ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๒. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยความปรารถนา
[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อ ปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระ โมคคัลลานะเถิด” สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ ภิกษุสาวกของเรา (๑) @เชิงอรรถ : @ อาบัติหนัก คือปาราชิก และสังฆาทิเสส อาบัติเบา คือถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ อาบัติชั่วหยาบ คือปาราชิกและสังฆาทิเสส อาบัติไม่ชั่วหยาบ คืออาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ @ อาบัติที่มีส่วนเหลือ หมายถึงอาบัติที่เป็นสเตกิจฉา (อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้) คือสังฆาทิเสส @ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ หมายถึงอเตกิจฉา (อาบัติที่เยียวยาไม่ได้หรือแก้ไขไม่ได้) คือปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

[๑๓๒] ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ ให้เราเป็นเช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด” เขมาและอุบลวรรณานี้ เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา (๒) [๑๓๓] อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ ให้เราเป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด” จิตตคหบดีและ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสกสาวก ของเรา (๓) [๑๓๔] อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด” ขุชชุตราและเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสิกา สาวิกาของเรา (๔) [๑๓๕] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน ๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๕) [๑๓๖] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส คนพาล ผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิต ผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ๒. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๖) [๑๓๗] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. มารดา ๒. บิดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. อายาจนวรรค

คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. มารดา ๒. บิดา บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๗) [๑๓๘] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่ ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ บุญเป็นอันมาก บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ ประสพบุญเป็นอันมาก (๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. ทานวรรค

[๑๓๙] ธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๒. ความไม่ถือมั่นอะไรๆ๑- ในโลก ธรรม ๒ ประการนี้แล (๙) [๑๔๐] ธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๐) [๑๔๑] ธรรม ๒ ประการนี้ ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การกำจัดความโกรธ ๒. การกำจัดอุปนาหะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๑)
อายาจนวรรคที่ ๒ จบ
๓. ทานวรรค
หมวดว่าด้วยทาน
[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ทาน ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อามิสทาน๒- (การให้สิ่งของ) ๒. ธัมมทาน๓- (การให้ธรรม) ทาน ๒ อย่างนี้แล บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธัมมทานเป็นเลิศ (๑) @เชิงอรรถ : @ ความไม่ถือมั่นอะไรๆ หมายถึงไม่ยึดถืออารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๓๙/๖๘) @ อามิสทาน หมายถึงการให้สิ่งของคือปัจจัย ๔ (จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช) @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔๒/๖๘) @ ธัมมทาน หมายถึงการแนะนำข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตธรรม(พระนิพพาน) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๔๒/๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๑๖-๑๒๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=40              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2295&Z=2375                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=375              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=375&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1474              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=375&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1474                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i375-e.php# https://suttacentral.net/an2.130-140/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :