ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยวัตถุ ๘ มีการยินดีการจับมือของชายเป็นต้น
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๖๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กำหนัด ยินดีการจับมือบ้าง ยินดีการที่ชายผู้กำหนัดจับมุมสังฆาฏิบ้าง ยืนเคียงคู่กันกับ ชายบ้าง สนทนากันบ้าง ไปที่นัดหมายบ้าง ยินดีการที่ชายมาหาบ้าง เดินตาม เข้าไปสู่ที่ลับบ้าง น้อมกายเข้าไปเพื่อคลุกคลีกันด้วยกายนั้นเพื่อจะเสพอสัทธรรม นั้น๑- กับชายผู้กำหนัดบ้าง บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงกำหนัดยินดีการจับมือบ้าง ยินดีการที่ชายผู้กำหนัดจับมุม สังฆาฏิบ้าง ยืนเคียงคู่กันกับชายบ้าง สนทนากันบ้าง ไปที่นัดหมายบ้าง ยินดี การที่ชายมาหาบ้าง เดินตามเข้าไปสู่ที่ลับบ้าง น้อมกายเข้าไปเพื่อคลุกคลีกันด้วย กายนั้นเพื่อจะเสพอสัทธรรมกับชายผู้กำหนัดบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กำหนัด ยินดีการจับมือบ้าง ยินดีการที่ชายผู้กำหนัดจับมุมสังฆาฏิบ้าง ยืนเคียงคู่กันกับ ชายบ้าง สนทนากันบ้าง ไปที่นัดหมายบ้าง ยินดีการที่ชายมาหาบ้าง เดินตาม เข้าไปสู่ที่ลับบ้าง น้อมกายเข้าไปเพื่อคลุกคลีกันด้วยกายนั้นเพื่อจะเสพอสัทธรรม @เชิงอรรถ : @ คือประสงค์จะถูกต้องกายกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๐}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

กับชายผู้กำหนัดบ้าง จริงหรือ” พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ มีความกำหนัดยินดีการจับมือบ้าง ยินดีการที่ชายผู้กำหนัดจับมุมสังฆาฏิบ้าง ยืน เคียงคู่กันกับชายบ้าง สนทนากันบ้าง ไปที่นัดหมายบ้าง ยินดีการที่ชายมาหาบ้าง เดินตามเข้าไปสู่ที่ลับบ้าง น้อมกายเข้าไปเพื่อคลุกคลีกันด้วยกายนั้นเพื่อจะเสพ อสัทธรรมกับชายผู้กำหนัดบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๗๕] ก็ภิกษุณีใดกำหนัดพึงยินดีการจับมือ ยินดีการที่ชายผู้กำหนัดจับ มุมสังฆาฏิ ยืนเคียงคู่กันกับชาย สนทนากัน ไปที่นัดหมาย ยินดีการที่ชาย มาหา เดินตามเข้าไปสู่ที่ลับ หรือน้อมกายเข้าไปเพื่อคลุกคลีกันด้วยกายนั้น เพื่อจะเสพอสัทธรรม๑- นั้นกับชายผู้กำหนัด แม้ภิกษุณีนี้เป็นปาราชิกชื่อ อัฏฐวัตถุกา๒- หาสังวาสมิได้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๗๖] คำว่า ก็ ... ใด คือผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ @เชิงอรรถ : @ “อสัทธรรม” ในที่นี้หมายถึงการถูกต้องกันทางกาย ไม่ใช่เมถุนธรรม (วิ.อ. ๒/๖๗๕/๔๖๗) @ คำว่า “อัฏฐวัตถุกา” แปลว่า วัตถุ เหตุ หรือกรณี ๘ อย่าง เป็นชื่อเรียกภิกษุณีผู้ต้องอาบัติปาราชิก @สิกขาบทนี้ เมื่อทำครบ ๘ อย่าง คือ (๑) ยินดีการจับมือ (๒) ยินดีการจับมุมสังฆาฏิ (๓) ยืนเคียงคู่ @(๔) สนทนากัน (๕) ไปที่นัดหมาย (๖) ยินดีที่เขามาหา (๗) เดินตามเข้าไปสู่ที่ลับ (๘) น้อมกาย @เข้าเพื่อจะเสพอสัทธรรมกับชายผู้กำหนัด (วิ.อ. ๒/๖๗๖/๔๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า กำหนัด ได้แก่ ภิกษุณีมีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด ได้แก่ ชายมีความยินดี เพ่งเล็ง มีจิตรักใคร่ ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ แต่เป็นชายที่รู้เดียงสา สามารถถูกต้องกายได้ คำว่า ยินดีการจับมือ ความว่า ที่ชื่อว่า มือ หมายเอาตั้งแต่ข้อศอกถึงปลาย เล็บ ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะบริเวณเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา เพื่อจะเสพ อสัทธรรมนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า ยินดีการ...จับมุมสังฆาฏิ คือ ยินดีการจับผ้านุ่งหรือผ้าห่มเพื่อจะ เสพอสัทธรรมนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า ยืนเคียงคู่กัน คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนของชายเพื่อจะเสพอสัทธรรม นั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า สนทนากัน คือ ยืนสนทนาอยู่ในระยะช่วงแขนของชายเพื่อจะเสพ อสัทธรรมนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า ไปที่นัดหมาย ความว่า ภิกษุณีที่ชายสั่งว่า “จงมายังที่ชื่อนี้” แล้ว ไปเพื่อจะเสพอสัทธรรมนั้น ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ ย่างเท้า พอย่างเข้าระยะช่วง แขนของชาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า ยินดีการที่ชายมาหา ความว่า ยินดีการที่ชายมาเพื่อจะเสพอสัทธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ พอย่างเข้าระยะช่วงแขน ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า เดินตามเข้าไปสู่ที่ลับ ความว่า พอย่างเข้าสถานที่ที่ปกปิดด้วยวัตถุอย่างใด อย่างหนึ่งเพื่อจะเสพอสัทธรรมนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า หรือน้อมกายเข้าไปเพื่อคลุกคลีกันด้วยกายนั้น ความว่า อยู่ในระยะ ช่วงแขนของชาย น้อมกายเข้าไปเพื่อจะเสพอสัทธรรมนั้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อนๆ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร

คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุณีเมื่อทำวัตถุครบทั้ง ๘ ประการย่อม ไม่เป็นสมณะหญิง ไม่เป็นเชื้อสายศากยธิดา๑- เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วนที่ไม่ อาจงอกได้ต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับ ภิกษุณีรูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๗๗] ๑. ภิกษุณีไม่จงใจ ๒. ภิกษุณีไม่มีสติ @เชิงอรรถ : @ เมื่อภิกษุณีล่วงละเมิดแต่ละวัตถุ ต้องอาบัติเล็กน้อยดังนี้ @๑. ในขณะที่เดินทางไปที่นัดหมาย ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ ย่างก้าว พอก้าวเข้าสู่ @หัตถบาส(ระยะช่วงแขน)ของชาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย @๒. ยินดีการที่ชายมา ต้องอาบัติทุกกฏ พอชายก้าวเข้าสู่หัตถบาส ต้องอาบัติถุลลัจจัย @ส่วนวัตถุที่เหลืออีก ๖ คือ @๑. ยินดีการจับมือ ๒. ยินดีการจับมุมสังฆาฏิ @๓. ยืนเคียงคู่กัน ๔. สนทนากัน @๕. ตามเข้าไปสู่ที่ลับ ๖. น้อมกายเข้าไปเพื่อจะเสพอสัทธรรม @ปรับอาบัติถุลลัจจัยเท่านั้นสำหรับแต่ละวัตถุ @ภิกษุณีต้องอาบัติถุลลัจจัยเพราะล่วงละเมิดแต่ละวัตถุแล้ว ไม่คิดจะสลัดทิ้ง โดยคิดว่า “เราจะต้อง @อาบัติแม้เพราะวัตถุอื่นอีก” แม้จะแสดง(ปลง)อาบัติก็ไม่เป็นอันแสดง อาบัตินั้นยังสะสมอยู่ เมื่อต้องอาบัติ @ถุลลัจจัยเพราะล่วงละเมิดวัตถุอื่นๆ ก็เป็นการสะสมอาบัติเรื่อยไป พอเมื่อล่วงละเมิดครบวัตถุทั้ง ๘ ต้อง @อาบัติปาราชิก แต่ถ้าภิกษุณีนั้นล่วงละเมิดวัตถุใดวัตถุหนึ่งแล้ว คิดสลัดทิ้งไปว่า “บัดนี้เราจักไม่ต้องอาบัติ” @แล้วแสดง(ปลง)อาบัติ อาบัติถุลลัจจัยนั้นย่อมตกไป ไม่สะสมอยู่ แม้จะล่วงละเมิดวัตถุอื่นๆ อีกจนครบ @ทั้ง ๘ ก็ไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเธอทำการสลัดทิ้งโดยแสดง(ปลง)อาบัติทุกครั้งที่ล่วงละเมิดวัตถุแต่ละ @อย่าง (วิ.อ. ๒/๖๗๖/๔๖๘, กงฺขา.อ. ๓๔๕-๓๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

บทสรุป

๓. ภิกษุณีผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุณีผู้ไม่ยินดี ๕. ภิกษุณีวิกลจริต ๖. ภิกษุณีจิตฟุ้งซ่าน ๗. ภิกษุณีกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ๘. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบท๑- ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแต่ ละข้อๆ ซึ่งภิกษุณีต้องเข้าแล้วย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลายไม่ได้ เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เหมือนเมื่อก่อนบวช ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบทนั้นว่า “แม่เจ้า ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาราชิก ๘ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้นจึง นิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ปาราชิกกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ
@เชิงอรรถ : @ ปาราชิกของภิกษุณีที่เหลืออีก ๔ สิกขาบท มีเนื้อความเหมือนกันกับปาราชิก ๔ สิกขาบทของภิกษุ ฉะนั้น @จึงรวมเป็น ๘ สิกขาบท (ดูวินัยปิฎกแปล เล่ม ๑/๔๔/๓๒, ๙๑/๘๐, ๑๗๑/๑๔๐-๑๔๑, ๑๙๗/๑๘๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๐-๒๔. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=4              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=325&Z=401                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=26              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=26&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10810              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=26&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10810                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.026 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj8/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pj8/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :