ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]

๙. กุตูหลสาลาสูตร

๙. กุตูหลสาลาสูตร
ว่าด้วยศาลาถกแถลง
[๔๑๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม วันก่อนโน้น พวกสมณพราหมณ์ อัญเดียรถีย์ปริพาชกจำนวนมากนั่งประชุมกันในศาลาถกแถลง๑- ได้สนทนากันว่า ‘ครูปูรณะ กัสสปะนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องกันว่าเป็นคนดี ครูปูรณะ กัสสปะนั้นพยากรณ์ สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิด ในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูปูรณะ กัสสปะนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ได้ บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์สาวกนั้นผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้ง หลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’ ถึงครูมักขลิ โคศาล ฯลฯ ถึงครูนิครนถ์ นาฏบุตร ฯลฯ ถึงครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร ฯลฯ ถึงครูปกุธะ กัจจายนะ ฯลฯ ถึงครูอชิตะ เกสกัมพลนี้ก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้ครูอชิตะ เกสกัมพล นั้นก็พยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’ แม้สาวกใดของครูอชิตะ เกสกัมพลนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็น @เชิงอรรถ : @ ศาลาถกแถลง แปลจากคำบาลีว่า “โกตุหลสาลา” อรรถกถาแก้ว่า กุตูหลายนฺติ กุตูหลสาลา นาม @ปจฺเจกสาลา นตฺถิ ยตฺถ ปน นานาติตฺถิยา สมณพฺราหฺมณา นานาวิธํ กถํ ปวตฺเตนฺติ, สา พหุนฺนํ “อยํ @กึ วทติ, อยํ กึ วทตี”ติ กุตูหลุปฺปตฺติฏฺฐานโต กุตูหลสาลาติ วุจฺจติ. ไม่มีศาลาที่มีชื่ออย่างนี้โดยเฉพาะ @แต่เป็นสถานที่ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเดียรถีย์ต่างพวกมาแสดงทรรศนะตามลัทธิของตน ชื่อกุตูหลสาลา @เพราะเป็นที่เกิดการโต้เถียงกันว่า “ท่านนี้พูดอย่างไร ท่านนี้พูดอย่างไร” (สํ.สฬา.อ. ๓/๔๑๘/๑๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]

๙. กุตูหลสาลาสูตร

บรมบุรุษ ได้บรรลุผลที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง ท่านก็พยากรณ์แม้สาวกนั้นผู้ล่วงลับ ดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘ท่านโน้นเกิดในภพโน้น ท่านโน้นเกิดในภพโน้น’ ฝ่ายพระสมณโคดมนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ เป็นผู้มีชื่อเสียงมี เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนจำนวนมากยกย่องว่าเป็นคนดี แม้พระสมณโคดมนั้น ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพ โน้น สาวกโน้นเกิดในภพโน้น’ ส่วนสาวกใดของพระสมณโคดมนั้นเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ได้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุอย่างยิ่ง พระองค์ก็ทรงพยากรณ์สาวกนั้น ผู้ล่วงลับดับไปในอุบัติภพทั้งหลายว่า ‘สาวกโน้นเกิดในภพโน้น สาวกโน้นเกิดใน ภพโน้น’ นอกจากนี้ยังทรงพยากรณ์สาวกนั้นอีกว่า ‘ตัดตัณหาได้ขาด ถอนสังโยชน์ ได้ ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ’ ท่านพระโคดม ข้าพเจ้านั้นได้มี ความเคลือบแคลงสงสัยว่า ‘ถึงอย่างไร พระสมณโคดมก็ทรงรู้ยิ่งธรรม” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ สมควรที่ท่านจะเคลือบแคลงสงสัย ความ สงสัยเกิดขึ้นแก่ท่านในฐานะที่ควรเคลือบแคลง เราย่อมบัญญัติความอุบัติสำหรับผู้ มีอุปาทาน ไม่บัญญัติสำหรับผู้ไม่มีอุปาทาน ไฟที่มีเชื้อย่อมลุกโพลงได้ ไม่มีเชื้อ ก็ลุกโพลงไม่ได้แม้ฉันใด เราก็บัญญัติความอุบัติสำหรับผู้มีอุปาทาน ไม่บัญญัติ สำหรับผู้ไม่มีอุปาทานฉันนั้นเหมือนกัน” “ท่านพระโคดม เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล ท่านพระโคดมจะทรง บัญญัติอะไรแก่เปลวไฟนี้ในเพราะเชื้อเล่า” “วัจฉะ เวลาที่เปลวไฟถูกลมพัดไปได้ไกล เราบัญญัติเชื้อคือลมนั้น เพราะ ลมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น” “ท่านพระโคดม เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านพระโคดมจะทรงบัญญัติอะไรแก่สัตว์นี้ในเพราะอุปาทานเล่า” “วัจฉะ เวลาที่สัตว์ทอดทิ้งกายนี้และไม่เข้าถึงกายอย่างใดอย่างหนึ่ง เราบัญญัติอุปาทานคือตัณหานั้น เพราะตัณหาเป็นเชื้อของสัตว์นั้น”
กุตูหลสาลาสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑๐. อัพยากตสังยุต]


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๙๑-๔๙๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=290              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9929&Z=9978                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=799              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=799&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=3851              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=799&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=3851                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/18i752-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn44/sn44.009.than.html https://suttacentral.net/sn44.9/en/sujato https://suttacentral.net/sn44.9/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :