ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร

คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุณีเมื่อทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการย่อม ไม่เป็นสมณะหญิง ไม่เป็นเชื้อสายศากยธิดา๑- เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วนที่ไม่ อาจงอกได้ต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับ ภิกษุณีรูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๗๗] ๑. ภิกษุณีไม่จงใจ ๒. ภิกษุณีไม่มีสติ @เชิงอรรถ : @ เมื่อภิกษุณีล่วงละเมิดแต่ละวัตถุ ต้องอาบัติเล็กน้อยดังนี้ @๑. ในขณะที่เดินทางไปที่นัดหมาย ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ ย่างก้าว พอก้าวเข้าสู่ @หัตถบาส(ระยะช่วงแขน)ของชาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย @๒. ยินดีการที่ชายมา ต้องอาบัติทุกกฏ พอชายก้าวเข้าสู่หัตถบาส ต้องอาบัติถุลลัจจัย @ส่วนวัตถุที่เหลืออีก ๖ คือ @๑. ยินดีการจับมือ ๒. ยินดีการจับมุมสังฆาฏิ @๓. ยืนเคียงคู่กัน ๔. สนทนากัน @๕. ตามเข้าไปสู่ที่ลับ ๖. น้อมกายเข้าไปเพื่อจะเสพอสัทธรรม @ปรับอาบัติถุลลัจจัยเท่านั้นสำหรับแต่ละวัตถุ @ภิกษุณีต้องอาบัติถุลลัจจัยเพราะล่วงละเมิดแต่ละวัตถุแล้ว ไม่คิดจะสลัดทิ้ง โดยคิดว่า “เราจะต้อง @อาบัติแม้เพราะวัตถุอื่นอีก” แม้จะแสดง(ปลง)อาบัติก็ไม่เป็นอันแสดง อาบัตินั้นยังสะสมอยู่ เมื่อต้องอาบัติ @ถุลลัจจัยเพราะล่วงละเมิดวัตถุอื่นๆ ก็เป็นการสะสมอาบัติเรื่อยไป พอเมื่อล่วงละเมิดครบวัตถุทั้ง ๘ ต้อง @อาบัติปาราชิก แต่ถ้าภิกษุณีนั้นล่วงละเมิดวัตถุใดวัตถุหนึ่งแล้ว คิดสลัดทิ้งไปว่า “บัดนี้เราจักไม่ต้องอาบัติ” @แล้วแสดง(ปลง)อาบัติ อาบัติถุลลัจจัยนั้นย่อมตกไป ไม่สะสมอยู่ แม้จะล่วงละเมิดวัตถุอื่นๆ อีกจนครบ @ทั้ง ๘ ก็ไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเธอทำการสลัดทิ้งโดยแสดง(ปลง)อาบัติทุกครั้งที่ล่วงละเมิดวัตถุแต่ละ @อย่าง (วิ.อ. ๒/๖๗๖/๔๖๘, กงฺขา.อ. ๓๔๕-๓๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

บทสรุป

๓. ภิกษุณีผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุณีผู้ไม่ยินดี ๕. ภิกษุณีวิกลจริต ๖. ภิกษุณีจิตฟุ้งซ่าน ๗. ภิกษุณีกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๘. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท๑- ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแต่ ละข้อๆ ซึ่งภิกษุณีต้องเข้าแล้วย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลายไม่ได้ เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เหมือนเมื่อก่อนบวช ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบทนั้นว่า “แม่เจ้า ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้นจึง นิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ปาราชิกกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปาราชิกของภิกษุณีที่เหลืออีก ๔ สิกขาบท มีเนื้อความเหมือนกันกับปาราชิก ๔ สิกขาบทของภิกษุ ฉะนั้น @จึงรวมเป็น ๘ สิกขาบท (ดูวินัยปิฎกแปล เล่ม ๑/๔๔/๓๒, ๙๑/๘๐, ๑๗๑/๑๔๐-๑๔๑, ๑๙๗/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๓-๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=3&A=589&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=4              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=325&Z=401&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=26              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=26&items=5              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=26&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]