ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. กัลยาณสีลสูตร
ว่าด้วยผู้มีศีลงาม ธรรมงาม และปัญญางาม
[๙๗] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์ กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม และมีปัญญางาม เราจึงเรียกว่า ‘เป็นพระอรหันต์แท้จริง อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุด’ ในธรรมวินัยนี้ ผู้มีศีลงาม เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อม ด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล เป็นผู้มีศีลงาม ด้วยอาการดังกล่าวนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๗๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๓. ติกนิบาต]

๕. ปัญจมวรรค ๘. กัลยาณสีลสูตร

ผู้มีธรรมงาม เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้หมั่นประกอบความเพียรติดต่อกันด้วยการเจริญโพธิ- ปักขิยธรรม ๓๗ ประการอยู่เสมอ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล เป็นผู้ มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยอาการดังกล่าวนี้ ผู้มีปัญญางาม เป็นอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญางาม อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม และมีปัญญางาม ด้วยอาการดังกล่าวนี้ เราจึง เรียกว่า ‘เป็นพระอรหันต์แท้จริง อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้สูงสุด’ ในธรรมวินัยนี้” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ตรัสเรียกภิกษุผู้ไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ มีหิริครองใจนั้นว่า เป็นผู้มีศีลงาม ตรัสเรียกภิกษุผู้บำเพ็ญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มาแล้วเป็นอย่างดี ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องฟูใจนั้นว่า เป็นผู้มีธรรมงาม ตรัสเรียกภิกษุผู้รู้แจ้งความสิ้นทุกข์ของตนในอัตภาพนี้เท่านั้น ผู้หาอาสวะมิได้นั้นว่า เป็นผู้มีปัญญางาม ตรัสเรียกภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น ผู้ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ไม่อาศัยโลกทั้งปวง ละกิเลสทุกอย่างในโลกได้หมดสิ้น (ว่าเป็นผู้มีปัญญางาม) แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
กัลยาณสีลสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๔๗๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๔๗๑-๔๗๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=212              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6423&Z=6452                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=277              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=277&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=27&A=7620              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=277&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=27&A=7620                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/iti/iti.3.050-099.than.html#iti-097 https://suttacentral.net/iti97/en/ireland https://suttacentral.net/iti97/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :