ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๔. ทุติยอัคคิสูตร

๔. ทุติยอัคคิสูตร
ว่าด้วยไฟ สูตรที่ ๒
[๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์ตระเตรียม มหายัญ โคผู้ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แพะ ๕๐๐ ตัวถูกนำ เข้าไปผูกไว้ที่หลักเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ แกะ ๕๐๐ ตัวถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ครั้งนั้นแล อุคคตสรีรพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกัน แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปัก หลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อุคคตสรีรพราหมณ์ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ท่าน พระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม้เราก็ได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก” พราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้อความทั้งหมดของท่านพระโคดมและ ของข้าพเจ้าย่อมสมกัน” เมื่ออุคคตสรีรพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับ อุคคตสรีรพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ ท่านไม่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๔. ทุติยอัคคิสูตร

‘ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ‘การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก’ แต่ควรถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้า ประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตักเตือน โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้าถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาล นานเถิด” ลำดับนั้น อุคคตสรีรพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าประสงค์จะก่อไฟ ประสงค์จะปักหลักบูชายัญ ขอท่าน พระโคดมโปรดตักเตือน โปรดพร่ำสอนข้าพเจ้าถึงข้อที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อ สุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตรา ๓ ชนิด ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นผล ศัสตรา ๓ ชนิด อะไรบ้าง คือ ๑. ศัสตราทางกาย ๒. ศัสตราทางวาจา ๓. ศัสตราทางใจ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า ‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่ การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแพะ เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’ เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศล คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางใจชนิดที่ ๑ นี้ ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๔. ทุติยอัคคิสูตร

การบูชายัญ ต้องฆ่าลูกโคตัวเมียเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแพะ เท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ต้องฆ่าแกะเท่านี้ตัวเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ’ เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับทำอกุศล คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางวาจาชนิดที่ ๒ นี้ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าโคผู้ ก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคผู้ก่อนเพื่อประโยชน์แก่การ บูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าลูกโคตัวเมียก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือ ฆ่าแพะก่อนเพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ ตนเองลงมือฆ่าแกะก่อนเพื่อประโยชน์แก่ การบูชายัญ เขาคิดว่า ‘จะทำบุญ’ แต่กลับทำสิ่งที่มิใช่บุญ คิดว่า ‘จะทำกุศล’ แต่กลับ ทำอกุศล คิดว่า ‘จะแสวงหาทางสุคติ’ แต่กลับแสวงหาทางทุคติ พราหมณ์ บุคคล เมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อศัสตราทางกายชนิดที่ ๓ นี้ ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล พราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟปักหลักบูชายัญ ก่อนที่จะบูชายัญ ย่อมเงื้อ ศัสตรา ๓ ชนิดนี้แล ที่เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล พราหมณ์ อัคคิ(ไฟ) ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ราคัคคิ (ไฟคือราคะ) ๒. โทสัคคิ (ไฟคือโทสะ) ๓. โมหัคคิ (ไฟคือโมหะ) เพราะเหตุไร ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ เพราะบุคคลผู้มีราคะ ถูกราคะครอบงำ มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น ราคัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๔. ทุติยอัคคิสูตร

เพราะเหตุไร โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ เพราะบุคคลผู้มีโทสะ ถูกโทสะครอบงำ มีจิตถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น โทสัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ เพราะเหตุไร โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ เพราะบุคคลผู้มีโมหะ ถูกโมหะครอบงำ มีจิตถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมประพฤติ ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น โมหัคคินี้ จึงเป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรละ ควรเว้น ไม่ควรเสพ พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้ เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ อัคคิ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อาหุเนยยัคคิ ๒. คหปตัคคิ ๓. ทักขิเณยยัคคิ อาหุเนยยัคคิ เป็นอย่างไร คือ บุตรในโลกนี้มีมารดาหรือบิดา นี้เรียกว่า อาหุเนยยัคคิ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุตรเกิดมาจากมารดาบิดานี้ ฉะนั้น อาหุเนยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ คหปตัคคิ เป็นอย่างไร คือ คหบดีในโลกนี้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้ หรือกรรมกร นี้เรียกว่า คหปตัคคิ ฉะนั้น คหปตัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหาร ให้เป็นสุขโดยชอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๕. มหายัญญวรรค ๔. ทุติยอัคคิสูตร

ทักขิเณยยัคคิ เป็นอย่างไร คือ สมณพราหมณ์ผู้เว้นขาดจากความมัวเมาและประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติ และโสรัจจะ ฝึกตนได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้สงบได้เป็นหนึ่ง ทำตนให้ดับเย็นได้เป็นหนึ่ง นี้เรียกว่า ทักขิเนยยัคคิ ฉะนั้น ทักขิเณยยัคคินี้ จึงเป็นผู้ที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ พราหมณ์ อัคคิ ๓ ประการนี้แล เป็นสิ่งที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วบริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ส่วนกัฏฐัคคินี้ ต้องจุดตามกาลอันควร ต้องคอยดูตามกาลอันควร ต้องคอย ดับตามกาลอันควร ต้องคอยเก็บตามกาลอันควร เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุคคตสรีรพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต ข้าพระองค์จะปล่อยโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อย ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยแพะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน จะปล่อยแกะ ๕๐๐ ตัว ให้ชีวิตพวกมัน พวกมันจะกินหญ้าสด ดื่มน้ำเย็นและรับลมเย็น”
ทุติยอัคคิสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๗๐-๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=980&Z=1066                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=44              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=44&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=4082              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=44&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=4082                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i041-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an7.47/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :