ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๓. วัมมิกสูตร
ว่าด้วยจอมปลวกปริศนา
[๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน ครั้งนั้น เมื่อราตรี๑- ผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนักได้เปล่งรัศมี ให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระกุมารกัสสปะว่า “พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้ย่อมพ่นควันในเวลากลางคืน ย่อมลุกโพลงในเวลา กลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำศัสตราไปขุดดู’ สุเมธใช้ศัสตราไปขุดก็ได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำอึ่งขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ @เชิงอรรถ : @ ราตรี ในที่นี้หมายถึงปฐมยาม ความนี้มีความหมายว่า เมื่อสิ้นปฐมยามกำลังอยู่ในช่วงมัชฌิมยาม เทวดา @ก็ปรากฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๓. วัมมิกสูตร

สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นทางสองแพร่ง จึงกล่าวว่า ‘ทางสองแพร่ง ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงถากทางสองแพร่งออกเสีย แล้วใช้ ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงกล่าวว่า ‘หม้อกรองน้ำด่าง ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา แล้วใช้ ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเต่า จึงกล่าวว่า ‘เต่า ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำเต่าขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึงกล่าวว่า ‘เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตรา ขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงกล่าวว่า ‘ชิ้นเนื้อ ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงหยิบชิ้นเนื้อขึ้นมา แล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำความนอบน้อมนาค’ พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้ ท่านควรทรงจำคำเฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคลผู้ฟังจากสำนัก (ของข้าพเจ้า) นี้เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทำจิต(ของข้าพเจ้า) ให้ยินดี ด้วยการตอบปัญหาเหล่านี้ได้” เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๓. วัมมิกสูตร

พระกุมารกัสสปะทูลถามปริศนาธรรม
[๒๕๐] ครั้นคืนนั้นผ่านไป ท่านพระกุมารกัสสปะก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะ งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วป่าอันธวัน เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ยืน ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวกับข้าพระองค์ว่า ‘พระคุณเจ้า จอมปลวกนี้พ่นควันในเวลากลางคืน ลุกโพลงในเวลากลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงนำศัสตราไปขุดดู’ สุเมธใช้ศัสตราขุดลงไปได้เห็นลิ่มสลัก จึงกล่าวว่า ‘ลิ่มสลัก ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘สุเมธ เธอจงยกลิ่มสลักขึ้นแล้วใช้ศัสตราขุดต่อไป’ สุเมธใช้ศัสตราขุดต่อไปก็ได้เห็นอึ่ง จึงกล่าวว่า ‘อึ่ง ขอรับ’ ฯลฯ ได้เห็นนาค จึงกล่าวว่า ‘นาค ขอรับ’ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำความนอบน้อมนาค’ พระคุณเจ้า ท่านควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อนี้ ท่านควรทรงจำคำเฉลยปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเถิด ในโลก พร้อมทั้งเทวดาโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ยกเว้นพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต หรือบุคคลผู้ฟังจากสำนัก (ของข้าพเจ้า)นี้เสียแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่เห็นบุคคลผู้จะทำจิต(ของข้าพเจ้า)ให้ยินดีด้วย การตอบปัญหาเหล่านี้’ เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้แล้วก็อันตรธานไปจากที่นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ๑. อะไรหนอ ชื่อว่าจอมปลวก ๒. อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๓. วัมมิกสูตร

๓. อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน ๔. ใคร ชื่อว่าพราหมณ์ ๕. ใคร ชื่อว่าสุเมธ ๖. อะไร ชื่อว่าศัสตรา ๗. อย่างไร ชื่อว่าการขุด ๘. อะไร ชื่อว่าลิ่มสลัก ๙. อะไร ชื่อว่าอึ่ง ๑๐. อะไร ชื่อว่าทางสองแพร่ง ๑๑. อะไร ชื่อว่าหม้อกรองน้ำด่าง ๑๒. อะไร ชื่อว่าเต่า ๑๓. อะไร ชื่อว่าเขียงหั่นเนื้อ ๑๔. อะไร ชื่อว่าชิ้นเนื้อ ๑๕. อะไร ชื่อว่านาค”
พระผู้มีพระภาคทรงเฉลยปริศนาธรรม
[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ๑. คำว่า จอมปลวก นั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วย มหาภูตรูปทั้ง ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เติบโตด้วยข้าวสุก และขนมกุมมาส ไม่เที่ยง ต้องบริหาร ต้องนวดฟั้น จะต้องแตก สลาย และกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา ๒. คำว่า อย่างไร ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน นั้น ได้แก่ การที่บุคคลทำการงานในเวลากลางวัน แล้วตรึกตรองถึงในเวลา กลางคืน นี้ชื่อว่าการพ่นควันในเวลากลางคืน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๓. วัมมิกสูตร

๓. คำว่า อย่างไร ชื่อว่าการลุกโพลงในเวลากลางวัน นั้น ได้แก่ การที่บุคคลตรึกตรองถึงบ่อยๆ ในเวลากลางคืน แล้วประกอบ การงานในเวลากลางวัน ด้วยกายและวาจา นี้ชื่อว่าการลุกโพลงใน เวลากลางวัน ๔. คำว่า พราหมณ์ นั้น เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๕. คำว่า สุเมธ นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นเสขะ ๖. คำว่า ศัสตรา นั้น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันประเสริฐ ๗. คำว่า จงขุด นั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร ๘. คำว่า ลิ่มสลัก นั้น เป็นชื่อแห่งอวิชชา คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกลิ่มสลักขึ้น คือ จงละอวิชชา จงขุดขึ้นมา’ ๙. คำว่า อึ่ง นั้น เป็นชื่อของความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานำอึ่งขึ้นมา คือ จงละ ความคับแค้นใจเนื่องมาจากความโกรธ จงขุดขึ้นมา’ ๑๐. คำว่า ทางสองแพร่ง นั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราถากทางสองแพร่ง คือ จงละวิจิกิจฉา จง ขุดขึ้นมา’ ๑๑. คำว่า หม้อกรองน้ำด่าง นั้น เป็นชื่อแห่งนิวรณ์ ๕ ประการ คือ กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความพอใจในกาม) พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความขัดเคืองใจ) ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความหดหู่และเซื่องซึม) อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งที่กั้นจิตคือความลังเลสงสัย) คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นมา คือ จงละนิวรณ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๓. วัมมิกสูตร

๑๒. คำว่า เต่า นั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทานขันธ์๑- ๕ ประการ คือ รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรานำเต่าขึ้นมา คือ จงละ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’ ๑๓. คำว่า เขียงหั่นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ประการ คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตรายกเขียงหั่นเนื้อขึ้นมา คือ จงละกามคุณ ๕ ประการ จงขุดขึ้นมา’ ๑๔. คำว่า ชิ้นเนื้อ นั้น เป็นชื่อแห่งนันทิราคะ(ความกำหนัดด้วยอำนาจ ความเพลิดเพลิน) คำนั้นมีอธิบายว่า ‘สุเมธ เธอจงใช้ศัสตราหยิบ ชิ้นเนื้อขึ้นมา คือ จงละนันทิราคะ จงขุดขึ้นมา’ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๑ (สัมมาทิฏฐิสูตร) หน้า ๘๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

๑๕. คำว่า นาค นั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้เป็นขีณาสพ คำนั้นมีอธิบายว่า ‘นาคจงดำรงอยู่เถิด เธออย่าเบียดเบียนนาคเลย เธอจงทำความ นอบน้อมนาค” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระกุมารกัสสปะมีใจยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
วัมมิกสูตรที่ ๓ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๖๗-๒๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=23              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4846&Z=4937                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=289&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=694              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=289&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=694                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i289-e1.php# https://suttacentral.net/mn23/en/sujato https://suttacentral.net/mn23/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :