ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
ว่าด้วยการเชื้อเชิญของพรหม
[๕๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระ ภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคนต้นสาละใหญ่ในสุภควัน ใกล้เมือง อุกกัฏฐา ในสมัยนั้น พกพรหมมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า ‘พรหมสถาน๑- นี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนไปเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แลเหตุเครื่องสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง นอก จากพรหมสถานนี้ไม่มี’ ครั้งนั้น เรารู้ความคิดคำนึงของพกพรหมด้วยใจแล้ว จึง อันตรธานจากโคนต้นสาละใหญ่ในสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออก หรือคู้แขนเข้าฉะนั้น พกพรหมได้เห็น เราผู้มาแต่ไกล แล้วได้กล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเสด็จมาเถิด ขอรับเสด็จ ท่านได้พูดว่า ‘จะมาที่นี้นานมาแล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ พรหมสถานนี้ เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนไปเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แลการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง นอกจากพรหม- สถานนี้ไม่มี’ @เชิงอรรถ : @ พรหมสถาน หมายถึงพกพรหมมีความเห็นว่า พรหมสถานพร้อมทั้งร่างกายเป็นภาวะที่เที่ยง @(ม.มู.อ. ๒/๕๐๑/๓๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับพกพรหมว่า ‘พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ในอำนาจอวิชชาแล้วหนอ พกพรหมผู้เจริญตกอยู่ใน อำนาจอวิชชาแล้วหนอ เพราะว่าพกพรหมกล่าวสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า ‘เที่ยง’ กล่าวสิ่ง ที่ไม่ยั่งยืนว่า ‘ยั่งยืน’ กล่าวสิ่งที่ไม่มั่นคงว่า ‘มั่นคง’ กล่าวสิ่งที่ไม่แข็งแรงว่า ‘แข็งแรง’ กล่าวสิ่งที่มีความเคลื่อนไปเป็นธรรมดาว่า ‘มีความไม่เคลื่อนไปเป็นธรรมดา’ ก็แลสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ และอุบัติอยู่ในพรหมสถานใด พกพรหมกล่าว พรหมสถานนั้นว่า ‘พรหมสถานนี้ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และ กล่าวการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งมีอยู่ว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง อื่นไม่มี’
มารเข้าสิงกายพรหม
[๕๐๒] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารใจบาปเข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะผู้หนึ่ง แล้วกล่าวกับเราว่า ‘ภิกษุ ภิกษุ อย่ารุกรานพกพรหมนี้เลย อย่ารุกรานพกพรหม นี้เลย เพราะว่าพรหมผู้นี้เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ คณะพรหมฝ่าฝืนไม่ได้ โดยที่แท้ เป็นผู้รู้ทั่วไป ยังสรรพสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้างโลก นิรมิตโลก เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้แต่งสัตว์ เป็นผู้ใช้อำนาจ เป็นบิดาของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว และที่กำลังจะเกิด สมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้ติเตียนดิน เกลียดดิน เป็นผู้ ติเตียนน้ำ เกลียดน้ำ เป็นผู้ติเตียนไฟ เกลียดไฟ เป็นผู้ติเตียนลม เกลียดลม เป็นผู้ติเตียนสัตว์ เกลียดสัตว์ เป็นผู้ติเตียนเทวดา เกลียดเทวดา เป็นผู้ติเตียน ปชาบดี เกลียดปชาบดี เป็นผู้ติเตียนพรหม เกลียดพรหมในโลก หลังจากตายแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะไปเกิดในพวกที่เลว ส่วนสมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน เป็นผู้สรรเสริญดิน ชมเชยดิน เป็นผู้ สรรเสริญน้ำ ชมเชยน้ำ เป็นผู้สรรเสริญไฟ ชมเชยไฟ เป็นผู้สรรเสริญลม ชมเชยลม เป็นผู้สรรเสริญสัตว์ ชมเชยสัตว์ เป็นผู้สรรเสริญเทวดา ชมเชยเทวดา เป็นผู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

สรรเสริญปชาบดี ชมเชยปชาบดี เป็นผู้สรรเสริญพรหม ชมเชยพรหม หลังจาก ตายแล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น จะไปเกิดในพวกที่ดี เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกกับท่านว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำ ตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่าฝืนคำของพรหมเลย ถ้าท่านจัก ฝ่าฝืนคำของพรหม โทษจักมีแก่ท่าน เปรียบเหมือนบุรุษเอาท่อนไม้ไล่ตีสิริที่มาหา หรือเปรียบเหมือนบุรุษผู้ตกเหวลึก ชักมือ และเท้าให้ห่างแผ่นดินเสียฉะนั้น ท่าน ผู้นิรทุกข์ เชิญเถิด ท่านจงทำตามคำที่พรหมบอกแก่ท่านเท่านั้น ท่านจงอย่าฝ่า ฝืนคำของพรหมเลย ภิกษุ ท่านเห็นพรหมบริษัทประชุมกันแล้วมิใช่หรือ’ มารใจ บาปเปรียบเรากับพรหมบริษัทนี้ ดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับมารผู้ใจบาปนั้นว่า ‘มารผู้ใจบาป เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า ‘พระสมณะไม่รู้จักเรา’ ท่านเป็นมาร พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหมปาริสัชชะก็ดี ทั้งหมดนั้นอยู่ในมือของท่าน ตกอยู่ในอำนาจของท่าน และท่านก็มีความดำริว่า ‘แม้พระสมณะก็ต้องอยู่ในมือ ของเรา ต้องอยู่ในอำนาจของเรา’ แต่ว่า เราไม่ได้อยู่ในมือของท่าน ไม่ได้ตกอยู่ ในอำนาจของท่านเลย’
พกพรหมหายไปจากพระผู้มีพระภาค
[๕๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พกพรหมได้กล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ เรากล่าวสิ่งที่เที่ยงว่า ‘เที่ยง’ กล่าวสิ่งที่มั่นคงว่า ‘มั่นคง’ กล่าว สิ่งที่ยั่งยืนว่า ‘ยั่งยืน’ กล่าวสิ่งที่แข็งแรงว่า ‘แข็งแรง’ กล่าวสิ่งที่ไม่มีความเคลื่อน เป็นธรรมดาว่า ‘ไม่มีความเคลื่อนเป็นธรรมดา’ ก็แลสัตว์ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติในพรหมสถานใด เรากล่าวถึงพรหมสถานนั้นว่า ‘พรหมสถานนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ และกล่าวการสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่ง อื่นซึ่งไม่มีว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มี’ สมณพราหมณ์พวกก่อนท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๓๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

ได้มีแล้วในโลก อายุของท่านทั้งสิ้นมีประมาณเท่าใด กรรมที่ทำด้วยตบะของสมณ- พราหมณ์เหล่านั้นก็มีประมาณเท่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้น จะพึงรู้การสลัด ออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งมีว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นมี’ หรือจะพึงรู้ การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นซึ่งไม่มีว่า ‘การสลัดออกจากทุกข์อย่างยิ่งอื่นไม่มี’ เพราะเหตุนั้นเราจึงกล่าวกับท่านอย่างนี้ว่า ‘ท่านจักไม่เห็นการสลัดออกจากทุกข์ อย่างยิ่งอื่นเลย แม้ว่าท่านจักเป็นผู้มีความลำบากและความคับแค้นใจก็ตาม ภิกษุ ถ้าท่านจักกลืนกินแผ่นดิน ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนในที่อยู่ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้ ถ้าท่านกลืนกินน้ำ ... ถ้าท่านกลืนกินไฟ ... ถ้าท่านกลืนกินลม ... ถ้าท่านกลืนกินเหล่าสัตว์ ... ถ้าท่านกลืนกินเทวดา ... ถ้าท่าน กลืนกินปชาบดี ... ถ้าท่านกลืนกินพรหม ท่านก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้เรา นอนใน ที่อยู่ของเรา เราพึงทำได้ตามประสงค์ เราพึงห้ามได้’ เรากล่าวว่า ‘พรหม แม้เราก็รู้อย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราจักกลืนกินแผ่นดิน เราก็จัก ชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึง ห้ามได้ และถ้าเราจักกลืนกินน้ำ ... ถ้าเราจักกลืนกินไฟ ... ถ้าเราจักกลืนกินลม ... ถ้าเราจักกลืนกินเหล่าสัตว์ ... ถ้าเราจักกลืนกินเทวดา ... ถ้าเราจักกลืนกินปชาบดี ... ถ้าเราจักกลืนกินพรหม เราก็จักชื่อว่าเป็นผู้นอนใกล้ท่าน นอนในที่อยู่ของท่าน ท่านพึงทำได้ตามประสงค์ ท่านพึงห้ามได้ ใช่แต่เท่านั้น เรารู้คติ และรู้ความ รุ่งเรืองของท่านว่า ‘พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้’ พกพรหมถามเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านรู้คติและรู้ ความรุ่งเรืองของเราว่า ‘พกพรหมมีฤทธิ์มากอย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมาก อย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้ได้อย่างไร’ เรากล่าวว่า ‘ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ย่อมโคจรส่องทิศให้สว่างอยู่เท่าใด อำนาจของท่านย่อมเป็นไปใน ๑,๐๐๐ จักรวาลเท่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๔๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

ท่านย่อมรู้จักสัตว์ที่เลวและสัตว์ที่ประณีต รู้จักสัตว์ที่มีราคะและสัตว์ที่ไม่มีราคะ รู้จักจักรวาลนี้และจักรวาลอื่น และรู้จักการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย’ พรหม เรารู้คติและรู้ความรุ่งเรืองของท่านอย่างนี้ว่า ‘พกพรหมมีฤทธิ์มาก อย่างนี้ พกพรหมมีอานุภาพมากอย่างนี้ พกพรหมมีศักดิ์มากอย่างนี้’ [๕๐๔] พรหม หมู่พรหมอื่นมีอยู่ ท่านไม่รู้ ไม่เห็นหมู่พรหมนั้น (แต่)เรารู้ เห็นหมู่พรหมนั้น หมู่พรหมชื่ออาภัสสรามีอยู่ ท่านเคลื่อนแล้วจากที่ใด มาอุบัติ แล้วในที่นี้ ท่านมีสติหลงลืมไปเพราะอยู่อาศัยนานนัก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่รู้ ไม่เห็นหมู่พรหมนั้น (แต่)เรารู้ เห็นหมู่พรหมนั้น เรากับท่านเทียบกันไม่ได้ด้วย ปัญญาอันรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เรา เท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน หมู่พรหมชื่อสุภกิณหา มีอยู่ ... หมู่พรหมชื่อเวหัปผลา มีอยู่ ... หมู่พรหมชื่ออภิภู มีอยู่ ท่านไม่รู้ ไม่เห็นหมู่พรหมนั้น (แต่)เรารู้ เห็นหมู่ พรหมนั้น เรากับท่านเทียบกันไม่ได้ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้เราเท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พรหม เรารู้จักดินโดยความเป็นดิน รู้จักนิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้๑- โดยความ ที่ดินเป็นดิน แล้วไม่เป็นดิน๒- ไม่ได้มีแล้วในดิน ไม่ได้มีแล้วจากดิน ไม่ได้มีแล้วว่า ดินเป็นของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะดิน เราเทียบไม่ได้กับท่านด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งแม้ อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่ง @เชิงอรรถ : @ ที่สัตว์เสวยไม่ได้ หมายถึงที่สัตว์ครอบครองไม่ได้ บรรลุไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน @(ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๐) @ แล้วไม่เป็นดิน หมายถึงไม่ยึดถือดินด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ และมานะ (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๔๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

กว่าท่าน เรารู้จักน้ำ ... เรารู้จักไฟ ... เรารู้จักลม ... เรารู้จักเหล่าสัตว์ ... เรา รู้จักเทวดา ... เรารู้จักปชาบดี ... เรารู้จักพรหม ... เรารู้จักอาภัสสรพรหม ... เรารู้จักสุภกิณหพรหม ... เรารู้จักเวหัปผลพรหม ... เรารู้จักอภิภูพรหม ... เรารู้จักสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นสิ่งทั้งปวง รู้จักนิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดย ความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวงแล้วไม่เป็นสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีในสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มี จากสิ่งทั้งปวง ไม่ได้มีว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของเรา ไม่ได้กล่าวเฉพาะสิ่งทั้งปวง พรหม เราเทียบกับท่านไม่ได้ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ ความที่เราเป็นผู้ ต่ำกว่าท่านจะมีแต่ที่ไหน โดยที่แท้ เราเท่านั้นเป็นผู้สูงยิ่งกว่าท่าน พกพรหม กล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าเพราะท่านรู้นิพพานที่สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง ถ้อยคำของท่าน อย่าได้ว่าง อย่าได้เปล่าเสียเลย’ นิพพานที่ผู้บรรลุจะพึงรู้แจ้งได้ เป็นอนิทัสสนะ๑- เป็นอนันตะ๒- (ไม่สิ้นสุด) มีรัศมีกว่าสิ่งทั้งปวง สัตว์เสวยไม่ได้โดยความที่ดินเป็นดิน โดยความที่น้ำเป็นน้ำ โดยความที่ไฟเป็นไฟ โดยความที่ลมเป็นลม โดยความที่เหล่าสัตว์เป็นเหล่าสัตว์ โดยความที่เทวดาเป็นเทวดา โดยความที่ปชาบดีเป็นปชาบดี โดยความที่พรหม เป็นพรหม โดยความที่อาภัสสรพรหมเป็นอาภัสสรพรหม โดยความที่สุภกิณห- พรหมเป็นสุภกิณหพรหม โดยความที่เวหัปผลพรหมเป็นเวหัปผลพรหม โดย ความที่อภิภูพรหมเป็นอภิภูพรหม โดยความที่สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งทั้งปวง พกพรหมกล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านจงดู บัดนี้ เราจะอันตรธาน ไปจากท่าน’ เรากล่าวว่า ‘พรหม หากท่านสามารถ บัดนี้ ก็จงอันตรธานไปจาก เราเถิด’ ครั้งนั้น พกพรหมกล่าวว่า ‘เราจักอันตรธานไปจากพระสมณโคดม เรา จักอันตรธานไปจากพระสมณโคดม’ แต่ก็ไม่อาจอันตรธานไปจากเราได้เลย @เชิงอรรถ : @ อนิทัสสนะ หมายถึงสภาวะที่มองไม่เห็นเพราะอยู่เหนือจักขุวิญญาณ (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๑) @ อนันตะ หมายถึงไม่มีที่สุด เพราะไม่มีการเกิดขึ้นและการดับไป (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๔๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับพกพรหมว่า ‘พรหม ท่านจงดู บัดนี้ เราจะอันตรธานไปจากท่าน’ พกพรหมกล่าวว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ หากท่าน สามารถ บัดนี้ ก็จงอันตรธานไปจากเราเถิด’ ลำดับนั้นเราบันดาลอิทธาภิสังขาร๑- เช่นนั้น ด้วยคิดว่า ‘ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหม- ปาริสัชชะก็ดี ย่อมได้ยินเสียงเรา แต่มิได้เห็นตัวเรา’ เราอันตรธานไปแล้ว ได้ กล่าวคาถานี้ว่า ‘เราเห็นภัยในภพและเห็นภพของสัตว์ ผู้แสวงหาความปราศจากภพแล้ว ไม่กล่าวยกย่องภพอะไรเลย ทั้งไม่ยึดมั่นนันทิ๒- ด้วย’ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พรหมก็ดี พรหมบริษัทก็ดี พรหมปาริสัชชะก็ดี ได้ เกิดความแปลกประหลาดมหัศจรรย์จิตว่า ‘ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย ปรากฏ พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก่อนแต่นี้ เราทั้งหลายไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เหมือนพระสมณโคดม นี้ ผู้ออกผนวชจากศากยตระกูล ถอนภพพร้อมทั้งรากของหมู่สัตว์ผู้รื่นรมย์ในภพ ยินดีในภพ เพลิดเพลินในภพ’
มารเข้าสิงกายพรหม
[๕๐๕] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น มารใจบาป เข้าสิงกายพรหมปาริสัชชะ ผู้หนึ่ง แล้วกล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าท่านรู้อย่างนี้ ตรัสรู้อย่างนี้ ก็อย่า แนะนำ อย่าแสดงธรรม อย่าทำความยินดีกับพวกสาวกและพวกบรรพชิตเลย @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๙๓ (จูฬตัณหาสังขยสูตร) หน้า ๔๒๔ ในเล่มนี้ @ นันทิ ในที่นี้หมายถึงภวตัณหา (ม.มู.อ. ๒/๕๐๔/๓๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๔๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร

ภิกษุ ได้มีสมณพราหมณ์พวกก่อนท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้นแนะนำ แสดงธรรม ทำความยินดีกับ พวกสาวกและพวกบรรพชิต หลังจากตายแล้วก็ไปเกิดในพวกที่เลว สมณ- พราหมณ์พวกก่อนท่านผู้ปฏิญญาว่า เป็นพระอรหันตสัมมาพุทธเจ้าในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่แนะนำ ไม่แสดงธรรม ไม่ทำความยินดีกับพวกสาวก และพวกบรรพชิต หลังจากตายแล้วก็ไปเกิดในพวกที่ดี เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าว กับท่านว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านอย่ากังวลไปเลย จงหมั่นประกอบธรรมเป็น เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่เถิด เพราะการไม่พูดเป็นความดี ท่านอย่าสั่งสอน สัตว์อื่นๆ เลย’ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงกล่าวว่า ‘มาร เรารู้จักท่าน ท่านอย่าเข้าใจว่า ‘พระสมณะไม่รู้จักเรา’ ท่านเป็นมาร ท่านหามีความอนุเคราะห์ ด้วยจิตเกื้อกูลไม่ จึงกล่าวกับเราอย่างนี้ ท่านไม่มีความอนุเคราะห์ด้วยจิตเกื้อกูล จึงกล่าวกับเราอย่างนี้ ท่านมีความดำริว่า ‘พระสมณโคดม จักแสดงธรรมแก่ชน เหล่าใด ชนเหล่านั้น จักล่วงวิสัยของเราไป’ สมณพราหมณ์เหล่านั้น มิได้เป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิญญาว่า ‘เราทั้งหลาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า’ เรา เป็นสัมมาสัมพุทธะ ย่อมปฏิญญาว่า ‘เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ’ มาร ตถาคตแม้เมื่อแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่ แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น ตถาคตแม้เมื่อแนะนำสาวก ก็เป็นเช่นนั้น แม้เมื่อไม่ได้แนะนำสาวกก็เป็นเช่นนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตละอาสวะ อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มี ชาติ ชรา มรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอน โคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้ว ไม่อาจงอกขึ้นอีกได้ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละอาสวะทั้งหลายอัน ทำให้เศร้าหมองให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๔๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๑๐. มารตัชชนียสูตร

ชรา มรณะต่อไปได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้” เวยยากรณภาษิตนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยมารมิได้เรียกร้อง และ โดยที่พรหมเชื้อเชิญดังนี้ เพราะเหตุนั้น เวยยากรณภาษิตนี้ จึงมีชื่อว่า พรหม- นิมันตนิกสูตร ดังนี้แล
พรหมนิมันตนิกสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๕๓๗-๕๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=49              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=10134&Z=10286                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=551              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=551&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=7994              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=551&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=7994                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i551-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.049.than.html https://suttacentral.net/mn49/en/sujato https://suttacentral.net/mn49/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :