บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค ๑-๑๒. ฌานาทิสูตร
๙. ฌานสังยุต ๑. คังคาเปยยาลวรรค หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล ๑-๑๒. ฌานาทิสูตร ว่าด้วยฌานเป็นต้น [๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสใน ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะ อุเบกขาอยู่ ฌาน ๔ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๘}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อม ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แลฌานาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ คังคาเปยยาลวรรคที่ ๑ จบ๑- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปฐมปาจีนนินนสูตร ๒-๕. ทุติยาทิปาจีนนินนสุตตจตุกกะ ๖. ฉัฏฐปาจีนนินนสูตร ๗. ปฐมสมุททนินนสูตร ๘-๑๒. ทุติยาทิสมุททนินนสุตตปัญจกะอัปปมาทวรรคพึงให้พิสดาร๒- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร ๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชาสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๙๑-๑๐๒ (มัคคสังยุต) หน้า ๕๘-๖๑ ในเล่มนี้ @๒ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๓๙-๑๔๘ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๒-๗๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๙}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๑. คังคาเปยยาลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
พลกรณียวรรคพึงให้พิสดาร๑- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. ราคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร ๖. สูกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวาสูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตรเอสนาวรรคพึงให้พิสดาร๒- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ทุกขตาสูตร ๖. ขีลสูตร ๗. มลสูตร ๘. นีฆสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. ตัณหาสูตร ๑๑. ตสินาสูตร @เชิงอรรถ : @๑ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๔๙-๑๖๐ (มัคคสังยุต) หน้า ๗๘-๙๐ ในเล่มนี้ @๒ ดูข้อความพิสดารในข้อ ๑๖๑-๑๗๑ (มัคคสังยุต) หน้า ๙๑-๑๐๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๕๐}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร
๕. โอฆวรรค หมวดว่าด้วยโอฆะ ๑-๑๐. โอฆาทิสูตร ว่าด้วยโอฆะเป็นต้น [๙๖๗-๙๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ข้อความที่เหลือพึงให้พิสดารอย่างนี้ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)โอฆวรรคที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๕๑}
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๙. ฌานสังยุต]
๕. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตรฌานสังยุตที่ ๙ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๕๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๔๘-๔๕๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=298 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7558&Z=7589 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1300 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1300&items=5 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7467 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1300&items=5 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7467 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn53-036.html https://suttacentral.net/sn53.1-12/en/sujato https://suttacentral.net/sn53.13-22/en/sujato https://suttacentral.net/sn53.23-34/en/sujato https://suttacentral.net/sn53.35-44/en/sujato https://suttacentral.net/sn53.45-54/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]