ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๖. โอวาทสูตร
ว่าด้วยการให้โอวาท
[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเวฬุวัน ... เขตกรุงราชคฤห์ ... ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “กัสสปะ เธอจงกล่าวสอนภิกษุ จงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เราหรือเธอพึงกล่าวสอน พึงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม ที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุ ชื่อภัณฑะ สัทธิวิหาริกของพระอานนท์ และภิกษุชื่ออาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ พระอนุรุทธะ ในพระธรรมวินัยนี้ กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน และใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน” @เชิงอรรถ : @ ผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้แล้ว ในที่นี้หมายถึงผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงเคยใช้นุ่งห่มมาก่อน (สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๘/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๖. โอวาทสูตร

ครั้งนั้น พระผู้พระภาครับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า ‘มาเถิดภิกษุ เธอจง เรียกภิกษุภัณฑะ สัทธิวิหาริกของอานนท์ และภิกษุอาภิชชิกะ สัทธิวิหาริกของ อนุรุทธะมาตามคำของเรา ว่า ‘พระศาสดารับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า’ ภิกษุนั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าวว่า ‘พระศาสดา รับสั่งให้ท่านทั้ง ๒ เข้าเฝ้า” ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เธอทั้งหลายได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ นานกว่ากัน จริงหรือ” “จริง พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้หรือ เธอทั้งหลายจึงกล่าว ล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะอย่างนี้ว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน” “ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ได้ยินว่า ถ้าเธอทั้งหลายไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แน่ะโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอทั้งหลายรู้เห็นอะไร บวชอยู่ในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ ยังกล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะไปทำไมเล่าว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มาก กว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน” ลำดับนั้น ภิกษุทั้ง ๒ รูปได้น้อมศีรษะลงแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคแล้ว กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายบวชในพระธรรมวินัยที่พระ ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วอย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลา เบาปัญญาว่า ‘มาเถิดภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นานกว่ากัน’ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงให้อภัยโทษแก่ข้าพระองค์ ทั้งหลาย เพื่อสำรวมต่อไปด้วยเถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๕. กัสสปสังยุต]

๗. ทุติยโอวาทสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เอาเถิด การที่เธอทั้งหลายบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้ว อย่างนี้ ได้กล่าวล่วงเกินกันและกันด้วยสุตะเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาว่า ‘มาเถิด ภิกษุ ใครจักกล่าวได้มากกว่ากัน ใครจักกล่าวได้ดีกว่ากัน ใครจักกล่าวได้นาน กว่ากัน’ เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอม รับเธอทั้งหลายได้ เพราะการที่บุคคลเห็นความเห็นผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูก ต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
โอวาทสูตรที่ ๖ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒๔๓-๒๔๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=144              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=5371&Z=5424                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=483              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=483&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=4339              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=483&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=4339                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i462-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/sn16.6/en/sujato https://suttacentral.net/sn16.6/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :