ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุ
[๑๖๙] อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุนั้นได้เห็น เองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีธรรม๑- อย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๒- ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุนั้น ได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ ฉะนี้แล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์๓- ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... @เชิงอรรถ : @ ผู้มีศีลอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงศีลที่เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ผู้มีธรรมอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงธรรมอัน @เป็นไปเพื่อสมาธิ (ม.ม.อ. ๒/๑๖๙/๑๓๕) @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ @(๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส (๔) กามฉันทะหรือกามราคะ (๕) พยาบาทหรือปฏิฆะ (๖) รูปราคะ @(๗) อรูปราคะ (๘) มานะ (๙) อุทธัจจะ (๑๐) อวิชชา @๕ ข้อต้นชื่อโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ข้อหลังชื่ออุทธัมภาคิยสังโยชน์ พระโสดาบันละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ @พระสกทาคามีทำสังโยชน์ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้เบาบาง พระอนาคามีละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้ พระอรหันต์ @ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ข้อ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, ม.มู.อ. ๑/๖๗/๑๗๔-๑๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูป นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อม มีแก่ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์ จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ภิกษุนั้นได้ เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ ฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุณี
[๑๗๐] อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุณี นั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรม อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุณีนั้นได้ เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรม อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่ อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้ หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสก
[๑๗๑] อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มี พระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้ หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์ จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสกนั้นได้ เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็น ผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะ น้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการ ฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสิกา
[๑๗๒] อนุรุทธะ อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และ เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้’ อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสิกานั้นได้เห็น เองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล ตามที่กล่าวมานี้แล ตถาคตพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่ เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คน เกิดความพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะ และความสรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’ ก็หามิได้ อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น ข้อนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นฬกปานสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๙๐-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=5302&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3667&Z=3864&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=195              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=195&items=8              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=195&items=8              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]