บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร ว่าด้วยพระมหากัจจานะแสดงเรื่องผู้มีราตรีเดียวเจริญ [๒๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตโปทาราม เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง เข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ สรงเสร็จแล้วได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียวผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑- เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้าไปหา ท่านพระสมิทธิถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสมิทธิอย่างนี้ ว่า ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำอุทเทสและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม @เชิงอรรถ : @๑ เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงเมื่อปฐมยามผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๑-๒๒/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาที่แสดงถึงบุคคลผู้มีราตรีเดียว เจริญได้ไหม อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทส และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและวิภังค์ของบุคคล ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติ พรหมจรรย์ เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง [๒๘๐] ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระสมิทธิได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เมื่อคืนนี้ตอนใกล้รุ่ง ข้าพระองค์ ลุกขึ้นเข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงน้ำ สรงเสร็จแล้ว ได้กลับมายืนนุ่งผ้าผืนเดียว ผึ่งตัวให้แห้งอยู่ ขณะนั้น เมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วสระตโปทะ เข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ภิกษุ ท่านจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มี ราตรีเดียวเจริญได้ไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว กับเทวดานั้นว่า ผู้มีอายุ อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม เทวดากล่าวว่า แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ อนึ่ง ท่านจำคาถาอันแสดงถึงบุคคลผู้ มีราตรีเดียวเจริญได้ไหม ข้าพระองค์ตอบว่า อาตมภาพจำไม่ได้ ส่วนท่านจำได้ไหม เทวดากล่าวว่า ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ ขอท่านจงศึกษา เล่าเรียน และจำอุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด เพราะว่าอุทเทสและ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
วิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการ ประพฤติพรหมจรรย์๑- เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว ก็หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง อุทเทสและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ท่านพระสมิทธิทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถา ประพันธ์นี้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ @เชิงอรรถ : @๑ เบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ หมายถึงข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ @(ม.อุ.อ. ๓/๒๘๐/๑๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาครั้นตรัสคาถาประพันธ์นี้แล้ว ทรงลุกจาก พุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ประทับ ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้เกิดความ สงสัยว่า ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เรา ทั้งหลายว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ ประทับ ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่ พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน พระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไป หาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ [๒๘๑] ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหากัจจานะว่า ท่านกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง อุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล ฯลฯ นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ ประทับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน เราทั้งหลายได้เกิดความสงสัยว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อนี้แก่เราทั้งหลายว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล ฯลฯ นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ ประทับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ท่านกัจจานะ เราทั้งหลายคิดว่า ท่านมหากัจจานะนี้เป็นผู้ที่พระศาสดาทรง ยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะก็ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรง ชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านมหากัจจานะ ถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านมหากัจจานะ ขอท่านมหากัจจานะ จงชี้แจงเถิด ท่านพระมหากัจจานะจึงตอบว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้ต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหาแก่นไม้อยู่ ละเลยโคนและลำต้นของต้นไม้ ใหญ่ซึ่งมีแก่นไป เขาเข้าใจว่าแก่นไม้ต้องแสวงหาที่กิ่งและใบ แม้ฉันใด ข้ออุปไมย นี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏเฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ละ เลยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไป และพึงเข้าใจเนื้อความนั้นว่าต้องสอบถามกับ กระผม แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยาย เนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็ เป็นเวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มี พระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า ท่านกัจจานะ เป็นความจริงที่พระผู้มีพระ ภาคทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ ทรงเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ ประกาศ ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็น เจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็นเวลาอันสมควรที่เราทั้งหลายจะทูล ถามเนื้อความนี้กับพระองค์ พระผู้มีพระภาคของเราทั้งหลายทรงตอบอย่างใด เรา ทั้งหลายจะพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น อนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะเป็นผู้ที่ พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็สรรเสริญแล้ว และท่าน พระมหากัจจานะสามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดารให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะไม่ต้องหนักใจ ชี้แจงเถิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี กระผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้ว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล ฯลฯ นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ ประทับ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้ [๒๘๒] บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ในอดีต เรามี จักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึง ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ในอดีต เรามี โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้ ... วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ในอดีต เรามี ฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้ ... วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ในอดีต เรามี ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ในอดีต เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้ ... วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ในอดีต เรามีมโนอย่างนี้ มีธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้นจึงชื่อ ว่าคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างไร คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปนั้นว่า ในอดีต เรามีจักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึง ถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียงนั้นว่า ในอดีต เรามี โสตะอย่างนี้ มีเสียงอย่างนี้ ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่นนั้นว่า ในอดีต เรา มีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่นอย่างนี้ ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรสนั้นว่า ในอดีต เรามี ชิวหาอย่างนี้ มีรสอย่างนี้ ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะนั้นว่า ในอดีต เรามีกายอย่างนี้ มีโผฏฐัพพะอย่างนี้ ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์นั้นว่า ในอดีต เรามีมโน๑- อย่างนี้ มีธรรมารมณ์๒- อย่างนี้ เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับ ฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและ ธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว @เชิงอรรถ : @๑ มโน ในที่นี้หมายถึงภวังคจิต (ม.อุ.อ. ๓/๒๘๒/๑๗๘) @๒ ธรรมารมณ์ ในที่นี้หมายถึงธรรมารมณ์ที่เป็นไปในไตรภูมิ (ม.อุ.อ. ๓/๒๘๒/๑๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็นอย่างนี้แล [๒๘๓] บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคล เมื่อยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มีเสียง อย่างนี้ ... ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มีกลิ่น อย่างนี้ ... ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มีรส อย่างนี้ ... ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี โผฏฐัพพะอย่างนี้ ... ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะความตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงยินดีมโนและธรรมารมณ์ นั้น บุคคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างไร คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีจักขุอย่างนี้ มีรูปอย่างนี้ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีโสตะอย่างนี้ มี เสียงอย่างนี้ ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีฆานะอย่างนี้ มี กลิ่นอย่างนี้ ... ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีชิวหาอย่างนี้ มี รสอย่างนี้ ... ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีกายอย่างนี้ มี โผฏฐัพพะอย่างนี้ ... ไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ในอนาคต เราพึงมีมโนอย่างนี้ มี ธรรมารมณ์อย่างนี้ เพราะความไม่ตั้งจิตเป็นปัจจัย บุคคลจึงไม่ยินดีมโนและ ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่หวังสิ่งที่ยัง ไม่มาถึง ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่หวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เป็นอย่างนี้แล [๒๘๔] บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีจักขุและรูปนั้น บุคคลเมื่อยินดีจักขุและรูป จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ... วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ... วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ... วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ... วิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่ เป็นปัจจุบันนั้นเพราะวิญญาณมีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีมโนและ ธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมที่ เป็นปัจจุบัน ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๓๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในจักขุและรูปทั้ง ๒ อย่างที่เป็น ปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดีจักขุ และรูปนั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีจักขุและรูปนั้น จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็น ปัจจุบัน วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในโสตะและเสียง ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในฆานะและกลิ่น ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในชิวหาและรส ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ ... วิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่ เป็นปัจจุบันนั้น เพราะวิญญาณไม่มีความผูกพันกับฉันทราคะ บุคคลจึงไม่ยินดี มโนและธรรมารมณ์นั้น บุคคลเมื่อไม่ยินดีมโนและธรรมารมณ์นั้น จึงชื่อว่าไม่ ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลไม่ง่อนแง่นในธรรมที่เป็นปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล [๒๘๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อไว้แก่ เราทั้งหลายว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล ฯลฯ นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าไปยัง ที่ประทับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้ ท่านทั้งหลาย เมื่อหวัง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วทูลถามเนื้อความนั้น พระองค์ทรง ตอบอย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่าน พระมหากัจจานะแล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ฯลฯ พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคล ฯลฯ นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ ประทับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เกิดความ สงสัยว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุทเทสโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งใดที่ยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็เป็นอันยังไม่มาถึง ส่วนบุคคลใดเห็นแจ้งธรรมที่เป็นปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆ บุคคลนั้นควรเจริญธรรมนั้นให้แจ่มแจ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]
๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
บุคคลควรทำความเพียรตั้งแต่วันนี้ทีเดียว ใครเล่าจะรู้ว่า ความตายจักมีในวันพรุ่งนี้ เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนามากนั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบเรียกบุคคลผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งมีปกติอยู่อย่างนี้นั้นแลว่า ผู้มีราตรีเดียวเจริญ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความโดยพิสดาร ทรงลุกจากพุทธอาสน์เสด็จเข้าไปยังที่ ประทับ ใครเล่าหนอ จะพึงชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทสโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้คิดว่า ท่านพระ มหากัจจานะนี้แล เป็นผู้ที่พระศาสดาทรงยกย่อง ทั้งเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายก็ สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุทเทส โดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ไม่ทรงชี้แจงไว้โดยพิสดารให้พิสดารได้ ทางที่ดี เราทั้งหลายควรเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้ กับท่านพระมหากัจจานะ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้าไปหาท่าน พระมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กับท่านพระมหากัจจานะ ท่าน พระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วย บทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นบัณฑิต ภิกษุ ทั้งหลาย มหากัจจานะเป็นผู้มีปัญญามาก แม้ว่าเธอทั้งหลายจะพึงสอบถาม เนื้อความนี้กับเรา เราก็จะพึงตอบเนื้อความนั้นเหมือนกับที่มหากัจจานะตอบ เรื่องนี้มีเนื้อความดังนี้แล เธอทั้งหลายจงทรงจำเรื่องนั้นไว้อย่างนี้เถิด พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แลมหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๔๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๓๐-๓๔๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=14&siri=33 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7223&Z=7493 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=548 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=548&items=17 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=4487 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=548&items=17 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=4487 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i548-e.php# https://suttacentral.net/mn133/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]