ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวตาวรรค ๙. นิทานสูตร

๙. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดกรรม
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม(ชั่ว) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โลภะ(ความอยากได้)เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๒. โทสะ(ความคิดประทุษร้าย)เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓. โมหะ(ความหลง)เป็นเหตุให้เกิดกรรม ภิกษุทั้งหลาย อโลภะไม่เกิดขึ้นเพราะโลภะ แท้จริง โลภะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะโลภะ อโทสะไม่เกิดขึ้นเพราะโทสะ แท้จริง โทสะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะโทสะ อโมหะไม่เกิดขึ้นเพราะโมหะ แท้จริง โมหะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะโมหะ เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดจาก โลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากโทสะ และเพราะกรรมที่เกิดจากโมหะ แท้จริงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเพราะกรรมที่เกิดจากโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากโทสะ และเพราะกรรม ที่เกิดจากโมหะ ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม (ดี) ๓ ประการนี้ เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อโลภะ(ความไม่อยากได้)เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๒. อโทสะ(ความไม่คิดประทุษร้าย)เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓. อโมหะ(ความไม่หลง)เป็นเหตุให้เกิดกรรม ภิกษุทั้งหลาย โลภะไม่เกิดขึ้นเพราะอโลภะ แท้จริง อโลภะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโลภะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวตาวรรค ๑๐. กิมมิลสูตร

โทสะไม่เกิดขึ้นเพราะอโทสะ แท้จริง อโทสะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโทสะ โมหะไม่เกิดขึ้นเพราะอโมหะ แท้จริง อโมหะเท่านั้นเกิดขึ้นเพราะอโมหะ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน แดนเปรต หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ปรากฏ เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด จากอโมหะ แท้จริง เทวดา มนุษย์ทั้งหลาย หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏ เพราะกรรมที่เกิดจากอโลภะ เพราะกรรมที่เกิดจากอโทสะ และเพราะกรรมที่เกิด จากอโมหะ ภิกษุทั้งหลาย เหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการนี้แล
นิทานสูตรที่ ๙ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๙๐-๔๙๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=13824 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=290              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=7984&Z=8004&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=310              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]