได้ พระโรค บังเกิดในพระวรกายสมเด็จพระสัพพัญญูนี้ ด้วยพระองค์ทรงพระชราคร่ำคร่าจะสิ้นพระชนมายุ โรคนั้นจึงบังเกิดขึ้นได้ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้เป็นใหญ่พิภพจบสถาน เปรียบปาน ดุจกระแสสินธุชบา ปกติสนฺธมาโน อันไหลหลั่งถั่งมาตมปรกติแล้ว มิหนำฝนบันดาล ตกซ้ำลงไป มหาอุทกวาโห บังเกิดเป็นห้วงน้ำใหญ่ ยถา มีอุปมาฉันใด มหาราช ขอถวาย พระพร พระกายของสมเด็จพระทศพล แต่เป็นปรกติอยู่เล่าก็กระออกกระแอดซวดเซทรง ทรมาน ครั้นโรคบังเกิดซ้ำเขา ถึงจะน้อยก็พลอยกล้าหนักไป เอวเมว เมาะ ตถา มีอุปไมย ดังกระแสแม่น้ำ ฝนตกซ้ำลงถึงจะน้อยก็พลอบไหลลงแลพิลึกไปนั้น มหาราช ขอถวายพระพร อนึ่ง อาตมภาพจะถวายอุปมาอีกข้อหนึ่ง พระองค์จงทรงสดับ อคฺคิ ชลมาโน เหมือนหนึ่ง กองไฟอันลุกรุ่งเรือนอยู่แล้ว เมื่อมีบุคคลเอาเชื้อเช่นหญ้าแห้งและมูลฝอยใส่ลงไปก็จะลุกโชน โชตนาการยิ่งกว่านั้นอีกหลายเท่า อันนี้มีอุปมาฉันใด โรคที่บังเกิดในพระสรีระของพระ ทศพลก็มีอุปไมยฉันนั้น พระองค์ทรงพระชราทุพพลภาพมากอยู่แล้ว ก็เหมือนกองไฟที่ลุก รุ่งเรืองอยู่ ครั้นมีพระโรคบังเกิดขึ้น ก็เป็นเหมือนมีบุคคลเอาหญ้าแห้งและมูลฝอยมาใส่ในกอง ไฟให้ลุกยิ่งขึ้นไป              อนึ่ง มหาราช ขอถวายพระพร จงทรงฟังซึ่งอุปมา เปรียบดุจหนึ่งว่าบุรุษเป็นกุจฉิ- โรคาพาธ ให้มักเจ็บท้องอยู่ก่อนแล้วเป็นกรกติเคยมา อญฺญ อปกฺกํ ครั้นว่าบริโภคโภชนาหาร อันสุกๆ ดิบๆ บูดแฉะเข้าไป ก็เสาะท้องให้ลงหนักไป เพราะท้องไม่ดีอยู่แล้วแต่ก่อนมา ยถา มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์จวนจะสิ้นพระชนม์ สังขาร กำหนดถึงแปดสิบพรรษา ชราทุพพลภาพจวนจะเสด็จสู่เมืองแก้วคือนิพพานอันเลิศอยู่ แล้ว ครั้นว่าพระโรคบังเกิดกำเริบแรงขึ้นด้วยชราหากำลังบ่มิได้นั้น จะโทษเอาอาหารบิณฑบาต ของนายจุนท์นั้นหาควรไม่ น สกฺกา อาตมาไม่อาจจะว่า จังหันบิณฑบาตของนายจุนท์นี้เป็นโทษ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา เต เทวฺ ปิณฺฑปาตา อันว่าบิณฑบาตทั้งหลายสองนั้น เหตุไรเล่ามีผลเสมอกันมีวิบากเสมอกัน บิณฑบาตทั้งหลายอื่นนั้นไม่เสมอเทียมทันเลยเป็น ไฉนเล่า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาก่อน              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพร บิณฑบาตสองประการ สมผลา มีผลเสมอกัน สมวิปากา มีวิบากเสมอกัน ธมฺมานุปชฺชนสมาปตฺติติวเสน ด้วยสามารถบิณฑ- บาตทั้งสอง คือ บิณฑบาตนางสุชาดาและบิณฑบาตของนายจุนท์นั้นให้ถึงพร้อมซึ่งธรรม ทั้งหลายโดยลำดับ              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่ พระนาคเสนผู้ประกอบไปด้วยญาณปรีชา ผู้เป็นเจ้าวิสัชนาว่าบิณฑบาตทั้งสองประเสริฐด้วย สามารถแห่งความถึงพร้อมซึ่งธรรมทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน ได้แก่ฉันใด นิมนต์วิสัชนา ไปก่อน              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร บิณฑบาต สองประการประเสริฐด้วยสามารถแห่งความถึงพร้อมซึ่งธรรมนั้นคือได้แก่การเข้าอนุบุพพวิหาร- สมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลม ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ประชากรจึงตรัสย้อนถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค- เสนผู้ประกอบด้วยญาณปรีชา ในระหว่างที่สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์ได้ตรัสรู้แล้ว เสด็จ เที่ยวโปรดเวไนยสรรพสัตว์อยู่ที่สิบห้าพรรษา มาจนได้เสวยบิณฑบาตของนายจุนท์นี้ พระองค์ มิได้ทรงเข้าอนุบุพพวิหารสมาบัติทั้ง ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลมถึงสามครั้งบ้านหรือ              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ใน ระหว่างนั้น สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์จะได้ทรงเข้าอนุบุพพวิหารสมาบัติ โดยอนุโลมและ ปฏิโลมถึงสามครั้งหามิได้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรก็สิ้นสงสัยสโมสรยินดี มีพระราชโองการชมอานิสงส์ แห่งบิณฑบาตทั้งสองประการว่าเป็นบรมทานอันยิ่ง บิณฑบาตอื่นไม่มีผลเทียมถึงหาบ่มิได้ อนึ่ง นวอนุบุพพวิหารสมบัตินี้ประเสริฐนักหนา ตกว่าบิณฑบาตทั้งสองประคองให้สมเด็จ พระสัพพัญญูเจ้าได้นวอนุบุพพวิหารสมาบัติ จึงบังเกิดผลยิ่งนัก โยมจะรับเอาคำของพระผู้ เป็นเจ้าจำไว้กาลบัดนี้
ทวินนัง ปิณฑปาตานัง มหัปผลภาวปัญหา คำรบ ๔ จบเพียงนี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๒๗๙ - ๒๘๒. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=118              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_118

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]