บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๒. ภูตคามวรรค ๓. อุชฌาปนกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. ภูตคามวรรค ๓. อุชฌาปนกสิกขาบท ว่าด้วยการกล่าวให้เพ่งโทษ เรื่องพระทัพพมัลลบุตร [๑๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะ และแจกภัตตาหารสงฆ์ สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑- เป็นพระบวชใหม่ มีบุญน้อย เสนาสนะของสงฆ์ชั้นเลว ภัตตาหารก็ชั้นเลว ตกถึงท่านทั้งสอง ท่านเหล่านั้นจึงกล่าว ให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ๒- ท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า พระทัพพมัลลบุตรจัดแจง เสนาสนะด้วยความชอบพอกัน๓- และแจกภัตตาหารด้วยความชอบพอกัน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพระเมตติยะ และพระภุมมชกะจึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษท่านพระทัพพมัลลบุตรเล่า ครั้น ภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่อง นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอกล่าว @เชิงอรรถ : @๑ อยู่ในกลุ่มพระ ๖ รูป ซึ่งเรียกว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้แก่ (๑) พระปัณฑุกะ (๒) พระโลหิตกะ (๓) พระ @เมตติยะ (๔) พระภุมมชกะ (๕) พระอัสสชิ (๖) พระปุนัพพสุกะ (ม.ม.อ. ๑๗๕/๑๓๘) @๒ กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ คือกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายดูหมิ่นพระทัพพมัลลบุตร มองดูพระทัพพมัลลบุตร @อย่างดูหมิ่น หรือกล่าวให้คิดในทางไม่ดีในพระทัพพมัลลบุตร (วิ.อ. ๒/๑๐๓/๒๙๕) @๓ คือจัดเสนาสนะที่ประณีตเพื่อเพื่อนภิกษุที่คบหาสนิทสนมกับตน (วิ.อ. ๒/๑๐๓/๒๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๗}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๒. ภูตคามวรรค ๓. อุชฌาปนกสิกขาบท พระบัญญัติ
ให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษทัพพมัลลบุตร จริงหรือ พระเมตติยะและพระภุมมชกะ ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษทัพพมัลลบุตรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ [๑๐๔] สมัยนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายเชื่อฟัง พระบัญญัติว่า พระผู้มีพระภาคทรงห้ามการกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ จึงบ่นว่าท่านพระ ทัพพมัลลบุตรใกล้ๆ ภิกษุทั้งหลายว่า พระทัพพมัลลบุตรจัดแจงเสนาสนะด้วย ความชอบพอกัน และแจกภัตตาหารด้วยความชอบพอกัน บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพระ เมตติยะและพระภุมมชกะจึงบ่นว่าท่านพระทัพพมัลลบุตรเล่า ครั้นภิกษุเหล่านั้น ตำหนิพระเมตติยะและพระภุมมชกะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงบัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอบ่นว่าทัพพมัลลบุตร จริงหรือ ท่านทั้ง ๒ ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษ ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงบ่นว่าทัพพมัลลบุตรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๒. ภูตคามวรรค ๓. อุชฌาปนกสิกขาบท บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ [๑๐๕] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่าเรื่องพระทัพพมัลลบุตร จบ สิกขาบทวิภังค์ [๑๐๖] ที่ชื่อว่า กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ คือ ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ หรือบ่นว่าอุปสัมบันที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ต้องอาบัติปาจิตตีย์บทภาชนีย์ ติกปาจิตตีย์ กรรมที่ทำถูกต้อง๑- ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่า กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่ง โทษ เพราะบ่นว่า กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ เพราะบ่นว่าทุกกฏ ภิกษุกล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษหรือบ่นว่าอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ @เชิงอรรถ : @๑ กรรม คือการสมมติภิกษุให้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๑๐๖/๒๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๘๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๒. ภูตคามวรรค ๓. อุชฌาปนกสิกขาบท อนาปัตติวาร
ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอุปสัมบัน ที่สงฆ์ไม่ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจกภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจก ผลไม้ แจกของเคี้ยว หรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลาย เพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุต้องการจะทำให้เสียชื่อ ต้องการจะทำให้อัปยศ ต้องการจะทำอนุปสัมบัน ที่สงฆ์แต่งตั้งก็ตาม ไม่ได้แต่งตั้งก็ตาม ให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ แจก ภัตตาหาร แจกข้าวต้ม แจกผลไม้ แจกของเคี้ยวหรือแจกของเล็กน้อย ให้เก้อเขิน จึงกล่าวให้ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษหรือบ่นว่าอุปสัมบันหรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๗] ๑. ภิกษุผู้กล่าวให้ผู้อื่นเพ่งโทษ หรือบ่นว่าภิกษุผู้มักทำด้วยความชอบ ด้วยความชัง ด้วยความหลง ด้วยความกลัว ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติอุชฌาปนกสิกขาบทที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๙๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๘๗-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=49 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=8724&Z=8798 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=368 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=368&items=6 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6942 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=368&items=6 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6942 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc13/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]