บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
สัญโญชนโคจฉกะ [๗๑๙] ธรรมเป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? สัญโญชน์ ๑๐ คือ กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อิสสาสัญโญชน์ มัจฉริย- *สัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์. [๗๒๐] บรรดาสัญโญชน์ ๑๐ นั้น กามราคสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่ ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามราคสัญโญชน์. [๗๒๑] ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นไฉน? อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้กระทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้น ได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความ เสื่อมเสียแก่เรา, อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักชอบพอของเรา, อาฆาตย่อมเกิดขึ้นได้ ด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความเจริญแก่คนผู้ไม่ เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือ อาฆาตย่อมเกิดขึ้นในฐานะอันใช่เหตุ จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพลุ่งพล่าน โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความมุ่งคิดประทุษร้าย ความขุ่นจิตธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ โกรธ กิริยาที่โกรธ ความโกรธ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิด ประทุษร้าย ความคิดประทุษร้าย การคิดปองร้าย กิริยาคิดปองร้าย ความคิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต นี้เรียกว่า ปฏิฆสัญโญชน์. [๗๒๒] มานสัญโญชน์ เป็นไฉน? การถือตัว ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเสมอกับเขา ว่าเราเลวกว่าเขา การถือตัว กิริยา ที่ถือตัว ความถือตัว มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด [และ] การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตน ดุจธง การยกจิตขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง นี้เรียกว่า มานสัญโญชน์. [๗๒๓] ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี ว่าชีพอันนั้นสรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่นสรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้าแต่ มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ก็มีเบื้องหน้า แต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ ความเห็น ไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปร แห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัญโญชน์. ความเห็นผิดแม้ทุกอย่าง เว้นสีลัพพตปรามาสสัญโญชน์เสีย จัดเป็นทิฏฐิสัญโญชน์. [๗๒๔] วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นไฉน? ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วน อดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้ เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิด เห็นไปต่างๆ นานา ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทาง สองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิด พร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉาสัญโญชน์. [๗๒๕] สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมได้ด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยศีลพรตของสมณพราหมณ์ ในภายนอกแต่ศาสนานี้ ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่ง ความพินาศ การถือโดยวิปลาสมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์. [๗๒๖] ภวราคสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า ภวราคสัญโญชน์. [๗๒๗] อิสสาสัญโญชน์ เป็นไฉน? การริษยา กิริยาที่ริษยา ความริษยา การเกียดกัน กิริยาที่เกียดกัน ความเกียดกันใน ลาภสักการะ การทำความเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชาของคนอื่น อันใด นี้เรียกว่า อิสสาสัญโญชน์. [๗๒๘] มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความตระหนี่ ๕ คือ ตระหนี่อาวาส ตระหนี่ตระกูล ตระหนี่ลาภ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม การตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ความตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่ แห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า มัจฉริย- *สัญโญชน์. [๗๒๙] อวิชชาสัญโญชน์ เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วน อดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิด ขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความจริง ความ ไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่ พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์แจ้ง ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาสัญโญชน์. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์. [๗๓๐] ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? เว้นสัญโญชน์ธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เหลือ ซึ่ง เป็นกามาวจร รูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นสัญโญชน์. [๗๓๑] ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม ไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. [๗๓๒] ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชนธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์. ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชนธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์. [๗๓๓] ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? สัญโญชนธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์และเป็นอารมณ์ของ สัญโญชน์. ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์โดยสัญโญชนธรรมเหล่านั้น เว้นสัญโญชน- *ธรรมเหล่านั้นเสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์. [๗๓๔] ธรรมเป็นสัญโญชน์และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ เป็นไฉน? กามราคสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยกามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยมานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยวิจิกิจฉาสัญโญชน์ สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดย อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดย สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ภวราคาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยภวราคสัญโญชน์ อิสสาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอิสสาสัญโญชน์ มัจฉริยสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยอวิชชาสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์ โดยมัจฉริยสัญโญชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นสัญโญชน์ และสัมปยุตด้วยสัญโญชน์. ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์แต่ไม่เป็นสัญโญชน์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยสัญโญชนธรรมเหล่านั้น เว้นสัญโญชนธรรมเหล่านั้นเสีย คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยสัญโญชน์. [๗๓๕] ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากสัญโญชนธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์แต่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์. ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ เป็นไฉน? มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากสัญโญชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์.สัญโญชนโคจฉกะ จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ บรรทัดที่ ๖๓๓๗-๖๔๖๗ หน้าที่ ๒๕๒-๒๕๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=6337&Z=6467&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=34&siri=57 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=719 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [719-735] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=34&item=719&items=17 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10696 The Pali Tipitaka in Roman :- [719-735] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=34&item=719&items=17 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10696 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_34 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-cs1112
บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]