ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๕. อุทกูปมาสูตร

บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิ๑- ในวันข้างหน้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วเหลียวมองดู เป็น อย่างนี้แล บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไป เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ สังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะราคะ โทสะและโมหะเบาบาง เขาจึงเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้น แล้วข้ามไป เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี ... มีโอตตัปปะดี ... มีวิริยะดี ... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นโอปปาติกะ๒- ปรินิพพานในภพชั้น สุทธาวาสนั้น ไม่กลับมาจากโลกนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ ประการ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๘๗/๒๔๒, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๘๗/๒๓๕, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙) @ โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ (ตาย) ก็หายวับไปไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดา @และสัตว์นรก เป็นต้น (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) ในที่นี้หมายถึงโอปปาติกะที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ @ได้เป็นพระอริยบุคคลชั้นอนาคามีไปเกิดในสุทธาวาส ๕ ชั้น มีชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ @ปรินิพพานสิ้นกิเลสอยู่ในสุทธาวาสนั่นเอง ไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก (องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๖/๓๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๖. อนิจจานุปัสสีสูตร

บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โผล่ขึ้นมาแล้ว ได้แก่มีศรัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี... มีโอตตัปปะดี... มีวิริยะดี... มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย และเขาทำให้ แจ้งเจโตวิมุตติ๑- ปัญญาวิมุตติ๒- อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้โผล่ขึ้นแล้วข้ามไปถึงฝั่ง เป็นผู้ ลอยบาปอยู่บนบก เป็นอย่างนี้แล๓- ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยคนตกน้ำ ๗ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
อุทกูปมาสูตรที่ ๕ จบ
๖. อนิจจานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยม ของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีสัญญาว่า ไม่เที่ยง รู้ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง @เชิงอรรถ : @ เจโตวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตซึ่งเป็นผลแห่งสมาธิ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการกำจัดอวิชชาได้ซึ่งเป็นผลแห่งปัญญา @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) @ คำว่า “โผล่ขึ้น” ในสูตรนี้ หมายถึงมีศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ และปัญญา บุคคลจำพวกที่ ๗ นี้ @หมายถึงผู้ข้ามโอฆะคือกิเลสทั้งปวงได้ ดำรงตนอยู่บนบกคือนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๕/๑๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๓-๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=567&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=15              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=233&Z=278&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=15&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=15&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]