ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค ๑๐. ทุติยราคสูตร

๑๐. ทุติยราคสูตร
ว่าด้วยการละราคะ สูตรที่ ๒
[๖๙] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ยังละราคะ โทสะ โมหะไม่ได้ บุคคลนี้เราเรียกว่า ยังข้ามทะเล๑- ที่มีคลื่น มีระลอก๒- มีน้ำวน๓- มีสัตว์ร้าย๔- มี ผีเสื้อน้ำไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ละราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า ข้ามทะเลที่มีคลื่น มีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ ได้แล้ว ข้ามไปถึงฝั่งเป็นผู้ลอยบาปอยู่บนบก๕-” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ซึ่งมีทั้งคลื่น สัตว์ร้าย (และ)ผีเสื้อน้ำ ที่น่ากลัว ข้ามได้ยาก @เชิงอรรถ : @ ทะเล หมายถึงสังสารวัฏ หรืออายตนะ ๖ (ขุ.อิติ.อ. ๖๙/๒๔๗) @ ระลอก หมายถึงความโกรธ และความคับแค้นใจ (ขุ.อิติ.อ. ๖๙/๒๔๗) @ น้ำวน หมายถึงกามคุณ ๕ (ขุ.อิติ.อ. ๖๙/๒๔๗) @ สัตว์ร้าย ผีเสื้อน้ำ หมายถึงมาตุคาม (ขุ.อิติ.อ. ๖๙/๒๔๗) @ หมายถึงข้ามโอฆะใหญ่คือสังสารวัฏและกามทั้งหลายเป็นต้น แล้วดำรงอยู่บนบกคือนิพพาน @(ขุ.อิติ.อ. ๖๙/๒๔๗) และดู องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๕/๒๔ ประกอบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เรากล่าวว่า ‘บุคคลนั้นล่วงพ้นกิเลสเครื่องข้อง ละมัจจุได้ ไม่มีอุปธิ ละทุกข์เพื่อไม่เกิดอีกต่อไป ถึงความดับ ไม่ถึงการนับ ลวงมัจจุราชให้หลงได้๑-’ แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ทุติยราคสูตรที่ ๑๐ จบ
ทุติยวรรค จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ๒. จักขุสูตร ๓. อินทริยสูตร ๔. อัทธาสูตร ๕. ทุจจริตสูตร ๖. สุจริตสูตร ๗. โสเจยยสูตร ๘. โมเนยยสูตร ๙. ปฐมราคสูตร ๑๐. ทุติยราคสูตร @เชิงอรรถ : @ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๒๙/๒๑๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๒๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๒๕-๔๒๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=184              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5721&Z=5747                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=247              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=247&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=5442              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=247&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=5442                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-069 https://suttacentral.net/iti69/en/ireland https://suttacentral.net/iti69/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :