ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. พลาทิสูตร

๖. พลสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. พลาทิสูตร
ว่าด้วยพละเป็นต้น
[๗๐๕-๗๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๓. สติพละ (กำลังคือสติ) ๔. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ๕. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา) พละ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไป สู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ๒. เจริญวิริยพละ ฯลฯ ๓. เจริญสติพละ ฯลฯ ๔. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ ๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”
พลาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑-
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ ๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ
อัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒-
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร
พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๓-
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๙๑-๑๐๒ (มัคคสังยุต) หน้า ๕๘-๖๑ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๓๙-๑๔๘ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๒-๗๗ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๔๙-๑๖๐ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๘-๙๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๗๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร
เอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๑-
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร ๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. ตสินาสูตร @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๖๑-๑๗๑ (มัคคสังยุต) หน้า ๙๑-๑๐๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๗๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๕. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๗๔๙-๗๕๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัทธาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ๒. เจริญวิริยพละ ... ๓. เจริญสติพละ ... ๔. เจริญสมาธิพละ ... ๕. เจริญปัญญาพละอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล” (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดารอย่างนี้) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๗๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

๖. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๖. คังคาเปยยาลวรรค
หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ปาจีนาทิสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีนเป็นต้น
[๗๕๙-๗๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัทธาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ๕. เจริญปัญญาพละ อันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญพละ ๕ ประการ ทำพละ ๕ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล” (พึงเพิ่มข้อความที่เหลือให้พิสดาร)
ปาจีนาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ
คังคาเปยยาลวรรคที่ ๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ ๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะ (อัปปมาทวรรค - พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๗๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

๙. เอสนาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๙. เอสนาวรรค
หมวดว่าด้วยการแสวงหา
๑-๑๒. เอสนาทิสูตร
ว่าด้วยการแสวงหาเป็นต้น
[๗๙๒-๘๐๒] บาลีแห่งเอสนาวรรค พึงให้พิสดารจนถึงธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด อย่างนี้
เอสนาวรรคที่ ๙ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ปฐมทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร ๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร ๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

๑๐. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร

๑๐. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น
[๘๐๓-๘๑๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ พละ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัทธาพละ ฯลฯ ๕. เจริญปัญญาพละอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญพละ ๕ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล”
โอฆาทิสูตรที่ ๑-๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๗๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๖. พลสังยุต]

๑๐. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
พลสังยุตที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๓๗๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๓๖๙-๓๗๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=254              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6370&Z=6412                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1099              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1099&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7133              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1099&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7133                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn50-102.html https://suttacentral.net/sn50.1-12/en/sujato https://suttacentral.net/sn50.13-22/en/sujato https://suttacentral.net/sn50.23-34/en/sujato https://suttacentral.net/sn50.35-44/en/sujato https://suttacentral.net/sn50.45-54/en/sujato https://suttacentral.net/sn50.55-66/en/sujato https://suttacentral.net/sn50.89-98/en/sujato https://suttacentral.net/sn50.99-108/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :