บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. คังคานทีอาทีอาทิสุตตทวาทสกะ
๖. คังคาเปยยาลวรรค หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล ๑-๑๒. คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะ ว่าด้วยพระสูตร ๑๒ สูตรมีคังคานทีสูตรเป็นต้น [๔๑๗-๔๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไป สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ทำสติปัฏฐาน ๔ ประการ ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-คังคานทีอาทิสุตตทวาทสกะที่ ๑-๑๒ จบ คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๙๑-๑๐๒ (มัคคสังยุต) หน้า ๕๘-๖๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๗๕}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ ๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๗๖}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๗. อัปปมาทวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๗. อัปปมาทวรรค หมวดว่าด้วยความไม่ประมาท ๑-๑๐. ตถาคตาทิสูตร ว่าด้วยพระตถาคตเป็นต้น [๔๒๙-๔๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-ตถาคตาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ อัปปมาทวรรคที่ ๗ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๓๙-๑๔๘ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๒-๗๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๗๗}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๘. พลกรณียวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๘. พลกรณียวรรค หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลัง ๑-๑๒. พลาทิสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยการงานที่พึงทำด้วยกำลังเป็นต้น [๔๓๙-๔๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย การงานที่พึงทำ ด้วยกำลังทั้งหมด พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ พลกรณียวรรคที่ ๘ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๔๙-๑๖๐ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๘-๙๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๗๘}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
๙. เอสนาวรรค หมวดว่าด้วยการแสวงหา ๑-๑๐. เอสนาทิสูตร ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น [๔๕๑-๔๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้ การแสวงหา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การแสวงหากาม ๒. การแสวงหาภพ ๓. การแสวงหาพรหมจรรย์ พึงเพิ่มข้อความต่อจากนี้ไปให้พิสดาร๑-เอสนาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ เอสนาวรรคที่ ๙ จบ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร ๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. ตสินาสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๖๑-๑๗๑ (มัคคสังยุต) หน้า ๙๑-๑๐๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๗๙}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร
๑๐. โอฆวรรค หมวดว่าด้วยโอฆะ ๑-๑๐. อุทธัมภาคิยาทิสูตร ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์เป็นต้น [๔๖๑-๔๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต ฯลฯ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้อุทธัมภาคิยาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ (บัณฑิตพึงขยายสติปัฏฐานสังยุตให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต) โอฆวรรคที่ ๑๐ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๘๐}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๓. สติปัฏฐานสังยุต]
รวมพระสูตรที่มีในวรรค
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตรสติปัฏฐานสังยุตที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๒๘๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๒๗๕-๒๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=181 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5027&Z=5055 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=839 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=839&items=4 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=839&items=4 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn47.51-62/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.51-62/en/bodhi https://suttacentral.net/sn47.63-72/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.63-72/en/bodhi https://suttacentral.net/sn47.73-84/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.73-84/en/bodhi https://suttacentral.net/sn47.85-94/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.85-94/en/bodhi https://suttacentral.net/sn47.95-104/en/sujato https://suttacentral.net/sn47.95-104/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]