ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๑๐. เวรหัญจานิสูตร
ว่าด้วยเวรหัญจานีพราหมณี
[๑๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยยพราหมณ์ เขตเมืองกามัณฑะ ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๖๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

ท่านพระอุทายีได้ชี้แจงให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้น มาณพผู้ที่พระอุทายีชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้น จากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกับพราหมณี เวรหัญจานิโคตรดังนี้ว่า “ขอแม่เจ้าผู้เจริญโปรดทราบ พระอุทายีแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน” พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์ พระอุทายีตามคำของฉัน เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้” มาณพนั้นรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้กราบเรียนท่านพระ อุทายีดังนี้ว่า “นัยว่า ขอท่านพระอุทายี โปรดรับภัตตาหารของพราหมณี เวรหัญจานิโคตรผู้เป็นภรรยาของอาจารย์ของพวกกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด” ท่านพระอุทายีรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้า ท่าน พระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณี เวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนท่าน พระอุทายีให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อท่านพระอุทายีฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้ว จึงสวมรองเท้านั่งคลุมศีรษะบนอาสนะสูง ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่าน จงกล่าวสมณธรรมสิ” ท่านพระอุทายีกล่าวว่า “ยังมีเวลา น้องหญิง” ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป แม้ครั้งที่ ๒ มาณพนั้นก็เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอุทายีได้ชี้แจง ให้มาณพนั้นเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๖๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค ๑๐. เวรหัญจานิสูตร

แม้ครั้งที่ ๒ มาณพนั้นผู้ที่พระอุทายีชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอา ไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่แล้ว ได้กล่าวกับ เวรหัญจานิโคตรดังนี้ว่า “ขอแม่เจ้าผู้เจริญโปรดทราบ พระอุทายีแสดงธรรม มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง อรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน” พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ก็เธอกล่าวถึงคุณของพระ อุทายีอย่างนี้ ส่วนพระอุทายีพอเรากล่าวว่า ‘ท่านจงกล่าวธรรมสิ’ ก็กล่าวว่า ‘ยังมีเวลา น้องหญิง’ แล้วลุกขึ้นจากอาสนะแล้วจากไป” มาณพนั้นกล่าวว่า “ข้าแต่แม่เจ้า ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าแม่เจ้าสวม รองเท้า นั่งคลุมศีรษะบนอาสนะสูง ทั้งได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านจงกล่าวสมณธรรมสิ’ ความจริงท่านผู้เจริญเหล่านั้นเป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม” พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า “พ่อมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์ พระอุทายีตามคำของฉันเพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้” มาณพนั้นรับคำแล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้กราบเรียนท่านพระ อุทายีดังนี้ว่า “นัยว่า ขอท่านพระอุทายี โปรดรับภัตตาหารของนางพราหมณี เวรหัญจานิโคตรผู้เป็นภรรยาของอาจารย์ของพวกกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด” ท่านพระอุทายีรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสก ถือบาตรและ จีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้นำของขบฉันอันประณีตประเคนท่าน พระอุทายีให้อิ่มหนำด้วยตนเอง เมื่อท่านพระอุทายีฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้วจึง ถอดรองเท้า นั่งบนอาสนะต่ำ เปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วได้เรียนถามท่านพระอุทายี ดังนี้ว่า “ท่านเจ้าข้า เมื่อมีอะไร พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีอะไร พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๖๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๓. คหปติวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ท่านพระอุทายีตอบว่า “น้องหญิง เมื่อมีจักขุ พระอรหันต์ทั้งหลายจึง บัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีจักขุ พระอรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ เมื่อมีชิวหา พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีชิวหา พระ อรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ เมื่อมีมโน พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อไม่มีมโน พระ อรหันต์ทั้งหลายก็ไม่บัญญัติสุขและทุกข์” เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณีเวรหัญจานิโคตรได้กล่าวกับท่านพระอุทายีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระคุณเจ้าอุทายีประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงาย ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระ สงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าจงจำดิฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไปจนตลอดชีวิต”
เวรหัญจานิสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้
๑. เวสาลีสูตร ๒. วัชชีสูตร ๓. นาฬันทสูตร ๔. ภารทวาชสูตร ๕. โสณสูตร ๖. โฆสิตสูตร ๗. หาลิททกานิสูตร ๘. นกุลปิตุสูตร ๙. โลหิจจสูตร ๑๐. เวรหัญจานิสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๖๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๖๔-๑๖๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=113              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=3151&Z=3222                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=210              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=210&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1102              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=210&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1102                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i191-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.133.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.133/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.133/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :