ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๑. ปฐมสมุททสูตร

๓. สมุททวรรค
หมวดว่าด้วยสมุทร
๑. ปฐมสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๑
[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชน๑- ผู้ไม่ได้สดับ๒- ย่อม กล่าวว่า ‘สมุทร สมุทร’ นั่นไม่ใช่สมุทรในอริยวินัย นั่นเป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย จักขุเป็นสมุทร๓- ของบุรุษ กำลังของจักขุนั้นเกิดจากรูป บุรุษใด อดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูปนั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือจักขุ ซึ่งมีทั้งคลื่น๔- วังวน๕- สัตว์ร้าย๖- และผีเสื้อน้ำ๗- เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่ง๘- ดำรงอยู่บนบก’ ฯลฯ ชิวหาเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของชิวหานั้นเกิดจากรส บุรุษใดอดกลั้นกำลัง อันเกิดจากรสนั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือชิวหา ซึ่งมีทั้งคลื่น วังวน สัตว์ร้าย และผีเสื้อน้ำ เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก’ ฯลฯ มโนเป็นสมุทรของบุรุษ กำลังของมโนนั้นเกิดจากธรรมารมณ์ บุรุษใดอดกลั้น กำลังอันเกิดจากธรรมารมณ์นั้นได้ บุรุษนี้ได้ข้ามสมุทรคือมโนซึ่งมีทั้งคลื่น วังวน สัตว์ร้าย และผีเสื้อน้ำ เราเรียกว่า ‘บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก’ @เชิงอรรถ : @ ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนา @นานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต และกัลยาณปุถุชน @คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ที.สี.อ. ๑/๗/๕๘-๕๙) @ ผู้ไม่ได้สดับ ในที่นี้หมายถึงผู้ไม่มีปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๑/๕๔) @ สมุทร ในที่นี้ได้แก่ อายตนะ ที่ชื่อว่าสมุทรเพราะให้เต็มได้ยาก หรือเพราะเป็นที่ผุดขึ้นแห่งกิเลส @(สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๗-๕๘, สํ.ฏีกา ๒/๒๒๘/๓๗๙-๓๘๑) @ คลื่น ในที่นี้ได้แก่ ความโกรธและความคับแค้น (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๘) @ วังวน ในที่นี้ได้แก่ กามคุณ ๕ (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๘) @ สัตว์ร้าย ในที่นี้ได้แก่ มาตุคาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๘) @ ผีเสื้อน้ำ ในที่นี้ได้แก่ มาตุคาม (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๘) @ ฝั่ง ในที่นี้ได้แก่ พระนิพพาน (สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๑๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๔. จตุตถปัณณาสก์ ๓. สมุททวรรค ๒. ทุติยสมุททสูตร

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “บุรุษใดข้ามสมุทรนี้ซึ่งมีทั้งคลื่น สัตว์ร้าย และผีเสื้อน้ำที่น่ากลัวข้ามได้ยากได้แล้ว บุรุษนั้นเราเรียกว่า ‘เป็นผู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก๑- ถึงฝั่งแล้ว”
ปฐมสมุททสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยสมุททสูตร
ว่าด้วยสมุทร สูตรที่ ๒
[๒๒๙] “ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมกล่าวว่า ‘สมุทร สมุทร’ นั่นไม่ใช่สมุทรในอริยวินัย นั่นเป็นแอ่งน้ำใหญ่ เป็นห้วงน้ำใหญ่ ภิกษุทั้งหลาย รูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดมีอยู่ นี้เรียกว่า ‘สมุทรในอริยวินัย’ โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ในสมุทรนี้ โดยมากเป็นผู้เศร้าหมอง ยุ่งเหยิงประดุจด้ายของช่างหูก เป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นประดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย ย่อมไม่พ้นจากอบาย ทุคติ วินิบาต๒- และสงสารไปได้ ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น...มีอยู่ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ โลก ในที่นี้ได้แก่ สังขารโลก โลกคือสังขาร หรือสภาวธรรมที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย @(สํ.สฬา.อ. ๓/๒๒๘/๕๘) @ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก แต่มีลักษณะต่างกันคือ อบาย หมายถึงสถานที่ @ที่ปราศจากความเจริญงอกงามหรือความสุข ทุคติ หมายถึงสถานที่ที่มีแต่ความทุกข์ วินิบาต หมายถึง @สถานที่ที่สัตว์ผู้ทำความชั่วจะต้องตกไป (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๑๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=174              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4381&Z=4398                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=285              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=285&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=1233              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=285&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=1233                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i285-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn35/sn35.187.wlsh.html https://suttacentral.net/sn35.228/en/sujato https://suttacentral.net/sn35.228/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :