บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๕. จุนทสูตร
๕. จุนทสูตร๑- ว่าด้วยนายจุนทกัมมารบุตร๒- [๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นมัลละพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ ได้เสด็จไปถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร นายจุนทกัมมารบุตรได้ฟังว่า ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปใน แคว้นมัลละพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงเมืองปาวาแล้วประทับอยู่ ณ สวนอัมพวันของเรา นายจุนทกัมมารบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นายจุนท- กัมมารบุตรเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรผู้อัน พระผู้มีพระภาคตรัสชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้ อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์ด้วยพระอาการดุษณี ครั้งนั้น นายจุนทกัมมารบุตรทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกขึ้นจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วจากไป ครั้นคืนนั้น ผ่านไป นายจุนทกัมมารบุตรสั่งให้คนจัดของขบฉันอย่างประณีต และสูกรมัททวะ๓- @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๘๙-๑๙๗/๑๓๗-๑๔๗ @๒ บุตรของนายช่างทอง (ขุ.อุ.อ. ๗๔/๔๒๖) @๓ สูกรมัททวะ พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ดังนี้ คือ (๑) (สูกรมทฺทวนฺติ สูกรสฺส มุทุสินิทฺธํ ปวตฺตมํสํ) @หมายถึงเนื้อสุกรทั่วไปที่อ่อนนุ่ม (๒) (สูกเรหิ มทฺทิตวํสกฬีโร) หมายถึงหน่อไม้ชนิดหนึ่งที่สุกรแทะดุน @(๓) (สูกเรหิ มทฺทิตปฺปเทเส ชาตํ อหิฉตฺตกํ) หมายถึงเห็ดชนิดหนึ่งที่เกิดในถิ่นที่สุกรแทะดุน @(๔) (สูกรมทฺทวํ นาม เอกํ รสายตนํ) หมายถึงรสอาหารชนิดหนึ่งชื่อว่า สูกรมัททวะ (ขุ.อุ.อ. ๗๕/๔๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๕}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๕. จุนทสูตร
จำนวนเพียงพอไว้ในนิเวศน์ของตน แล้วส่งคนไปให้กราบทูลภัตตกาลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบน พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้รับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า จุนทะ ท่านจง ประเคนเราด้วยสูกรมัททวะที่เตรียมไว้ ประเคนภิกษุสงฆ์ด้วยของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียม ไว้เถิด นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ประเคนพระผู้มีพระภาค ด้วยสูกรมัททวะที่เตรียมไว้ ประเคนของขบฉันอย่างอื่นที่เตรียมไว้แด่ภิกษุสงฆ์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกนายจุนทกัมมารบุตรมาตรัสว่า จุนทะ ท่านจงฝังสูกรมัททวะที่เหลือในหลุม เรายังไม่เห็นใครในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะบริโภค สูกรมัททวะนั้นแล้วพึงถึงการย่อยไปด้วยดี ยกเว้นตถาคต นายจุนทกัมมารบุตร ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว นำสูกรมัททวะที่เหลือนั้นไปฝังไว้ในหลุมเสร็จแล้วเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้นายจุนทะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากพุทธอาสน์ เสด็จจากไป หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารของนายจุนทกัมมารบุตรเสร็จแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรง มีทุกขเวทนาเกิดจากโรคลงพระบังคนหนัก เป็นโลหิตจวนเจียนจะปรินิพพาน ได้ยินว่า ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติ- สัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนานั้นไว้มิได้ทรงพรั่นพรึง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า มาเถิด อานนท์ เราไปยังกรุงกุสินารากันเถิด ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัส พระผู้มีพระภาคทันที {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๖}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๕. จุนทสูตร
ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระผู้มีพระภาคผู้ทรงมีพระปรีชา เสวยพระกระยาหารของนายจุนทะกัมมารบุตรแล้ว ทรงพระประชวรหนักจวนเจียนจะปรินิพพาน เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยสูกรมัททวะแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนัก ตรัสว่า เราจะไปยังกรุงกุสินารารับสั่งขอน้ำดื่ม ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแวะลงข้างทาง เสด็จเข้าไปยังควงไม้ต้นหนึ่งแล้ว รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า อานนท์ เธอจงปูสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เรา เราเหน็ดเหนื่อย จะนั่ง ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงปูสังฆาฏิ ๔ ชั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้นแล้วตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ ว่า อานนท์ เธอจงนำน้ำดื่มมาเพื่อเรา เรากระหายจะดื่มน้ำ เมื่อพระผู้มีพระภาครับสั่งอย่างนี้ ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มผ่านไปเมื่อ สักครู่นี้เอง น้ำนั้นถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำ กุกุฏานี้อยู่ไม่ไกล มีน้ำใส รสจืด เย็นฉ่ำ สะอาด มีท่าขึ้นลงสะดวก น่ารื่นรมย์ พระผู้มีพระภาคจักทรงดื่ม และทรงสนานพระวรกายให้ชุ่มชื่นได้ ณ แม่น้ำนั้น แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า อานนท์ เธอจง นำน้ำดื่มมาเพื่อเรา เรากระหายจะดื่มน้ำ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มผ่านไปเมื่อสักครู่นี้เอง น้ำนั้นถูกล้อเกวียนย่ำ จนขุ่นเป็นตมไหลไป ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำกุกุฏานี้อยู่ไม่ไกล มีน้ำใส รสจืด เย็นฉ่ำ สะอาด มีท่าขึ้นลง สะดวก น่ารื่นรมย์ พระผู้มีพระภาคจักทรงดื่ม และทรงสนานพระวรกายให้ชุ่มชื่นได้ ณ แม่น้ำนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๕. จุนทสูตร
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า อานนท์ เธอจง นำน้ำดื่มมาเพื่อเรา เรากระหายจะดื่มน้ำ ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว ถือบาตรเดินไปที่แม่น้ำนั้น ครั้งนั้น แม่น้ำซึ่งถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไปอยู่นั้น เมื่อท่านพระ อานนท์เดินเข้าไปถึง ก็พลันใสสะอาด ไม่ขุ่น ไหลไปตามปกติ ลำดับนั้น ท่านพระ อานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมี ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง แม่น้ำนี้มีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไป เมื่อเราเดินมาถึงก็พลันใส สะอาด ไม่ขุ่น ไหลไป ท่านพระอานนท์จึงใช้บาตรตักน้ำ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากจริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม่น้ำนี้มีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนย่ำจนขุ่นเป็นตมไหลไป เมื่อข้าพระองค์เดินเข้าไปถึง ก็พลันใสสะอาด ไม่ขุ่นไหลไป ขอพระผู้มีพระภาค ทรงดื่มน้ำเถิด ขอพระสุคตทรงดื่มน้ำเถิด พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงดื่มน้ำแล้วเสด็จไปที่แม่น้ำกุกุฏา พร้อมกับ สงฆ์หมู่ใหญ่ พอเสด็จถึงก็เสด็จลงแม่น้ำนั้น ทรงสรงและทรงดื่มแล้วเสด็จขึ้น เสด็จ กลับไปยังสวนอัมพวันแล้วรับสั่งเรียกท่านพระจุนทกะมาตรัสว่า จุนทกะ เธอจงปู ผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เรา เราเหน็ดเหนื่อย จะนอน ท่านพระจุนทกะทูลรับสนอง พระดำรัสแล้วปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสำเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมีสติสัมปชัญญะ บริบูรณ์ ทรงกำหนดพระทัยว่าจะเสด็จลุกขึ้น ส่วนท่านพระจุนทกะก็นั่งเฝ้าอยู่เบื้อง พระพักตร์ของพระองค์ ในที่นั้นเอง ภายหลัง พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รจนาคาถาสรุปดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าผู้ตถาคตศาสดา หาผู้เปรียบมิได้ในโลกนี้ ทรงมีพระวรกายเหน็ดเหนื่อยมาก เสด็จถึงแม่น้ำกุกุฏาซึ่งมีน้ำใส รสจืด สะอาด เสด็จลงไปสู่แม่น้ำนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๕. จุนทสูตร
พระศาสดาผู้อันชาวโลกทั้งหมดบูชา เสด็จอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงสรงและทรงดื่มน้ำแล้วเสด็จขึ้นจากแม่น้ำ พระผู้มีพระภาคบรมศาสดา ผู้ทรงแสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรงประกาศเผยแผ่ธรรมวินัยไว้ในพุทธศาสนานี้ เสด็จเข้าไปยังสวนอัมพวันแล้ว รับสั่งเรียกพระจุนทกะมาตรัสว่า เธอจงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นให้เป็นที่นอนแก่เรา ท่านพระจุนทกะนั้น อันพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงฝึกฝนอบรมพระองค์แล้วตรัสเตือน จึงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทันที พระบรมศาสดาทรงมีพระวรกายเหน็ดเหนื่อย ทรงบรรทมแล้ว ฝ่ายพระจุนทกะก็นั่งเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์ในที่นั้นบิณฑบาตทาน ๒ คราว มีผลเสมอกัน ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า อานนท์ หากจะมีใครมากล่าวให้นายจุนทกัมมารบุตรเดือดร้อนใจว่า ท่านจุนทะ การที่พระ ตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไม่ใช่ ลาภของท่าน ท่านได้ชั่วแล้ว อานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนใจของนายจุนท- กัมมารบุตรอย่างนี้ว่า ท่านจุนทะ การที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้าย แล้วเสด็จ ดับขันธปรินิพพาน เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ท่านจุนทะ ความข้อนี้ อาตมภาพ ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า บิณฑบาต ๒ คราว มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น อย่างมาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๒๙}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๘. ปาฏลิคามิยวรรค]
๕. จุนทสูตร
บิณฑบาต ๒ คราว อะไรบ้าง คือ ๑. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอดเยี่ยม ๒. บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ บิณฑบาต ๒ คราวนี้ มีผลเสมอกัน มีวิบากเสมอกัน มีผลมากกว่าและมี อานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่นอย่างมาก นายจุนทกัมมารบุตรได้สั่งสมกุศลกรรมที่เป็นเหตุให้มีอายุยืน มีผิวพรรณ ผ่องใส มีความสุข เกิดในสวรรค์ เจริญด้วยลาภยศ เป็นใหญ่ยิ่งแล้ว อานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนใจของนายจุนทกัมมารบุตรอย่างนี้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่าพุทธอุทาน ผู้ให้ทาน ย่อมเพิ่มพูนบุญ ผู้สำรวม (ในศีล) ย่อมไม่ก่อเวร ส่วนผู้ฉลาด ย่อมละบาปได้ เพราะสิ้นราคะ โทสะ และโมหะ ผู้นั้นจึงชื่อว่าปรินิพพานแล้วจุนทสูตรที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๓๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๓๒๕-๓๓๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=110 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=4034&Z=4144 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=162 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=162&items=7 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=26&A=9541 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=162&items=7 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=26&A=9541 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/ud/ud.8.05.than.html https://suttacentral.net/ud8.5/en/anandajoti https://suttacentral.net/ud8.5/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]