ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

หน้าที่ ๓๕๕-๓๕๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

คำว่า ทรงเป็นผู้กำจัดความมืด ในคำว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้กำจัด ความมืด มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงกำจัด คือ ทำให้ เบาบาง ลด บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะ ทิฏฐิ ความมืดเพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณอันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไป เพื่อนิพพาน รวมความว่า ทรงเป็นผู้กำจัดความมืด คำว่า พระพุทธเจ้า ได้แก่ พระผู้มีพระภาค ฯลฯ คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ๑- คำว่า มีสมันตจักขุ อธิบายว่า พระสัพพัญญุตญาณ ตรัสเรียกว่า สมันตจักขุ ฯลฯ พระตถาคต ชื่อว่ามีสมันตจักขุ ด้วยจักษุนั้น รวมความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้กำจัดความมืด มีสมันตจักขุ คำว่า ทรงถึงที่สุดโลก ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด อธิบายว่า คำว่า โลก อธิบายว่า โลก ๑ คือ ภวโลก๒- โลก ๒ คือ ภวโลกที่เป็นสมบัติและภวโลกที่เป็นวิบัติ โลก ๓ คือ เวทนา๓- ๓ โลก ๔ คือ อาหาร๔-@เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒/๔๖-๔๘ @ ภวโลก ได้แก่โลกคือภพ วิบากอันเป็นไปในภูมิทั้ง ๓ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @ เวทนา ๓ ได้แก่สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @ อาหาร ๔ ได้แก่ (๑) กพฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว (๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ (๓) มโนสัญ- @เจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา (๔) วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ ๑๙ @ประเภท (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @ผัสสะ เรียกว่าอาหารเพราะนำมาซึ่งเวทนา (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @มโนสัญเจตนา เรียกว่าอาหารเพราะนำมาซึ่งภพ ๓ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๕) @วิญญาณ เรียกว่าอาหารเพราะนำมาซึ่งนามรูป ในขณะปฏิสนธิ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค]

                                                                 ๗. ปารายนานุคีติคาถานิทเทส

โลก ๕ คืออุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะภายใน ๖ โลก ๗ คือวิญญาณัฏฐิติ๑- ๗ โลก ๘ คือโลกธรรม๒- ๘ โลก ๙ คือสัตตาวาส๓- ๙ โลก ๑๐ คืออายตนะ๔- ๑๐ โลก ๑๑ คือกามภพ๕- ๑๑ โลก ๑๒ คืออายตนะ๖- ๑๒ โลก ๑๘ คือธาตุ๗- ๑๘ คำว่า ทรงถึงที่สุดโลก อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุที่สุด ทรงถึงส่วนสุด ทรงบรรลุส่วนสุด ฯลฯ ทรงถึงที่ดับ ทรงบรรลุที่ดับแห่งโลก พระองค์ทรงอยู่ใน (อริยวาสธรรม) แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรมแล้ว ฯลฯ พระองค์ ไม่มีการเวียนเกิด เวียนตาย และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ทรงถึงที่สุดโลก คำว่า ทรงล่วงภพได้ทั้งหมด อธิบายว่า คำว่า ภพ ได้แก่ ภพ ๒ คือ (๑) กรรมภพ (๒) ภพใหม่อันมีในปฏิสนธิ @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘๓/๒๘๙-๒๙๐ @ โลกธรรม ๘ ได้แก่ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @ สัตตาวาส ๙ คือที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่วิญญาณัฏฐิติ ๗ อสัญญสัตตภูมิ ๑ และเนวสัญญานา- @สัญญายตนภูมิ ๑ รวมเป็น ๙ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @ อายตนะ ๑๐ ได้แก่ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @ กามภพ ๑๑ ได้แก่อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก ๑ สวรรค์ ๖ ชั้น (ขุ.ม.อ. ๑/๑๖) @ อายตนะ ๑๒ ได้แก่อายตนะ ๑๐ รวมใจและธรรมารมณ์จึงเป็น ๑๒ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) @ ธาตุ ๑๘ คือการกระจายธาตุแต่ละอย่างให้เป็น ๓ เช่น จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ จนถึงมโนธาตุ @ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (ขุ.จู.อ. ๑๐๔/๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๓๕๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๓๕๕-๓๕๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=355&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=30&A=10254 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=30&A=10254#p355 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 30 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_30 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu30 https://84000.org/tipitaka/english/?index_30



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕๕-๓๕๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]