ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๒. อโยคุฬสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยก้อนเหล็กที่ถูกไฟเผา
[๘๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึง พรหมโลกด้วยฤทธิ์” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายเป็นมโนมัย เข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบหรือว่า พระองค์มีพระ วรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์” “อานนท์ เราทราบอยู่ว่า เรามีกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เข้าถึง พรหมโลกด้วยฤทธิ์” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏที่พระผู้มีพระภาคทรง ทราบว่า พระองค์มีพระวรกายเป็นมโนมัย ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ และทรง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๑๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๗. อิทธิปาทสังยุต]

๓. อโยคุฬวรรค ๒. อโยคุฬสูตร

ทราบว่า มีพระวรกายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์” “อานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์และประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีและประกอบด้วยธรรมที่ไม่เคยมี สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา (ความ หมายรู้ว่าสบาย) และลหุสัญญา (ความหมายรู้ว่าเบา) ในกายอยู่ สมัยนั้น กาย ของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า และผุดผ่องกว่า ก้อนเหล็กที่ไฟเผาตลอดทั้งวันย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า และผุดผ่องกว่า แม้ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การ งานกว่า และผุดผ่องกว่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศ ได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ ปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายซึ่งเบาถูกลมพัดก็ลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศโดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิตหรือตั้งจิตไว้ในกาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและ ลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้ โดยไม่ยากเลย ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก ก็ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน”
อโยคุฬสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๑๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๑๓-๔๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=276              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7028&Z=7065                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1208              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1208&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7402              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1208&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7402                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/sn51.22/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :