บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๘. ราคเปยยาล ๑. สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ยิ่งราคะ [๒๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ (ความกำหนัด) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๘๙}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]
๘. ราคเปยยาล ๒. สัมมัปปธานสูตร
ธรรม ๔ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะสติปัฏฐานสูตรที่ ๑ จบ ๒. สัมมัปปธานสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมัปปธานเพื่อรู้ยิ่งราคะ [๒๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๔ ประการ๒- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๒. สร้างฉันทะ... เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. สร้างฉันทะ... เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะสัมมัปปธานสูตรที่ ๒ จบ @เชิงอรรถ : @๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๗-๑๙๘ @๒ ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๙๐}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]
๘. ราคเปยยาล ๔-๓๐. ปริญญาทิสูตร
๓. อิทธิปาทสูตร ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาทเพื่อรู้ยิ่งราคะ [๒๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการเพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๔ ประการ๑- อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด จากฉันทะและความเพียรสร้างสรรค์) ๒. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด จากวิริยะและความเพียรสร้างสรรค์) ๓. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่เกิด จากจิตตะและความเพียรสร้างสรรรค์) ๔. เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร (สมาธิที่ เกิดจากวิมังสาและความเพียรสร้างสรรค์) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งราคะอิทธิปาทสูตรที่ ๓ จบ ๔-๓๐. ปริญญาทิสูตร ว่าด้วยการเจริญธรรมเพื่อกำหนดรู้ราคะเป็นต้น [๒๗๗-๓๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการเพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นราคะ ... เพื่อละราคะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความคลายไปแห่งราคะ @เชิงอรรถ : @๑ ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๙๑}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]
๘. ราคเปยยาล ๓๑-๕๑๐. โทสอภิญญาทิสูตร
... เพื่อความดับไปแห่งราคะ ... เพื่อความสละราคะ ... เพื่อความสละคืนราคะ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อความสละคืนราคะ ฯลฯปริญญาทิสูตรที่ ๔-๓๐ จบ ๓๑-๕๑๐. โทสอภิญญาทิสูตร ว่าด้วยการเจริญธรรมเพื่อรู้ยิ่งโทสะเป็นต้น [๓๐๔-๗๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อรู้ยิ่งโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) ... เพื่อกำหนดรู้โทสะ ... เพื่อความสิ้นโทสะ ... เพื่อละโทสะ ... เพื่อความสิ้นไปแห่งโทสะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งโทสะ ... เพื่อความคลายไปแห่งโทสะ ... เพื่อความดับไปแห่งโทสะ ... เพื่อความสละโทสะ ... เพื่อความสละคืนโทสะ ... โมหะ (ความหลง) ... โกธะ (ความโกรธ) ... อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ... มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ... ปลาสะ (ความตีเสมอ) ... อิสสา (ความริษยา) ... มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ... มายา (มารยา) ... สาเถยยะ (ความ โอ้อวด) ... ถัมภะ (ความหัวดื้อ) ... สารัมภะ (ความแข่งดี) ... มานะ (ความถือตัว) ... อติมานะ (ความดูหมิ่น) ... มทะ (ความมัวเมา) ... ปมาทะ (ความประมาท) ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม ๔ ประการนี้เพื่อความสละคืนปมาทะโทสอภิญญาทิสูตร ๓๑-๕๑๐ จบ ราคเปยยาล จบ จตุกกนิบาต จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๙๒}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๘๙-๓๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=144 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6785&Z=11697 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=274 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=274&items=1 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=274&items=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i274-e.php# https://suttacentral.net/an4.274/en/sujato https://suttacentral.net/an4.274/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.275/en/sujato https://suttacentral.net/an4.275/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.276/en/sujato https://suttacentral.net/an4.276/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.277-303/en/sujato https://suttacentral.net/an4.277-303/en/bodhi https://suttacentral.net/an4.304-783/en/sujato https://suttacentral.net/an4.304-783/en/bodhi
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]