บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ
๗. สัปปาณกวรรค ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี เรื่องเด็กชายอุบาลี๑- [๔๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีเด็กชายผู้เป็นเพื่อนกัน ๑๗ คน เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ทีนั้น มารดาบิดาของเด็กชาย อุบาลีได้ปรึกษากันดังนี้ว่า เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ ลำบากด้วยวิธีใดหนอ ลำดับนั้น มารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้ปรึกษากันอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะ อยู่สุขสบายและไม่ลำบาก แต่ก็วิตกไปว่า ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ นิ้วมือจะ ระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี จะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก และวิตกอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณก็จะแน่น หน้าอก ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน๒- ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับ ไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก แต่ก็วิตกอีกว่า ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชา เกี่ยวกับการเงิน นัยน์ตาของเขาจะปวด พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มี ลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลี ได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ลำบากเด็กชายอุบาลีออกบวช เด็กชายอุบาลีได้ยินคำสนทนาของมารดาบิดา ครั้นแล้วเด็กชายอุบาลีจึงได้ไป หาพวกเด็กๆ ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพวกเด็กๆ เหล่านั้นดังนี้ว่า เพื่อน ทั้งหลาย มาเถิด พวกเราจะไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร @เชิงอรรถ : @๑ วิ.ม. ๔/๙๙/๑๑๑-๑๑๓ @๒ เป็นวิชาการทำบัญชี แลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นเหรัญญิก (วิ.อ. ๒/๔๐๒/๔๑๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๒/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๓}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ
เด็กเหล่านั้นกล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย ถ้าเจ้าบวช พวกเราก็จะบวชเช่นกัน ครั้น แล้วเด็กๆ เหล่านั้นต่างคนต่างก็เข้าไปหามารดาบิดาของตน แล้วได้กล่าวขอ อนุญาตดังนี้ว่า พ่อแม่โปรดอนุญาตให้พวกลูกๆ ออกจากเรือนไปบวชเป็น อนาคาริกเถิด มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นอนุญาตด้วยคิดว่า เด็กพวกนี้ต่างพร้อมใจ มี ความปรารถนาสิ่งที่ดีงามทุกคน พวกเด็กเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย ขอ บรรพชา ภิกษุทั้งหลายให้เด็กพวกนั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว ครั้นเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ภิกษุใหม่เหล่านั้นลุกขึ้นร้องไห้ว่า ท่านทั้งหลาย โปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยว ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า เธอทั้งหลายรอให้สว่างเสียก่อน ถ้ามีข้าวต้ม พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีข้าวสวย พวกเธอจะได้ฉัน ถ้ามีของเคี้ยว พวกเธอก็จะได้เคี้ยว แต่ถ้าข้าวต้ม ข้าวสวย หรือของเคี้ยวไม่มี พวกเธอต้องเที่ยวบิณฑบาตมาฉัน ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังพากันร้องไห้ว่า ท่านทั้งหลายโปรดให้ข้าวต้ม โปรดให้ข้าวสวย โปรดให้ของเคี้ยวเถิด พากันถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง รดเสนาสนะ พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเด็ก ครั้นได้ทรงสดับแล้วจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เสียงเด็กร้องไห้เพราะ สาเหตุใดหรือ ทีนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุรู้อยู่ก็ยังอุปสมบทให้ บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๔}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท พระบัญญัติ
รู้อยู่ก็ยังอุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มี อายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่า ยินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอายุครบ ๒๐ ปี๑- จึงจะ อดทน อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่ เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต ได้ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๔๐๓] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ อุปสมบทให้บุคคลผู้มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี บุคคล นั้นไม่เป็นอันอุปสมบท และภิกษุเหล่านั้นควรถูกตำหนิ ภิกษุนั้นต้องอาบัติ ปาจิตตีย์นี้๒-เรื่องเด็กชายอุบาลี จบ @เชิงอรรถ : @๑ ที่ชื่อว่า อายุครบ ๒๐ ปี นั้นกำหนดนับเอาตั้งแต่วันที่ถือปฏิสนธิ จิตดวงแรกเกิดในครรภ์มารดา @(วิ.อ. ๒/๔๐๔/๔๑๕-๔๑๖) @๒ โส จ ปุคฺคโล อนุปสมฺปนฺโนติ ชานนฺเตนาปิ อชานนฺเตนาปิ อุปสมฺปาทิโต อนุปสมฺปนฺโนว. เต จ ภิกฺขู @คารยฺหาติ ฐเปตฺวา อุปชฺฌายํ อวเสสา คารยฺหา โหนฺติ, สพฺเพ ทุกฺกฏํ อาปชฺชติ. อิทํ ตสฺมึ ปาจิตฺติยนฺติ @โย ปน อุปชฺฌาโย หุตฺวา อุปสมฺปาเทติ, ตสฺมึเยว ปุคฺคเล อิทํ ปาจิตฺติยํ เวทิตพฺพํ @คำว่า บุคคลนั้นไม่เป็นอันอุปสมบท คือ ผู้ที่พระอุปัชฌาย์พร้อมการกสงฆ์ ซึ่งรู้อยู่ก็ดี ไม่รู้ก็ดี @อุปสมบทให้แล้ว ก็ไม่เป็นอันได้รับการอุปสมบทเลย คำว่า และภิกษุเหล่านั้นควรได้รับการตำหนิ คือ @ยกเว้นพระอุปัชฌาย์แล้ว ภิกษุที่เหลือสมควรถูกตำหนิ ทุกรูปต้องอาบัติทุกกฏ คำว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติ @ปาจิตตีย์นี้ คือ ภิกษุรูปที่เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทให้นั่นแหละต้องอาบัติปาจิตตีย์ (กงฺขา.อ. ๒๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๕}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์ [๔๐๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า รู้อยู่ ได้แก่ ภิกษุรู้เอง ผู้อื่นบอกให้ภิกษุนั้นรู้ หรือบุคคลผู้มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีนั้นบอก ที่ชื่อว่า มีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี คือ ผู้มีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี ภิกษุตั้งใจว่า จะอุปสมบทให้ แสวงหาคณะ อาจารย์ บาตร หรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย พระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ คณะ และอาจารย์ต้องอาบัติทุกกฏบทภาชนีย์ [๔๐๕] บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ภิกษุไม่แน่ใจ อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ บุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทให้ ไม่ต้องอาบัติ บุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ บุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุไม่แน่ใจ อุปสมบทให้ ต้องอาบัติทุกกฏ บุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี อุปสมบทให้ ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๖}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๗. สัปปาณกวรรค ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๐๖] ๑. ภิกษุสำคัญบุคคลอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี ว่าอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทให้ ๒. ภิกษุสำคัญบุคคลอายุครบ ๒๐ ปี ว่าอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทให้ ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุต้นบัญญัติอูนวีสติวัสสสิกขาบทที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๑๓-๕๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=101 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=12786&Z=12868 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=648 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=648&items=6 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9723 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=648&items=6 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9723 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc65/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc65/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]