ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร
ว่าด้วยพระอิสิทัตตะ สูตรที่ ๒
[๓๔๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเถระหลายรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมือง มัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้ แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้อาราธนาว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้ง หลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้เถิด” ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น จิตตคหบดี ทราบว่าภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายรับอาราธนาแล้วจึงลุกจากที่นั่ง ไหว้แล้ว กระทำ ประทักษิณแล้วจากไป ครั้นคืนนั้นผ่านไป ตอนเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังที่อยู่ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ สมควร ได้เรียนถามท่านพระเถระดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นใน โลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ๑- กับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต๒- เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและ ไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ @เชิงอรรถ : @ ชีวะ ในที่นี้หมายถึงวิญญาณอมตะ หรืออาตมัน (soul) (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑/๑/๑๒๙) @ ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่นๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึง @พระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสัตตะ (ที.สี.อ. ๖๕/๑๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ทิฏฐิ ๖๒ ๑- อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” เมื่อจิตตคหบดีถาม อย่างนี้แล้ว ท่านพระเถระได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดีก็ได้เรียนถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่าง เกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะ กับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคต เกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิด อีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร ท่าน ผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเถระก็ได้นิ่งอยู่ สมัยนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าภิกษุทุกรูปในหมู่ภิกษุนั้น ขณะนั้น ท่านพระอิสิทัตตะได้กล่าวกับท่านพระเถระดังนี้ว่า “กระผมขอตอบปัญหาข้อนี้ของ จิตตคหบดีเอง ขอรับ” พระเถระกล่าวว่า “อิสิทัตตะ ท่านจงตอบปัญหาข้อนี้ของจิตตคหบดีเถิด” ท่านพระอิสิทัตตะได้ถามว่า “คหบดี ท่านถามว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทิฏฐิหลาย อย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี’ หรือ” “อย่างนั้น ขอรับ” “คหบดี ทิฏฐิหลายอย่างเกิดขึ้นในโลกว่า ‘โลกเที่ยง หรือโลกไม่เที่ยง โลก มีที่สุด หรือโลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน หรือชีวะกับสรีระเป็น @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ๖๒ คือ ทฤษฎีทางอภิปรัชญาที่มีอยู่ในอินเดียทั้งก่อนและร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ มีอยู่ทั้งหมด @๖๒ ทฤษฎี พระพุทธองค์ทรงยกมาแสดงเพื่อยืนยันว่า พระองค์ทรงรู้ทฤษฎีดังกล่าวอย่างแจ่มแจ้ง และ @ทรงแสดงพรหมชาลสูตรครอบคลุมทฤษฎีเหล่านั้นทั้งหมด เปรียบเหมือนชาวประมงใช้แหทอดคลุมปลา @ไว้ได้ทั้งหมด ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๘/๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๗๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

คนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หรือหลังจากตายแล้วตถาคต ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หรือหลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสไว้แล้วในพรหมชาลสูตร คหบดี เมื่อสักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นกายของตน) มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่อสักกายทิฏฐิไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี” “ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างไร” “คหบดี ปุถุชน๑- ในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ พิจารณาเห็น รูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือ พิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ สัญญา ... สังขาร ... พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี วิญญาณ พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ คหบดี สักกายทิฏฐิย่อมมีได้อย่างนี้แล” “ท่านผู้เจริญ สักกายทิฏฐิย่อมมีไม่ได้อย่างไร” “คหบดี อริยสาวกในศาสนานี้ผู้ได้สดับ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดใน ธรรมของสัตบุรุษ ได้รับการแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดย ความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือไม่ พิจารณาเห็นอัตตาในรูป ไม่พิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่พิจารณา เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่พิจารณา เห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ คหบดี สักกายทิฏฐิ ย่อมมีไม่ได้อย่างนี้แล” @เชิงอรรถ : @ ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนา @นานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ %อันธปุถุชน% คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต และ%กัลยาณปุถุชน% @คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ที.สี.อ. ๑/๗/๕๘-๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๗๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๗. จิตตสังยุต]

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

“ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน” “คหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท” “ท่านผู้เจริญ กุลบุตรชื่ออิสิทัตตะในอวันตีชนบท ซึ่งเป็นสหายที่ไม่เคยเห็น ของกระผม ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าเคยเห็นท่านหรือไม่” “เจริญพร คหบดี” “ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ที่ไหน” เมื่อจิตตคหบดีถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่ “ท่านผู้เจริญ ท่านพระอิสิทัตตะของกระผมคือพระคุณเจ้าหรือ” “เจริญพร คหบดี” “ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงยินดีอัมพาฏกวันอันน่ารื่นรมย์ เขต เมืองมัจฉิกาสัณฑ์เถิด กระผมจักบำรุงพระคุณเจ้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” “โยมพูดดี” ลำดับนั้น จิตตคหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของท่านอิสิทัตตะแล้ว ได้นำของขบฉัน อันประณีตประเคนภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยตนเอง ขณะนั้นภิกษุผู้ เป็นเถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ววางมือจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป ต่อมา ท่านพระเถระได้กล่าวกับท่านพระอิสิทัตตะดังนี้ว่า “ดีละ ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนี้แจ่มแจ้งแก่ท่าน ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถ้าเช่นนั้น เมื่อปัญหาเช่นนี้มาถึง แม้โดยประการอื่น ท่านพึงตอบปัญหานั้นแล” ลำดับนั้น ท่านพระอิสิทัตตะเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรจากไป จากเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ได้จากไปแล้วอย่างที่ท่านจะไป ไม่กลับมาอีก
ทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๗๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๗๔-๓๗๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=259              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=7280&Z=7366                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=546              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=546&items=8              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3347              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=546&items=8              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3347                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i537-e.php#sutta3 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn41/sn41.003.than.html https://suttacentral.net/sn41.3/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :