ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังพยาบาท เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะระวังกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นแห่งอินทรีย์ ๕ ให้หมดจด พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นเครื่องชำระศีลที่เป็นเบื้องต้นให้หมดจด อย่างนี้ (๒)
(๓) อธิมัตตัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะมีประมาณยิ่ง
[๒๐๑] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่ง เป็นอย่างไร คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึง เกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์ จึงมีประมาณยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

จิตตั้งมั่นอย่างนั้นแล้วย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่างๆ ด้วยอำนาจ ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมี ประมาณยิ่ง เพราะหลีกออกแล้ว ฉะนั้น บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจ ความสละ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ ๑. ความสละด้วยการบริจาค ๒. ความสละด้วยความแล่นไป ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ ความดับมี ๒ ประการนี้ เพราะละความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะ ความไม่มีศรัทธา ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสที่ตั้งอยู่รวมกันกับทิฏฐิ ฉันทะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

จึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่หยาบ ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสส่วนที่ละเอียด ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละกิเลสทั้งปวง ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจศรัทธา ด้วยอำนาจฉันทะ สัทธินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะเจริญวิริยินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความเกียจคร้าน ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความเกียจคร้าน ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะเจริญสตินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละความประมาท ฉันทะจึงเกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะความประมาท ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะเจริญสมาธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะละอุทธัจจะ ฉันทะจึง เกิดขึ้น เพราะละความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ เพราะเจริญปัญญินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปามุชชะ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปามุชชะ ปีติจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปีติ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปีติ ปัสสัทธิจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจปัสสัทธิ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจปัสสัทธิ สุขจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจสุข ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจสุข โอภาสจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจโอภาส ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจโอภาส ความสังเวชจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความสังเวช ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตสังเวชแล้วย่อมตั้งมั่น ด้วยอำนาจสมาธิ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์ จึงมีประมาณยิ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

จิตตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ย่อมประคองไว้ดี ด้วยอำนาจการประคองไว้ ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง จิตที่ประคองไว้แล้วอย่างนั้นย่อมวางเฉยดี ด้วยอำนาจอุเบกขา ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ด้วยอำนาจอุเบกขา จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสที่มีสภาวะต่างๆ ด้วยอำนาจ ความหลุดพ้น ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เพราะมี ความหมายว่าธรรมทั้งหลายมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยอำนาจภาวนา ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะเป็นธรรมที่เจริญแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงหลีกออกจากธรรมนั้นไปสู่ธรรม ที่ประณีตกว่า ด้วยอำนาจความหลีกออก ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมี ประมาณยิ่ง เพราะหลีกออกแล้ว บุคคลจึงสละ(กิเลสและขันธ์)ได้ ด้วยอำนาจความสละ ด้วยอำนาจปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง เพราะสละแล้ว ฉะนั้น กิเลสและขันธ์จึงดับ ด้วยอำนาจความดับ ด้วยอำนาจ ปัญญา ปัญญินทรีย์จึงมีประมาณยิ่ง ความสละด้วยอำนาจความดับมี ๒ ประการ คือ ๑. ความสละด้วยการบริจาค ๒. ความสละด้วยความแล่นไป ชื่อว่าความสละด้วยการบริจาค เพราะสละกิเลสและขันธ์ ชื่อว่าความสละด้วย ความแล่นไป เพราะจิตแล่นไปในนิพพานธาตุที่เป็นความดับ ความสละด้วยอำนาจ ความดับมี ๒ ประการนี้ พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะมีประมาณยิ่งอย่างนี้
ทุติยภาณวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

(๔) อธิฏฐานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะตั้งมั่น
[๒๐๒] พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นอย่างไร คือ เพราะเจริญสัทธินทรีย์ ฉันทะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจฉันทะ ด้วยอำนาจ ศรัทธา สัทธินทรีย์จึงตั้งมั่น ด้วยอำนาจฉันทะ ปามุชชะจึงเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ ปามุชชะ ด้วยอำนาจศรัทธา สัทธินทรีย์ย่อมตั้งมั่น ฯลฯ๑- พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นอย่างนี้
(๕) ปริยาทานัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะทำให้สิ้นไป
พึงเห็นอินทรีย์เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไป เป็นอย่างไร
คือ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์จึงทำความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อนเพราะความไม่มีศรัทธาให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะประคองไว้ วิริยินทรีย์จึงทำความเกียจคร้านให้สิ้นไป ทำความ เร่าร้อนเพราะความเกียจคร้านให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะตั้งมั่น สตินทรีย์จึงทำความประมาทให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน เพราะความประมาทให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน สมาธินทรีย์จึงทำอุทธัจจะให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน เพราะอุทธัจจะให้สิ้นไป เพราะมีสภาวะเห็น ปัญญินทรีย์จึงทำอวิชชาให้สิ้นไป ทำความเร่าร้อน เพราะอวิชชาให้สิ้นไป อินทรีย์ ๕ ในเนกขัมมะ ทำกามฉันทะให้สิ้นไป @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๒๐๑ หน้า ๓๒๖-๓๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๔. จตุตถสุตตันตนิทเทส

อินทรีย์ ๕ ในอพยาบาท ทำพยาบาทให้สิ้นไป อินทรีย์ ๕ ในอาโลกสัญญา ทำถีนมิทธะให้สิ้นไป อินทรีย์ ๕ ในอวิกเขปะ ทำอุทธัจจะให้สิ้นไป ฯลฯ๑- อินทรีย์ ๕ ในอรหัตตมรรค ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไป พึงเห็นอินทรีย์ ๕ เพราะมีสภาวะทำให้สิ้นไปอย่างนี้
(๖) ปติฏฐาปกัฏฐนิทเทส
แสดงสภาวะให้ตั้งอยู่
[๒๐๓] พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่ เป็นอย่างไร คือ ผู้มีศรัทธาให้สัทธินทรีย์ตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ สัทธินทรีย์ของผู้มี ศรัทธาให้ผู้มีศรัทธาตั้งอยู่ในความน้อมใจเชื่อ ผู้มีความเพียรให้วิริยินทรีย์ตั้งอยู่ในการประคองไว้ วิริยินทรีย์ของผู้มีความ เพียรให้ผู้มีความเพียรตั้งอยู่ในการประคองไว้ ผู้มีสติให้สตินทรีย์ตั้งอยู่ในความตั้งมั่น สตินทรีย์ของผู้มีสติให้ผู้มีสติตั้งอยู่ใน ความตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นให้สมาธินทรีย์ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ สมาธินทรีย์ของผู้มีจิตตั้งมั่นให้ผู้ มีจิตตั้งมั่นตั้งอยู่ในอวิกเขปะ ผู้มีปัญญาให้ปัญญินทรีย์ตั้งอยู่ในความเห็น ปัญญินทรีย์ของผู้มีปัญญาให้ผู้มี ปัญญาตั้งอยู่ในความเห็น พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในเนกขัมมะ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอพยาบาท อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอพยาบาท พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอาโลกสัญญา พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอวิกเขปะ อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอวิกเขปะ ฯลฯ๑- พระโยคาวจรให้อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค อินทรีย์ ๕ ของพระโยคาวจร ให้พระโยคาวจรตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค พึงเห็นอินทรีย์ เพราะมีสภาวะให้ตั้งอยู่อย่างนี้
สุตตันตนิทเทสที่ ๔ จบ
๕. อินทริยสโมธาน
ว่าด้วยการประชุมอินทรีย์
[๒๐๔] ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร คือ ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง พระ เสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ท่านผู้ปราศจาก ราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่าง อะไรบ้าง คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ปุถุชน ๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มองค์ธรรมในข้อ ๑๙๒-๑๙๓ หน้า ๓๐๗-๓๐๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส ๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ ๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ปุถุชนเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๗ อย่างนี้ พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง อะไรบ้าง คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว พระเสขะ ๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ๒. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ๔. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งโอภาส ๖. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสัมปหังสนะ ๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว พระเสขะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้ ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ท่านผู้ปราศจากราคะ ๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ ฯลฯ ๘. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญสมาธิ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ [๒๐๕] ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร เป็นผู้ ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ เท่าไร เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการเท่าไร คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่าง อะไรบ้าง คือ ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา ๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง ๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นอัตตา ๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ๑๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ๑๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความแปรผัน ๑๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความยั่งยืน ๑๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต ๑๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต ๑๕. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ (ที่ตั้ง) ๑๖. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ ๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ (ความว่าง) ๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส (ความยึดมั่น) ปุถุชนเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ เป็น ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ [๒๐๖] พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง อะไรบ้าง คือ พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา ๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง ๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ ๑๗. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ ๑๘. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส ๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

พระเสขะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๐ อย่างนี้ ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วย อาการ ๑๒ อย่าง อะไรบ้าง เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา ๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เที่ยง ๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ ๑๙. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ๒๐. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ ๒๑. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่เกี่ยวข้อง ๒๒. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเกี่ยวข้อง ๒๓. เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความดับ ๒๔. เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ในสังขาร ท่านผู้ปราศจากราคะเมื่อเจริญวิปัสสนา เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ เพราะน้อมนึกถึงแล้ว ภิกษุให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ด้วยอำนาจความ เป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอารมณ์ รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็น ประโยชน์ ฯลฯ๑- ให้ธรรมทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมีความ สงบเป็นประโยชน์ คำว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อธิบายว่า ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง อย่างไร คือ ให้สัทธินทรีย์ประชุมลง เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ให้อินทรีย์ทั้งหลาย ประชุมลง ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสมถนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มข้อ ๑๖๘ หน้า ๒๖๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งปัคคหนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด ในความตั้งไว้ซึ่งอวิกเขปะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง สัมปหังสนะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งอุเบกขา ฯลฯ ด้วย อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งสภาวะเดียว ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น ผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งจิต (ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดย ความไม่เที่ยง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเที่ยง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ ด้วยอำนาจ ความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นสุข ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาด ในความตั้งไว้โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความสิ้นไป ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความเป็นก้อน ฯลฯ ด้วย อำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยความเสื่อมไป ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็น ผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยความประมวลมา ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน ความตั้งไว้โดยความแปรผัน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ โดยความยั่งยืน ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยอนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยนิมิต ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ ฉลาดในความตั้งไว้โดยความไม่มีปณิหิตะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน ความไม่ตั้งไว้โดยปณิธิ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้โดยสุญญตะ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้โดยอภินิเวส ฯลฯ ด้วยอำนาจ ความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่งญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดใน ความไม่ตั้งไว้ซึ่งสิ่งที่มิใช่ญาณ ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ความไม่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งความเกี่ยวข้อง ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

(ให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง) ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความตั้งไว้ซึ่ง ความดับ ภิกษุย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง รู้ชัดโคจร และรู้แจ้งธรรมอันมี ความสงบเป็นประโยชน์ (ด้วยอำนาจความเป็นผู้ฉลาดในความไม่ตั้งไว้ซึ่งสังขาร) [๒๐๗] ปัญญาที่มีความชำนาญในอินทรีย์ ๓ ประการ โดยอาการ ๖๔ ชื่อว่าอาสวักขยญาณ๑- อินทรีย์ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๒. อัญญินทรีย์ ๓. อัญญาตาวินทรีย์ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ เท่าไร อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะเท่าไร คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ โสดาปัตติมรรค อัญญินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๖ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อัญญาตาวินทรีย์ ย่อมถึงฐานะ ๑ คือ อรหัตตผล ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมี ความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร มีวิริยินทรีย์ซึ่งมีการประคองไว้เป็นบริวาร มีสตินทรีย์ ซึ่งมีความตั้งมั่นเป็นบริวาร มีสมาธินทรีย์ซึ่งมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร มีปัญญินทรีย์ซึ่งมีความเห็นเป็นบริวาร มีมนินทรีย์ซึ่งมีความรู้แจ้งเป็นบริวาร มีโสมนัสสินทรีย์ซึ่งมีความยินดีเป็นบริวาร มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความ สืบต่อที่กำลังเป็นไป เป็นบริวาร @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๑๐๗ หน้า ๑๖๕ ในอาสวักขยญาณนิทเทสในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดเป็นกุศล ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นธรรมเครื่องนำออก ทั้งหมดเป็น เครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมที่อาศัยกันและกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบร่วมกันเป็นบริวาร ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบร่วมกัน ธรรมเหล่านั้นเป็นอาการและเป็นบริวารของ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ฯลฯ ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็น บริวาร ฯลฯ มีชีวิตินทรีย์ซึ่งมีความเป็นใหญ่ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะแห่งอรหัตตผล ยกเว้นรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต ทั้งหมดไม่มีอาสวะ ทั้งหมดเป็นโลกุตตระ ทั้งหมดมีนิพพาน เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งอรหัตตผล อัญญาตาวินทรีย์มีอินทรีย์ ๘ ประการนี้ ซึ่งมีสหชาต ธรรมเป็นบริวาร ธรรมเหล่านี้เป็นอาการและเป็นบริวารของอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ รวม ๘ หมวดนี้ จึงเป็นอาการ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้ คำว่า อาสวะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อะไรบ้าง คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะเหล่านั้นย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน คือ ทิฏฐาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค กามาสวะซึ่งเป็นเหตุให้ สัตว์ไปสู่อบาย ภวาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย อวิชชาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่ง โสดาปัตติมรรคนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

กามาสวะส่วนหยาบย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิ- มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ กามาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับ กามาสวะนั้น อวิชชาสวะซึ่งตั้งอยู่ร่วมกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิ- มรรค อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ภวาสวะทั้งสิ้น อวิชชาสวะทั้งสิ้นย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตตมรรค อาสวะเหล่านี้ ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคนี้ [๒๐๘] สิ่งไรๆ ในไตรโลกธาตุนี้ พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้นไม่ทรงเห็น ไม่มีเลย อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้ พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่ พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ๑- คำว่า สมันตจักขุ อธิบายว่า ชื่อว่าสมันตจักขุ เพราะมีความหมายว่าอย่างไร คือ พระพุทธญาณ ๑๔ ประการ ได้แก่ ๑. ญาณในทุกข์ ชื่อว่าพุทธญาณ ๒. ญาณในทุกขสมุทัย ชื่อว่าพุทธญาณ ฯลฯ ๑๓. สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ ๑๔. อนาวรณญาณ ชื่อว่าพุทธญาณ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๓๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘๕/๓๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

พระพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้แล บรรดาพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ ญาณ ๘ ประการเบื้องต้นเป็นญาณที่ทั่วไปแก่สาวก ส่วนญาณอีก ๖ ประการเบื้องปลาย เป็นญาณที่ไม่ทั่วไปแก่สาวก สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรง ทราบไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็น ปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะ ประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ สภาวะที่ทนได้ยากแห่งทุกข์พระตถาคตทรง เห็นแล้ว ทรงทราบแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอด ทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึง ชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุเป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะ น้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมีสภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะ ตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ สภาวะที่เป็นเหตุแห่งสมุทัย ฯลฯ สภาวะที่เป็นความดับแห่งนิโรธ ฯลฯ สภาวะที่เป็นทางแห่งมรรค ฯลฯ สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในอรรถแห่งอัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในธรรมแห่งธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ สภาวะแห่งปัญญาที่แตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ ญาณในความยิ่งและความหย่อนแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ฯลฯ ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ฯลฯ ญาณในพระมหากรุณาสมาบัติ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตรองตามด้วยใจ แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อม ทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงรู้แล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาตลอดทั้งหมด ที่ไม่ทรงถูกต้องแล้ว ด้วยพระปัญญาไม่มี เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่ามีพระสมันตจักขุ สมันตจักขุ เป็นปัญญินทรีย์ เป็นสัทธินทรีย์เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ เป็นวิริยินทรีย์เพราะมี สภาวะประคองไว้ เป็นสตินทรีย์เพราะมีสภาวะตั้งมั่น เป็นสมาธินทรีย์เพราะมี สภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ บุคคลเมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่า ตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ บุคคลเมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ ประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าประคองไว้ บุคคลเมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งสติมั่น บุคคลเมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อประคองไว้ ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่าตั้งใจมั่น บุคคลเมื่อรู้ชัด ชื่อว่าเชื่อ เมื่อเชื่อ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าประคองไว้ เมื่อ ประคองไว้ ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งสติมั่น เมื่อตั้งสติมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เมื่อรู้ชัด ชื่อว่าตั้งใจมั่น เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่ารู้ชัด เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะ ความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อ จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะ ความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงประคองไว้ เพราะความ เป็นผู้ประคองไว้จึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งสติมั่น เพราะความ เป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่น จึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจ มั่นจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งใจมั่น จึงตั้งสติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงตั้งใจมั่น เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงเชื่อ เพราะความเป็นผู้เชื่อจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ ชัดจึงประคองไว้ เพราะความเป็นผู้ประคองไว้จึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้ง สติมั่น เพราะความเป็นผู้ตั้งสติมั่นจึงรู้ชัด เพราะความเป็นผู้รู้ชัดจึงตั้งใจมั่น เพราะ ความเป็นผู้ตั้งใจมั่นจึงรู้ชัด พุทธจักขุชื่อว่าพุทธญาณ พุทธญาณชื่อว่าพุทธจักขุ เป็นเครื่องให้พระตถาคต ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวก มักไม่เห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย คำว่า มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย มีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีความเพียร ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีความเกียจคร้าน ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีสติหลงลืม ชื่อ ว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีใน ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก บุคคลผู้มีปัญญาดี ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่ามีกิเลสดุจธุลีในปัญญาจักษุมาก คำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มี อินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้มีอินทรีย์แก่กล้า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน คำว่า มีอาการดี มีอาการทราม อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้มีอาการทราม ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้มีอาการดี บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีอาการทราม คำว่า พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก อธิบายว่า บุคคลผู้มี ศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีความเพียร เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นผู้พึงสอน ให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ง่าย บุคคล ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก บุคคลผู้มีปัญญาดี เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้ง ได้ง่าย บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้พึงสอนให้รู้แจ้งได้ยาก คำว่า บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมักไม่เห็น ปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย อธิบายว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มักเห็นปรโลก และโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดย ความเป็นภัย ฯลฯ บุคคลผู้มีปัญญาดีเป็นผู้มักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทรามเป็นผู้มักไม่เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๔. อินทริยกถา ๕. อินทริยสโมธาน

คำว่า โลก อธิบายว่า ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก วิปัตติ- สัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์โลกทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑ โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก ๔ คือ อาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณัฏฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙ คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายตนะ ๑๒ โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ ๑- คำว่า โทษ อธิบายว่า กิเลสทั้งปวงเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวงเป็นโทษ อภิสังขาร ทั้งปวงเป็นโทษ กรรมที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวงเป็นโทษ สัญญาในโลกนี้และ ในโทษนี้ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เหมือนสัญญาในศัตรู ผู้เงื้อดาบเข้ามาจะฆ่า ปรากฏแล้ว ฉะนั้น๒- พระตถาคตทรงรู้ ทรงเห็น ทรงทราบ ทรงรู้แจ้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ด้วยอาการ ๕๐ อย่างนี้
ตติยภาณวาร จบ
อินทริยกถา จบ
@เชิงอรรถ : @ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๐๔/๓๕๕-๓๕๖ @ ดูเทียบข้อ ๑๑๒ หน้า ๑๗๒-๑๗๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๓๔๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๓๒๖-๓๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=31&A=9505&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=5200&Z=6185&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=423              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=423&items=46              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=423&items=46              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]