ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

๘. นฬกปานสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านนฬกปานะ
กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงออกบวช
[๑๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว หมู่บ้านนฬกปานะ แคว้นโกศล สมัยนั้นแล กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงจำนวนมาก คือ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระ เรวตะ ท่านพระอานนท์ และกุลบุตรที่มีชื่อเสียงอื่นๆ มีศรัทธาออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาค สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้วประทับนั่งอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศ เรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ” แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคก็ทรงปรารภกุลบุตรเหล่านั้น รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศเรานั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ” แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

[๑๖๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “ทางที่ดี เราควรถามกุลบุตร เหล่านั้นดู” แล้วได้รับสั่งเรียกท่านพระอนุรุทธะมาตรัสว่า “อนุรุทธะ๑- เธอทั้งหลาย ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ” ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่” “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ การที่เธอทั้งหลายยินดีในพรหมจรรย์นี้แล เป็นการ สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะ เธอทั้งหลาย กำลังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท เจริญอยู่ในปฐมวัยสมควรบริโภคกาม ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้ เธอทั้งหลายนั้นมิใช่ผู้ทำความผิดต่อพระราชา จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ผู้ถูกตามจับว่าเป็นโจรจึงออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต มิใช่ถูกหนี้สินบีบคั้นจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่เดือดร้อน เพราะภัยจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่ถูกอาชีพบีบคั้นจึงออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ความจริง เธอทั้งหลายมีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำ กองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุดจะพึงปรากฏ’ มิใช่หรือ” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้ควรทำกิจอะไรบ้าง คือ กุลบุตร ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้พยาบาท ก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ถีนมิทธะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ @เชิงอรรถ : @ อนุรุทธะ เป็นอาลปนะพหูพจน์ที่พระพุทธเจ้ารับสั่งเรียกท่านพระอนุรุทธะรูปเดียวแทนพระเถระเหล่านั้น @ทั้งหมด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้วิจิกิจฉาก็ยังครอบงำจิต ของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความริษยาก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ แม้ความเป็น ผู้เกียจคร้านก็ยังครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ กุลบุตรนั้น ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย อนุรุทธะ กุลบุตรบรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย แม้อภิชฌาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้พยาบาท ก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ถีนมิทธะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ ไม่ได้ แม้อุทธัจจกุกกุจจะก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้วิจิกิจฉาก็ครอบงำ จิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความริษยาก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ แม้ความ เป็นผู้เกียจคร้านก็ครอบงำจิตของกุลบุตรนั้นอยู่ไม่ได้ กุลบุตรนั้น บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่ละเอียดกว่านั้นอันสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายได้
พระตถาคตกับอาสวะ
[๑๖๘] อนุรุทธะ เธอทั้งหลายจะคิดอย่างไรในเราว่า “ตถาคตยังละอาสวะ อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของ อย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่งบ้างไหม” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระตถาคตยังทรงละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของ อย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง’ แต่ข้าพระองค์ทั้งหลายได้คิดในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระตถาคตทรง ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบาก เป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

แล้วจึงทรงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของ อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า” “ดีละ ดีละ อนุรุทธะ ตถาคตละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้วไม่อาจงอกขึ้นอีกได้ แม้ฉันใด ตถาคตก็ ฉันนั้นเหมือนกัน ละอาสวะอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวน กระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของอย่างหนึ่ง อดกลั้นของอย่างหนึ่ง เว้นของอย่างหนึ่ง บรรเทาของอย่างหนึ่ง เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ตถาคตพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิด ในภพชื่อโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพชื่อโน้น” “ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค ทรงโปรดอธิบายเนื้อความแห่งพระภาษิตนี้ให้แจ่มแจ้งเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำ อธิบายของพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระพุทธเจ้าข้า” “อนุรุทธะ ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลาย ว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คนเกิดความ พิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความ สรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’ ก็หามิได้ อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นตลอดกาลนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๘๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุ
[๑๖๙] อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุนั้นได้เห็น เองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีธรรม๑- อย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๒- ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุนั้น ได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ ฉะนี้แล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์๓- ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... @เชิงอรรถ : @ ผู้มีศีลอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงศีลที่เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ผู้มีธรรมอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงธรรมอัน @เป็นไปเพื่อสมาธิ (ม.ม.อ. ๒/๑๖๙/๑๓๕) @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ (๑) สักกายทิฏฐิ @(๒) วิจิกิจฉา (๓) สีลัพพตปรามาส (๔) กามฉันทะหรือกามราคะ (๕) พยาบาทหรือปฏิฆะ (๖) รูปราคะ @(๗) อรูปราคะ (๘) มานะ (๙) อุทธัจจะ (๑๐) อวิชชา @๕ ข้อต้นชื่อโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ข้อหลังชื่ออุทธัมภาคิยสังโยชน์ พระโสดาบันละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ @พระสกทาคามีทำสังโยชน์ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้เบาบาง พระอนาคามีละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้ พระอรหันต์ @ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐ ข้อ (องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, ม.มู.อ. ๑/๖๗/๑๗๔-๑๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูป นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อม มีแก่ภิกษุ ด้วยประการฉะนี้แล อนุรุทธะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์ จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า‘ภิกษุนั้นได้ เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านรูปนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านรูปนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว อย่างนี้’ ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านรูปนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุ ด้วยประการ ฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของภิกษุณี
[๑๗๐] อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นดำรงอยู่ในอรหัตตผล’ ภิกษุณี นั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรม อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ ภิกษุณีนั้นได้ เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรม อย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่ อย่างผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับพยากรณ์จาก พระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุด แห่งทุกข์ได้’ ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล อนุรุทธะ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ‘ภิกษุณีชื่อนี้มรณภาพแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้ หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ ภิกษุณี ด้วยประการฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสก
[๑๗๑] อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระผู้มี พระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้’ อุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรม อย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้ หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของท่านผู้นั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่ อุบาสก ด้วยประการฉะนี้แล อนุรุทธะ อุบาสกในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสกชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์ จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสกนั้นได้ เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘ท่านผู้นั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็น ผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ ท่านผู้นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของท่านผู้นั้น ก็จะ น้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุกย่อมมีแก่อุบาสก ด้วยประการ ฉะนี้แล
การอยู่อย่างผาสุกของอุบาสิกา
[๑๗๒] อนุรุทธะ อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับ พยากรณ์จากพระผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย- สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก’ อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มี ธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้น เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๒. ภิกขุวรรค]

๘. นฬกปานสูตร

อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และ เพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง จักกลับมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวแล้วจะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้’ อุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ ... เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ ... เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ ... เป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล อุบาสิกาในศาสนานี้ได้ฟังว่า ‘อุบาสิกาชื่อนี้ตายแล้ว ได้รับพยากรณ์จากพระ ผู้มีพระภาคว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นผู้ ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ อุบาสิกานั้นได้เห็น เองหรือได้ฟังมาว่า ‘น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้ น้องหญิง นั้นเป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้’ อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ ปัญญาของน้องหญิงนั้น ก็จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น การอยู่อย่างผาสุก ย่อมมีแก่อุบาสิกา ด้วยประการฉะนี้แล ตามที่กล่าวมานี้แล ตถาคตพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้วในภพที่ เกิดทั้งหลายว่า ‘สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น’ เพื่อให้คน เกิดความพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะ และความสรรเสริญก็หามิได้ หรือด้วยความประสงค์ว่า ‘คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้’ ก็หามิได้ อนุรุทธะ กุลบุตรผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตไปเพื่อศรัทธาเป็นต้นนั้น ข้อนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
นฬกปานสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๙๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๑๘๖-๑๙๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=13&A=3667&Z=3864                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=195              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=195&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=3320              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=195&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=3320                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i195-e1.php# https://suttacentral.net/mn68/en/sujato https://suttacentral.net/mn68/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :