ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค ๑๒. โขมทุสสสูตร

๑๒. โขมทุสสสูตร
ว่าด้วยชาวโขมทุสสนิคม
[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของเจ้าศากยะชื่อโขมทุสสะ แคว้นสักกะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม สมัยนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม ประชุมกันอยู่ในสภาด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนก็กำลังตกประปรายอยู่ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสภานั้น พวกพราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงได้กล่าวดังนี้ว่า “คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และคนพวกไหนรู้จักธรรมของสภา” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคม ด้วยพระคาถาว่า ที่ใดไม่มีสัตบุรุษ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา คนเหล่าใดไม่กล่าวธรรม คนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ เพราะพวกสัตบุรุษละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว จึงกล่าวธรรมอยู่๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวโขมทุสสนิคมได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ขุ.ชา. (แปล) ๒๘/๔๙๒/๑๘๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๒. อุปาสกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระโคดม ผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ พวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โขมทุสสสูตรที่ ๑๒ จบ
อุปาสกวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กสิภารทวาชสูตร ๒. อุทยสูตร ๓. เทวหิตสูตร ๔. มหาสาลสูตร ๕. มานัตถัทธสูตร ๖. ปัจจนีกสูตร ๗. นวกัมมิกสูตร ๘. กัฏฐหารสูตร ๙. มาตุโปสกสูตร ๑๐. ภิกขกสูตร ๑๑. สังครวสูตร ๑๒. โขมทุสสสูตร
พราหมณสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=208              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5957&Z=5989                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=724              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=724&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=6584              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=724&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=6584                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i671-e.php#sutta12 https://suttacentral.net/sn7.22/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :