ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

๒. อนุสสติวรรค
หมวดว่าด้วยอนุสสติ
๑. ปฐมมหานามสูตร๑-
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑
[๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วย หวังว่า “พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป” เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน ลำดับนั้น พระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า ‘ได้ทราบว่า ภิกษุจำนวน มากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้ว ล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรม เป็นเครื่องอยู่ต่างๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหา ตถาคตแล้วตรัสถามว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็น เครื่องอยู่ต่างๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร” นี้เป็นการสมควรแก่พระ องค์ผู้เป็นกุลบุตร มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มี ศรัทธาไม่ประสบความสำเร็จ๒- ๑ ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้านไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลง ลืมสติไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้ง @เชิงอรรถ : @ ดู มหานามสูตรที่ ๑๐ (องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๑๐/๒๗๕) @ ไม่ประสบความสำเร็จ(อาราธกะ) หมายถึงไม่ให้ถึงพร้อม ไม่ให้บริบูรณ์ @(องฺ.เอกาทสก.อ. ๓/๑๑-๑๒/๓๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

มั่นไม่ประสบความสำเร็จ ๑ ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทราม ไม่ประสบความสำเร็จ ๑ มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ธรรม ๖ ประการนี้ คือ ๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า “แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคต ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ๑- ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม๒- ย่อม ได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจ มีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่ ๒. พระองค์พึงระลึกถึงธรรมว่า “พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัส ไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓- ควรเรียก @เชิงอรรถ : @ ความปลาบปลื้มอิงอรรถ(อตฺถเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอรรถกถา @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖) @ ความปลาบปลื้มอิงธรรม (ธมฺมเวท) ในที่นี้หมายถึงปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระบาลี @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๑๐/๙๖) @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา @ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

ให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน๑- อันวิญญูชน๒- พึงรู้เฉพาะตน” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิต ของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภธรรม ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็ อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อม ได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อ มีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้ รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็น ผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ใน หมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญธัมมา- นุสสติอยู่ ๓. พระองค์พึงระลึกถึงสงฆ์ว่า “พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำ อัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก” มหานามะ สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมปรารภพระสงฆ์ดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มี จิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความ ปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมี ปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้ รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า @เชิงอรรถ : @ ควรน้อมเข้ามาในตน หมายถึงควรน้อมเข้ามาสู่จิตของตน หรือควรน้อมเข้ามาเพื่อการปฏิบัติ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) @ วิญญูชน หมายถึงบัณฑิต (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาท อยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญ สังฆานุสสติอยู่ ๔. พระองค์พึงระลึกถึงศีลของพระองค์ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภศีลดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็ อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคต กล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มี พยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญสีลานุสสติอยู่ ๕. พระองค์พึงระลึกถึงจาคะของพระองค์ว่า “เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดี แล้วหนอ ที่เรามีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม๑- ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน อยู่ ครองเรือน” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิต ของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภจาคะดำเนินไปตรง ทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ย่อมได้ความ ปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ @เชิงอรรถ : @ มีฝ่ามือชุ่มอรรถกถาอธิบายว่า คนที่ไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก @อยู่นั่นเอง แต่คนที่มีศรัทธา แม้จะมีมือสกปรก ก็ชื่อว่ามีมือที่ได้ล้างสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๒/๑๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต ๒. อนุสสติวรรค ๑. ปฐมมหานามสูตร

ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อม สงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความ ไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยกระแสธรรม เจริญจาคานุสสติอยู่ ๖. พระองค์พึงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า “มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา ชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี เทวดา ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาชั้นพรหมกาย เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดใน เทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล เช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีศีลเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีสุตะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติ จากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดา เหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปเกิดในเทวโลกนั้น แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น” มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึง ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะ กลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภ เทวดาทั้งหลายดำเนินไปตรงทีเดียว มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนิน ไปตรงแล้ว ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ ย่อมได้ความปลาบปลื้ม อิงธรรม ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม เมื่อมีปราโมทย์ย่อม เกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอผู้มีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความ สงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มี พยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญเทวตานุสสติอยู่
ปฐมมหานามสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๔ หน้า : ๔๑๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๔ หน้าที่ ๔๑๐-๔๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=24&siri=207              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=7955&Z=8067                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=218              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=24&item=218&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8597              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=24&item=218&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8597                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i218-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an11/an11.012.than.html https://suttacentral.net/an11.11/en/sujato https://suttacentral.net/an11.11/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :