ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต]

๗. ปุนัพพสุสูตร

๖. ปิยังกรสูตร
ว่าด้วยปิยังกรยักษ์
[๒๔๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในพระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแล้ว สวดบทแห่งธรรมทั้งหลายอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ปลอบบุตร น้อยอย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าส่งเสียงไปเลย ภิกษุกำลังสวดบทแห่งธรรมทั้งหลายอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบทแห่งธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ปิยังกระกล่าวว่า เราไม่เบียดเบียนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ศึกษาทำตนให้เป็นคนมีศีลดี จึงจะพ้นจากกำเนิดปีศาจ๑-
ปิยังกรสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปุนัพพสุสูตร
ว่าด้วยปุนัพพสุยักษ์
[๒๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุ ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบ ชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่าง ก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ครั้งนั้น นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุ ปลอบบุตรน้อยอย่างนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ กำเนิดปีศาจ ในที่นี้หมายถึงภพภูมิอันเป็นแดนกำเนิดของยักษ์คล้ายกับแดนกำเนิดของเปรต @(สํ.ฏีกา ๑/๒๔๐/๓๓๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๔๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๔๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=240              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6741&Z=6753                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=819              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=819&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=7547              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=819&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=7547                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i801-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn10.6/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :