ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระบัญญัติ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอออกปากขอจีวรจาก บุตรเศรษฐี จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อุปนันทะ บุตรเศรษฐีเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลตอบว่า “ไม่ใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า” พระพุทธองค์ ทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ คฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติย่อมไม่รู้ความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ของที่มีอยู่หรือไม่มีของคนผู้ไม่ใช่ญาติ โมฆบุรุษ เธอนั้นออกปากขอจีวรจากบุตร เศรษฐีผู้ไม่ใช่ญาติเชียวหรือ โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๑๖] ก็ ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง ผู้ไม่ใช่ญาติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร
[๕๑๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ใน ระหว่างทาง พวกโจรออกมาปล้นภิกษุเหล่านั้น พวกเธอคิดว่า “การออกปากขอ จีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิง พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้แล้ว” จึงรังเกียจ ไม่ยอมออกปากขอจีวรเลย เปลือยกายไปถึงกรุงสาวัตถี ไหว้ภิกษุทั้งหลาย พวก ภิกษุจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอาชีวกที่พากันไหว้ภิกษุเหล่านี้ เป็นพวก อาชีวกที่ดี” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

ภิกษุชาวเมืองสาเกตกล่าวอย่างนี้ว่า “พวกกระผมไม่ใช่อาชีวก พวกกระผม เป็นภิกษุ” ภิกษุชาวกรุงสาวัตถีได้กล่าวกับพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี นิมนต์ท่านไต่สวน ภิกษุเหล่านี้เถิด” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพระอุบาลีไต่สวน จึงเล่าเรื่องนั้นให้ทราบ ครั้นไต่สวนแล้ว พระอุบาลีแจ้งว่า “พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวร แก่พวกเธอ” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงเปลือยกายเดินมาเล่า ตามธรรมดาภิกษุต้องใช้หญ้าหรือใบไม้ปกปิดเดิน มา มิใช่หรือ” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำ เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวร หรือจีวรหาย ออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ไม่ใช่ญาติได้ ถ้าวัดที่ภิกษุไปถึง ก่อน มีจีวรประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ก็พึงถือเอา ผ้าของสงฆ์ไปห่มโดยตั้งใจว่า ‘เมื่อเราได้จีวรแล้วจะนำมาคืน’ ดังนี้ก็ควร ถ้าไม่มีจีวร ประจำวิหาร ผ้าปูเตียง ผ้าปูพื้นหรือผ้าปลอกฟูกของสงฆ์ ควรใช้หญ้าหรือใบไม้ ปกปิดมา อนึ่ง ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติ ทุกกฏ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๕๑๘] อนึ่ง ภิกษุใดออกปากขอจีวรจากคฤหัสถ์ชายหรือคฤหัสถ์หญิงผู้ ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุถูก ชิงจีวรไป หรือจีวรสูญหาย นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุถูกชิงจีวร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนที่เกี่ยวเนื่องกันทางมารดาหรือทางบิดา ตลอดเจ็ดชั่วคน ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ชาย ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือน ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์หญิง ได้แก่ สตรีผู้ครองเรือน ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะ วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย ที่ชื่อว่า ภิกษุถูกชิงจีวรไป ได้แก่ จีวรของภิกษุที่พระราชา โจร นักเลงหรือ คนบางพวกชิงเอาไป ที่ชื่อว่า จีวรสูญหาย ได้แก่ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ น้ำพัด หนูหรือปลวกกัด หรือที่ใช้สอยจนเก่า ภิกษุออกปากขอนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์ เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ กระผมออกปากขอจากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวร ผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมออกปากขอ จากคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ นอกสมัย เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๒๐] คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ คฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่ญาติ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุไม่แน่ใจ ขอจีวรนอกสมัย ต้องอาบัติทุกกฏ คฤหัสถ์ที่เป็นญาติ ภิกษุสำคัญว่าเป็นญาติ ขอจีวรนอกสมัย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๒๑] ๑. ภิกษุออกปากขอในสมัย ๒. ภิกษุออกปากขอจากญาติ ๓. ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา ๔. ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุรูปอื่น ๕. ภิกษุซื้อมาด้วยทรัพย์ของตน ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๑-๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=1052&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=6              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=911&Z=1088&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=53              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=53&items=5              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=53&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]