ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๑. อัฏฐิสูตร

๘. ลักขณสังยุต
๑. ปฐมวรรค
หมวดที่ ๑
๑. อัฏฐิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่โครงกระดูก๑-
[๒๐๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระลักขณะกับท่านพระมหาโมคคัลลานะพักอยู่บน ภูเขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวร เข้าไปหาท่านพระลักขณะถึงที่อยู่ เชิญชวนว่า ‘ท่านพระลักขณะมาเถิด พวกเราจะ เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ด้วยกัน’ ท่านพระลักขณะรับคำแล้ว ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังลงจากภูเขาคิชฌกูฏถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ได้แสดงอาการแย้ม ลำดับนั้น ท่านพระลักขณะถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ‘ท่านโมคคัลลานะ อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม’ “ท่านลักขณะ ยังไม่ถึงเวลาตอบปัญหานี้ เมื่อเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคจึงถาม ปัญหานี้เถิด” ครั้งนั้น ท่านพระลักขณะและท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวบิณฑบาตใน กรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่านพระลักขณะ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๒๘/๒๒๐-๒๒๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๐๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๘. ลักขณสังยุต]

๑. ปฐมวรรค ๒. เปสิสูตร

ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า “ท่านมหาโมคคัลลานะ เมื่อท่านลงจาก ภูเขาคิชฌกูฏ ในกรุงราชคฤห์นี้ถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้แสดงอาการแย้ม อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้ท่านแสดงอาการแย้ม” “ท่านผู้มีอายุ เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต (เปรต มีแต่โครงกระดูก) ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกทึ้งยื้อแย่งเนื้อที่ติดอยู่ตามระหว่างซี่โครงสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง กระผม มีความรู้สึกว่า ‘อัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีการ ได้อัตภาพเช่นนี้อยู่” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุมีญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน เราก็ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรตนั้น แต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์๑- นั้น จะไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล ซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์ เพราะผลกรรมนั้น จึงตกนรกหมกไหม้อยู่หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้มีอัตภาพ เช่นนี้ เพราะเศษกรรมนั้นที่ยังเหลือ” [พระสูตรทุกสูตรที่ละไว้มีความเต็มเหมือนสูตรนี้]
อัฏฐิสูตรที่ ๑ จบ
๒. เปสิสูตร
ว่าด้วยเปรตมีแต่ร่างชิ้นเนื้อ๒-
[๒๐๓] “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นมังสเปสิเปรต(เปรต มีแต่ร่างชิ้นเนื้อ)ลอยขึ้นสู่กลางอากาศ ฝูงแร้ง นกกา นกเหยี่ยวพากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกทึ้งยื้อแย่งเปรตนั้นสะบัดไปมาจนมันร้องครวญคราง ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็นคนฆ่าโคในกรุงราชคฤห์” ฯลฯ
เปสิสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ พยากรณ์ หมายถึงเปิดเผยสู่สาธารณชน @ ดูเทียบ วิ.มหา. (แปล) ๑/๒๒๙/๒๒๒-๒๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๓๐๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๓๐๓-๓๐๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=16&siri=196              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=6737&Z=6775                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=636              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=16&item=636&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=5291              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=16&item=636&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=12&A=5291                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/16i636-e.php# https://suttacentral.net/sn19.1/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :