ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๕. ปฐมสมชีวีสูตร
ว่าด้วยผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน สูตรที่ ๑
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เภสกฬามฤคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคีระ๑- แคว้นภัคคะ ครั้นในเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนกุลปิตาคหบดี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ลำดับนั้น นกุลปิตาคหบดีและนกุลมาตาคหปตานี๒- พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ข้าพระองค์นำนกุลมาตาคหปตานีมา ข้าพระองค์ไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจนกุลมาตาคหปตานี ไหนเลยจะประพฤติ นอกใจด้วยกายเล่า พวกข้าพระองค์ปรารถนาที่จะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า” @เชิงอรรถ : @ หมายถึงชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะที่พระพุทธเจ้าจำพรรษาที่ ๘ @ หมายถึงพราหมณ์ผู้เคยเป็นบิดา เป็นลุง และเป็นอาของพระตถาคตอย่างละ ๕๐๐ ชาติ และพราหมณี @ผู้เคยเป็นมารดา เป็นป้า และเป็นน้าของตถาคตอย่างละ ๕๐๐ ชาติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๕-๕๖/๓๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. ปุญญาภิสันทวรรค ๖. ทุติยสมชีวีสูตร

แม้นกุลมาตาคหปตานีก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่นกุลปิตาคหบดีหนุ่มนำหม่อมฉันผู้ยังเป็นสาวมา หม่อมฉัน ไม่เคยคิดที่จะประพฤตินอกใจนกุลปิตาคหบดี ไหนเลยจะประพฤตินอกใจด้วยกาย เล่า พวกข้าพระองค์ปรารถนาที่จะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดีและคหปตานี ถ้าสามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย หวังจะพบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้ง ๒ ฝ่ายพึงมีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอ กัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นย่อมได้ พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้า” สามีและภรรยาทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ สำรวมระวัง ดำเนินชีวิตโดยธรรม เจรจาคำไพเราะอ่อนหวานต่อกัน มีความเจริญรุ่งเรือง มีความผาสุก มีความประพฤติเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย รักใคร่ ไม่คิดร้ายต่อกัน ทั้ง ๒ ฝ่าย ประพฤติธรรมในโลกนี้ มีศีลและวัตรเสมอกัน เสวยอารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมเพลิดเพลินบันเทิงใจในเทวโลก
ปฐมสมชีวีสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๙๓-๙๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=55              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1642&Z=1669                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=55              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=55&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8105              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=55&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8105                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i051-e.php#sutta5 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i051-e2.php#sutta5 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.055.than.html https://suttacentral.net/an4.55/en/sujato https://suttacentral.net/an4.55/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :