ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗

สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ออกปากขอ แกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัว พวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วน ตัวเล่า ภัตตาหารที่ดีใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอขอแกงบ้าง ข้าว สุกบ้างมาฉันส่วนตัวจริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงออก ปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง มาฉันส่วนตัวเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้เลย ฯลฯ” แล้วรึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ออกปากขอแกง หรือข้าวสุก มาฉันส่วนตัว สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗

เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๑๓] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ พวกภิกษุผู้มีหน้าที่สอบถามอาการไข้ ได้กล่าวกับพวกภิกษุผู้เป็นไข้ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” พวกภิกษุผู้เป็นไข้ตอบว่า “เมื่อก่อนพวกกระผมออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุก บ้างมาฉันส่วนตัว ดังนั้นจึงมีความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมมีความยำเกรงอยู่ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้’ จึงไม่ออกปากขอ ดังนั้นจึงไม่มีความผาสุก” พวกภิกษุ ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ขอได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ออกปากขอแกง หรือ ข้าวสุกมาฉันส่วนตัวได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก มาฉันส่วนตัว
เรื่องพระผู้เป็นไข้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุขอจากญาติ ๖. ภิกษุขอจากคนปวารณา ๗. ภิกษุขอเพื่อผู้อื่น ๘. ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๙. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๑๐. ภิกษุวิกลจริต ๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๘

สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มุ่งตำหนิ จึง มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงมุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งตำหนิ มองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุแลดูด้วยตั้งใจว่าจะเติมของฉันให้ หรือสั่งให้เขาเติมถวาย ๕. ภิกษุไม่มุ่งจะตำหนิ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๙

สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวใหญ่ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่เกิน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่างๆ ๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๔. สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำคำข้าวยาว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักทำคำข้าวให้กลม
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุพึงทำคำข้าวให้กลม ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวยาว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่างๆ ๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
สักกัจจวรรคที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๘๗-๖๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=17159&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=138              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15586&Z=15758&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=830              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=830&items=11              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=830&items=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]